ISSN: 1906-117X

วารสาร

การศึกษาความต้องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตเมืองพัทยา

A Study of Needs for Developing Communicative English Skills of School Administrators in Pattaya City
ขอบเขต: การบริหารการศึกษา

พลธาวิน วัชรทรธำรงค์

โรงเรียนอนุบาลบางละมุง สพป.ชลบุรี เขต 3

ธนาวดี ทองอ้ม

ผศ.ดร.ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์

มหาวิทยาลัยบูรพา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการพัฒนา ทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตเมืองพัทยา 2) เปรียบเทียบความต้องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตเมืองพัทยา จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และสังกัดของโรงเรียน และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตเมืองพัทยา โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 168 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 34 คน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 86 คน และสังกัดเทศบาลและเมืองพัทยา 48 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Independent samples และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตเมืองพัทยาโดยรวม อยู่ในระดับมาก (x ̅= 4.28) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน เรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านทักษะการฟัง (x ̅= 4.42) ด้านทักษะการพูด (x ̅= 4.30) ด้านทักษะการอ่าน (x ̅= 4.26) และอันดับสุดท้าย ได้แก่ ด้านทักษะการเขียน (x ̅= 4.14) ตามลำดับ เปรียบเทียบความต้องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตเมืองพัทยา จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และสังกัดของโรงเรียน พบว่า ทั้งโดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แนวทางการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตเมืองพัทยา มีดังนี้ 3.1 แนวทางการพัฒนาทักษะการฟัง ได้แก่ การพัฒนาการออกเสียงจากการฟังในห้องฝึกฟัง การฟังจากโปรแกรมสำเร็จรูป การฟังจากการสนทนากับเจ้าของภาษา การฝึกฟังจากการชมภาพยนตร์ การฟังข่าวสารจากรายการวิทยุโทรทัศน์ ฟังการสนทนากับการชาวต่างประเทศ ฟังภาษาอังกฤษจากโปรแกรมสำเร็จรูป ฟังการบรรยายทางวิชาการ การประชุมสัมมนาจากวิทยากรชาวต่างชาติ และการฟังการบรรยายจากการศึกษาดูงานที่เป็นภาษาอังกฤษ เป็นต้น 3.2 แนวทางการพัฒนาทักษะการพูด ได้แก่ การพัฒนาการออกเสียง การฝึกพูดจากเทป หรือ โปรแกรมสำเร็จรูป การฝึกสนทนากับเจ้าของภาษา การฝึกสนทนากับครูภาษาอังกฤษที่เป็นคนไทย การอบรมการพูดในที่สาธารณะ การสนทนาในชีวิตประจำวัน การพูดโทรศัพท์ การแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม การกล่าวต้อนรับ การแนะนำสถานศึกษา การนำเสนอผลงานทางการศึกษา การพูดเชิงวิชาการ และการเจรจาขอความช่วยเหลือ เป็นต้น 3.3 แนวทางการพัฒนาทักษะการอ่าน ได้แก่ การฝึกอ่านในใจเพื่อเก็บใจความสำคัญ การฝึกอ่านออกเสียง การฝึกหาความหมายของคำศัพท์จากพจนานุกรม การฝึกเดาความหมายของคำศัพท์ ประโยค ข้อความจากบริบท การอ่านป้ายประกาศ การอ่านเอกสารทางวิชาการ บทความทางวิชาการและรายงานการวิจัย การอ่านจดหมาย อ่านหนังสือพิมพ์ การอ่านข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต การอ่านข้อความและเนื้อหาจากสื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น 3.4 แนวทางการพัฒนาทักษะการเขียน ได้แก่ การพัฒนาความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ โครงสร้างประโยค ไวยากรณ์ การฝึกเลือกประโยคและสำนวนภาษาให้ถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ การจดบันทึกการบรรยายทางวิชาการ การเขียนจดหมาย การเขียนข้อมูลข่าวสารอิเลคทรอนิกส์ (E-Mail) และการกรอกแบบฟอร์มเอกสารต่าง ๆ เป็นต้น

