ISSN: 1906-117X

วารสาร

แผนกิจกรรมการสอนตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Development of Teaching Activities Based on Intelligence Theory to Promote the Ability to Identify Key Information for Fifth Grade Students
ขอบเขต: หลักสูตรการสอน

ณัฐธิดา นรสาร

มหาวิทยาลัยพะเยา

ลำไย สีหามาตย์

มหาวิทยาลัยพะเยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนกิจกรรมการสอนตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลัง การใช้แผนกิจกรรมการสอนตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังจากการใช้แผนกิจกรรมการสอนตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสวนหลวง (สวนหลวงวิทยายน) จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนกิจกรรมการสอนตามแนวคิดพหุปัญญา แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และประเภทนันพาราเมตริก Wilcoxon Signed Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการหาประสิทธิภาพของแผนกิจกรรมการสอนตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.67–1.00 2. ผลคะแนนความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3. ผลหลังจากจัดกิจกรรมการสอนด้วยแผนกิจกรรมการสอนตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ("x" ̅=3.54, S.D.=0.56)

Abstract

The purpose of this study is 1) To find of efficiency teaching activities based on the Intelligence Theory of 5th grade students 2) To compare the ability of 5th grade students to identify key information before and after the use of teaching activities based on Intelligence Theory 3) To study the satisfaction of 5th grade students after using teaching activities based on Intelligence Theory. The target group in this study is 5th grade students of Baan Suan Luang School (Suan Luang Wittayayon), totaling 5 people.The tools used in the study are Teaching activities learning according to the concept of intelligence, Ability test to read key information and Satisfaction questionnaire The statistics used in data recording are percentage, mean, standard deviation, and nonparametric type Wilcoxon Signed Ranks The research found that 1. The result find of efficiency teaching activities based on the Intelligence Theory were with the Index of Item-Objective Congruence (IOC) of 0.67-1.00 2. The significant score for reading comprehension ability Students' scores after learning were higher than before learning Statistically significant at the .05 level. 3. The After organizing teaching activities from teaching activities based on Intelligence Theory to promote the ability to identify key information students were highly satisfied ("x" ̅=3.54, S.D.=0.56).

คำสำคัญ

แผนกิจกรรมการสอน, ทฤษฎีพหุปัญญา, การอ่านจับใจความสำคัญ

Keywords

Intelligence Theory, Key information reading, Teaching activities

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
กาญจนา ไชยเสนา (2556). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์วิชาภาษาไทยชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีพหุปัญญา. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม). สืบค้นจาก https://tdc.thailis. or.th/tdc
ชลิดา ฟักหว่าง. (2558). การจัดการเรียนรู้แบบพหุปัญญาที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย. การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ, 2553(3), 724-729.
ปิลันธร ชินกร. (2558). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์แนวคิดทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านจับใจความและการเขียนสื่อความวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc
มยุรีย์ แพงชัย. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนตามทฤษฎีพหุปัญญา เรื่อง ภูมิใจภาษาไทยของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 8(21), 55-64.
วรรณี โสมประยูร. (2553). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2564). พหุปัญญาในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สถาพร แก้วภูมิแห่. (2555). ผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีพหุปัญญา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564, 5 พฤษภาคม). รายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563. สืบค้นจาก http://180.180.244.43 /NT/ExamWeb/FrLogin.aspx?ReturnUrl=%2fNT%2fExamWeb%2f
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). คู่มือการคัดกรองและพัฒนาพหุปัญญา. สมุทรปราการ: บริษัท เอส.บี.เค.การพิมพ์ จำกัด.
สำลี รักสุทธี. (2553). สอนเด็กอย่างไรให้เด็กอ่านนออก อ่านได้ อ่านคล่อง อ่านเป็น เขียนได้ เขียนคล่อง และเขียนเป็น. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
สิปปกร บุนนาค. (2564). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาร่วมกับผังกราฟิก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร). สืบค้นจาก http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace /bitstream/123456789/3858/1/61255409.pdf
อรพินทร์ ชูชม. (2552). การวิจัยกึ่งทดลอง. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 15(1), 1-15.