ISSN: 1906-117X

วารสาร

การใช้แนวคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบกว้างเพื่อเพิ่มพูนความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

Use of Constructivism Approach and Extensive Reading enhance English Reading Abilities of Fourth Year Student, Lampang Rajabhat University, Muang District, Lampang Province
ขอบเขต: ภาษาและการสื่อสารเพื่อการศึกษา

สมบัติ คำมูลแก้ว

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบและศึกษาผลของความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียน ก่อนและหลังการเรียนโดยใช้การใช้แนวคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบกว้าง กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา การแปลเบื้องต้น (1553201) ภาคเรียนที่ 1/2562 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการสอนอ่านภาษาอังกฤษ จำนวน 8 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียนหลังการเรียนโดยใช้แนวคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบกว้างเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลางเป็นระดับดีมาก 2) ผลการศึกษาการใช้แนวคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบกว้าง ผู้เรียนเกิดทักษะในการเรียนรู้ พัฒนาตนเอง สามารถนำทักษะที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้และดำรงชีพได้

Abstract

The purposes of this research were to compare and investigate the English reading ability of fourth-year students before and after learning through the Constructivism Approach and Extensive Reading. The study was conducted with a group of 28 fourth-year students who were enrolled in Introduction to Translation (1553201) at Lampang Rajabhat University, Maung District, Lampang Province, during the second semester of the academic year 2019. The experimental instruments encompassed eight lesson plans incorporating the Constructivism Approach and Extensive Reading. The data gathering instrument consisted of a reading ability test, with the collected data being analyzed for their mean, percentage, and standard deviation. The study's findings were as follows: 1) The English reading ability of the students significantly improved from a good level to an excellent level after learning through the Constructivism Approach and Extensive Reading. 2) The students were found to have acquired learning skills through the Constructivism Approach and Extensive Reading that could be applied in various real-life situations, promoting lifelong learning.

คำสำคัญ

แนวคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง, เทคนิคการอ่านแบบกว้าง, ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ

Keywords

constructivism approach, extensive reading, English reading ability

เอกสารอ้างอิง

ฉัตรปวีณ อำภา (2555). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนอ่านภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ดรุณนภา นาชัยฤทธิ์. (2550). ผลการเรียนจากบทเรียนมัลติมีเดียบนระบบเครือข่ายที่พัฒนาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์เรื่องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการศึกษาในห้องเรียนของนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิฏิ์ภัทรา สุดแก้ว. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ตาทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ผ่านเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (เทคโนโลยีทางการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด, 2548.
ฝนทิพย์ นัดทะยาย และฉลอง พันธ์จันทร. (2558). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ประกอบการใช้สถานการณ์จำลองเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีปีที่ 15 ฉบับที่ พิเศษตุลาคม – ธันวาคม2558 หน้า 117-128.
พรพิมล ประสงค์พร. (2557). การเสริมสร้างสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา (CLIL). มหาวิทยาลัยศรีนครินนทรวิโรฒ.
สุมาลี ชัยเจริญ. (2551). เทคโนโลยีการศึกษาและการพัฒนาระบบการสอน. ขอนแก่น: ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Brooks, M., and Grennan Brooks, J. (1999). The Constructivist Classroom: The Courage Constructivist Classroom: An Ethnographic Description. Dissertation
Jonassen, D. H. (1999). Designing constructivist learning environments. In C. M. Lawrence Erlbaum Associates.
Light, R., & Willian, N. (2008). A constructivist-informed approach to teaching swimming. Quest, 60, 387-404. paradigm of instructional theory (Vol. II, pp. 215-39). Mahwah, NJ:
Martin, Ralph E. (1994). Teaching Scheme for all Children. Boston: A division of Simon & Schuster Inc, 1994.
Piaget, J. (1972). The Principles of Genetic Epistemology. New York: Basic, 1972
Syrja, R. C. (2011). How to Reach and Teach English Language Learners: Practical Strategies to Ensure Success. Jossey-Bass Teacher: USA.