ISSN: 1906-117X

วารสาร

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือ CODING สำหรับครูปฐมวัย ในจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดยโสธร

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือ CODING สำหรับครูปฐมวัย ในจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดยโสธร THE ORGANIZING LEARNING ACTIVITIES USING THE CODING TOOL FOR EARLY CHILDHOOD TEACHERS IN ROI ET PROVICE AND YASOTHON PROVICE
ขอบเขต: วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา

ศักดิ์ศรี สืบสิงห์

มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประสิทธิภาพและดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือ CODING ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือ CODING และ 3) เพื่อเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือ CODING สำหรับครูปฐมวัยในจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดยโสธร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูระดับปฐมวัยในจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดยโสธร ซึ่งได้มาจากวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) จำนวน 200 คน เครื่องมือ ได้แก่ คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และแบบทดสอบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และ t – test ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือ CODING ของครูปฐมวัย มีประสิทธิภาพ 93.40/92.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 2) ดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือ CODING ของ ครูปฐมวัย มีค่าเท่ากับ 0.8607 หมายความว่า ครูปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 86.07 3) ทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือ CODING ของครูปฐมวัย มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยภายหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

Abstract

The objectives of this research were 1) to use the 80/80 standard to rank the efficiency and effectiveness of learning activities including coding 2) to index the effectiveness of learning activities using coding tools, and 3) to compare learning activities using coding tools for early childhood teachers in Roi Et and Yasothon provinces. The sample group consisted of early childhood teachers in Roi Et and Yasothon provinces. Which was obtained from the method of selecting a simple random sample of 200 people. Tools include learning activity manuals and quizzes. Percentage and t – test the results showed that 1) Early childhood instructors' use of the CODING tool to facilitate learning has an efficiency of 93.40/92.35, exceeding the predetermined threshold of 80/80. 2) Effectiveness Index (E.I.) of the Manual of Learning Activities using the CODING tool of early childhood teachers. It has a value of 0.8607. Early childhood education increased by 86.07 percent. 3) The skills of organizing learning activities using the CODING tool of early childhood teachers were statistically significantly different at 0.05, with a higher post-learning average score than before the learning activity.

คำสำคัญ

การจัดการเรียนรู้, เครื่องมือ CODING, การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือ CODING

Keywords

Learning management, CODING tools, LEARNING activities using CODING tools

เอกสารอ้างอิง

กรวิชญ์ โสภา. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติ
คอมพิวเตอร์กราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยี
การศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กัลยา โสภณพนิช. (2562). Coding For All โค้ดดิงสำหรับทุกคน. นิตยสาร สสวท สถาบันส่งเสริมการสอน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 47(219): กรกฎาคม - สิงหาคม 2562.
ขวัญชัย ขัวนา ธารทิพย์ ขัวนา และเลเกีย เขียวดี. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะ
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 37(2):
มีนาคม - เมษายน 2561.
จงรัก จันทร์ขาว และศิลป์ชัย สุวรรณมณี. (2561). การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษาตาม
ความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2. ใน การประชุม
หาดใหญ่ วิชาการระดับชาติและนานาชาติ. 9. วันที่ 20 กรกฎาคม 2560 ณ ห้องประชุม Blue Ocean
Hall อาคารคณะบริหารธุรกิจ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ธิติวัฒน์ ทองคำ. (2563). การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณแบบผสมผสานร่วมกับวิชา
โปรแกรมมิ่ง เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 1. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
เทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น
ประภัสสร สำลี และกิตติพงษ์ พุ่มพวง. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged Coding เพื่อ
เสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3. วารสารวิจัยและ
นวัตกรรม. 4(2): กรกฎาคม - ธันวาคม 2564.

ปิยธิดา ณ อุบล. (2565). การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged Coding ที่มีต่อการคิด
เชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและ
การสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ภาสกร รองเรือง. (2563). แนวคิดเชิงคำนวณร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้ Coding เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา
แบบร่วมมือ. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 11(1), 1–16.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วรพล วิแหลม. (2564). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการโค้ชและการดูแลให้คำปรึกษา
สำหรับบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารธรรมศาสตร์. 40(2):
2564 (98-115).
ศรายุทธ ดวงจันทร์. (2561). ผลการใช้แนวสะเต็มศึกษาในวิชาฟิสิกส์ที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงคำนวณของ
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2563). กรอบการเรียนรู้และแนวทางการจัด
ประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ตาม
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท โกโกพริ้นท์ (ไทยแลนด์) จำกัด.
Lee J, and Junoh J. (2019). Implementing Unplugged Coding Activities in Early Childhood
Classrooms. Early Childhood Education Journal. 47:709–716.
Saxena A, Lo C, Hew K, and Wong G. (2019). Designing Unplugged and Plugged Activities to
Cultivate Computational Thinking: An Exploratory Study in Early Childhood Education.
Asia-Pacific Edu Res. 29(1): 55–66.