ISSN: 1906-117X

วารสาร

การพัฒนาแอปลิเคชันพอดคาสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

THE DEVELOPMENT OF PODCAST APPLICATION INTERGRATED WITH BLENDED LEARNING TO ENHANCE ENGLISH LISTENING COMPREHENSION SKILL FOR MATTHAYOMSUKSA 6 SUTDENTS
ขอบเขต: เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

รื่นฤดี อุ่นพิกุล

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วาปี คงอินทร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันพอดคาสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ กำหนด (E1 / E2 = 80/ 80) 2) เปรียบเทียบความสามารถทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนและหลังเรียนโดยใช้สื่อการสอนโดยแอปพลิเคชันพอดคาสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน และ 3) ศึกษาพัฒนาการสัมพัทธ์ความสามารถทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แอปพลิเคชันพอดคาสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียน อัสสัมชัญคอนแวนต์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกันและวิเคราะห์คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพแอปพลิเคชันพอดคาสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ มีประสิทธิภาพ 81.95/83.62 ตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด 2) ความสามารถการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โดยใช้แอปพลิเคชันพอดคาสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 หลังเรียนมีค่าเท่ากับ 64.21 อยู่ในระดับพัฒนาการระดับสูง

Abstract

Abstract The purposes of this quasi-experimental research were 1) to examine the effectiveness of podcast application integrated with blended learning to enhance English listening comprehension for Mattayomsuksa 6 students 2) to compare English listening comprehension ability between before and after learning through podcast application integrated with blended learning 3) to study relative development score of English listening comprehension ability after learning using podcast integrated with blended learning.The samples included 40 in Matthayom 6/2 at Assumption Convent School obtained by classroom unit–based simple random sampling. Data were collected using lesson plans based on podcast integrated with blended learning and pretest and posttest, and were statistically analyzed by percentage, MEAN, standard deviation, paired t-test for dependent samples, and relative development scores. The findings revealed the following. 1) The effectiveness of podcast application integrated with blended learning to enhance English listening comprehension for Mattayomsuksa 6 students measured 81.95/83.62, with was consistent with the criteria 80/80 2) English listening comprehension ability after using podcast application integrated with blended learning was higher than before learning statistically at the .05 level of significance. 3) The samples’ relative development scores after learning the podcast integrated with blended learning measured averagely 64.21% which was at high level.

คำสำคัญ

การเรียนรู้แบบผสมผสาน, การฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ, แอปพลิเคชันพอดคาสต์

Keywords

blended learning, listening comprehension, podcast

เอกสารอ้างอิง

เคน มหาชนะวงศ์.,นิธิดา อดิภัทรนันท์. (2562). การใช้แอปพลิเคชันบนแท็บเล็ต เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการฟัง พูดภาษาอังกฤษและความรู้คำศัพท์ ของนักเรียนชาติพันธุ์ชั้นประถมศึกษาปีที่2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(1), 205 -210.
จิรารัตน์ ประยูรวงษ์ (2019). การเรียนรู้ภาษาอังกฤษบนโลกดิจิทัลในศตวรรษที่ 21
Journal of Graduate Studies Valaya Alongkron Rajabhat University,13(1), 210-223.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากร
ศึกษาศาสตร์. 5,3: 7 – 20
ปวีณนุช พุ่มจิต และ อังค์วรา เหลืองนภา (2562, 19 มกราคม). การใช้แอปพลิเคชันในการพัฒนาทักษะ
ภาษาอังกฤษด้านการฟัง [เอกสารนำเสนอ]การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, กรุงเทพฯ,ประเทศไทย
มณีรัตน์ กรรณิกา.(2561).การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้รายการโทรทัศน์ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.[วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม] ฐานข้อมูลงานวิจัย (Thailis)
ฤทัยรัตน์ ศรีพวงมาลัย.(2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
โดยการจัดการเรียนรู้ผ่านพอดคาสต์ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยศิลปากร]
วชิรญาณ์ บังคะดารา.(2562). ผลของการใช้พอดคาสท์แบบเคลื่อนที่ที่มีผลต่อการฟังเพื่อ
ความเข้าใจของนักศึกษาไทยในระดับมหาวิทยาลัยที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ[วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี]
วันเฉลิม ณ น่าน . (2563) VPL-PA Model หรือรูปแบบการเรียนการสอนฟังภาษาอังกฤษ 5
ขั้นตอน สืบค้นจาก:https://www.kruwandee.com/forum/10.html?wbid=70373

ศิตา เยี่ยมขันติถาวร และจรีลักษณ์ รัตนาพันธ์. (2021). การศึกษาผลการใช้บทเรียน
ภาษาอังกฤษผ่านพอดคาสต์เพื่อพัฒนาความรู้พื้นฐานภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน. สืบค้นจากhttps://jrtl.rsu.ac.th/volume/15/number/2/article/297
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ:
สํานักพิมพ แหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
อรรถพล แสนโคตร (2564) การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษในบริบทการเรียน
ภาษาอังกฤษในฐานะเป็นภาษาต่างประเทศ โดยใช้พอดคาสท์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนวัดนวลนรดิศ สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2565. เข้าถึงได้จากhttps://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id
อรรชนิดา หวานคง.(2559). การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21. Journal
of Yanasangvorn Research Institute, 7(2), 303-314.
Ahmadi, S. M. (2016). The Importance of Listening Comprehension in
Language Learning. International Journal of Research in English Education, 1(1), 123-133.
Arikunto, S. (1986). Dasar-Dasar Evaluasi Pendidikan. Jakarta: Bumi Aksara.
Best, J. W. (1997). Research in Education (3rd ed.). Englewood Cliffs N.J.: Prentice-Hall.
Hartati, N., & Yogi, H. P. S. (2019). Item Analysis for a Better Quality Test. English
Language in Focus (ELIF), 2(1), 59–70.
Kline, R. B. (2005). Principles and practice of structural equation modeling (2nd
ed.). New York, NY: Guilford Press.
Khairiah Syahabuddin.(2021). Teaching Listening Using Duolingo
Application. Project Professional of English Education, 1(4),460-465.
Likert, R. (1967). "The Method of Constructing and Attitude Scale." Reading in
Attitude Theory and Measurement, 90-95.
Muhammad Rizky Widodo 2018). Teaching Listening Using Duolingo Application. Project
Professional of English Education, 1(4),460-465.
Nachmais, C. F. & Nachmais, D. (2008). Research methods in the Social Sciences:
Seventh Edition. New York, NY: Worth Publishers
Kline, R. B. (2005). Principles and practice of structural equation modeling (2nd ed.).
New York, NY: Guilford Press.