Abstract

Abstract This research was a survey research. It aimed to 1) study the needs for developing communicative English skills of school administrators in Pattaya City 2) compare those needs as classified by gender, education level and school affiliation and 3) collect the guidelines for communicative English skills development. The 168 samples consisted of 34 school administrators under OBEC, 86 administrators under private commission and 48 administrators under municipalities and Pattaya city. Which were obtained by proportional stratified random sampling. The tools used in the research was a set of 5-rating scale questionnaires. The statistics used in the data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test for independent Samples and One-Way ANOVA. The research findings were as follows: The needs for developing communicative English skills of school administrators in Pattaya City as a whole was at a high level (x ̅= 4.28) ranking from high to low of mean scores; there were listening skill (x ̅= 4.42) speaking skill (x ̅= 4.30) reading skill (x ̅= 4.26) and writing skill (x ̅= 4.19) respectively. Comparison of needs for developing communicative English skills of school administrators in Pattaya City as classified by gender, education level and school affiliation, found that the differences were not statistically significant respectively. Guidelines for developing communicative English skills of school administrators in Pattaya City as follows; Guidelines for listening skill development included the development of pronunciation from listening in the listening room, listening from the finished program, listening from conversations with native speakers, listening practice from watching movies, listening to news from television programs, listening to conversations with foreigners, listening to English from the finished program, listening to academic lectures Seminars from foreign speakers and listening to lectures from study visits in English, etc. 3.2 Guidelines for speaking skill development, included the development of pronunciation, speaking practice from tapes or speaking Conversation programs, practice with native speakers, conversation practice with Thai as English teachers, public speaking training everyday conversation, phoning expressing opinions at the meeting, welcoming school introduction, educational presentations, academic speech and negotiating for help, etc. 3.3 Guidelines for reading skill development included practicing reading for main ideas, practicing reading aloud, practicing finding the meaning of words from a dictionary, practicing guessing the meaning of words, sentences, texts from context, reading the cards, reading academic papers, academic articles and research reports, letter reading read newspapers, reading information from the internet, reading messages and content from social media, etc. 3.4 Guidelines for writing skill development included developing of vocabulary knowledge, sentence structure, grammar, practicing in selecting correct sentences and suitable language expressions for situations, taking notes of academic lectures letter, writing electronic news information (E-Mail) and filling out various document forms, etc.

คำสำคัญ

ความต้องการในการพัฒนา, ทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร, ผู้บริหารสถานศึกษาในเขตเมืองพัทยา

Keywords

Needs for Development, English Communication Skills, School Administrators in Pattaya City

เอกสารอ้างอิง

ชนิกานต์ ป้องคูหลวง. (2556). ศึกษาความต้องการการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ฐิตารีย์ จันทรวัทน์และสุทัศน์ เทียมกีรกุล. (2552). ความต้องการและเจตคติในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของ
นักศึกษาอาชีวศึกษาพิษณุโลก. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ,
มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ณฐพร มูลอำคา. (2560). การศึกษาความต้องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการ
บริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บุญเกิด กลมทุกสิ่ง. (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาการการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2563). ความต้องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์.
8 (1); 123-136.
พระมหาสังเวช ศรีโคตร และทวีศักดิ์ ชูมา. (2559). แนวทางการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้
รูปแบบกลวิธีการสื่อสาร. สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต ประจำ ปี ๒๕๕๙. วิทยาลัยสงฆ์เลย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หน้า 366-376.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2550). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาพิมล ชาติพหล. (2550). ปัญหาและความต้องการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของพนักงานบริษัทบริษัทเอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์เซอร์วิส จำกัด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วันวิสา วิเชียรรัตน์. (2561). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
รัชพินทร์ กิจนุสนธิ์. (2545). ความต้องการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของผู้บริหารสถานศึกษา. สังกัดกรมอาชีวศึกษา เขตการศึกษาที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริวรรณ เลห์ไมเออร์. (2554). การศึกษาปัญหาและความต้องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของปลัดอําเภอในจังหวัดขอนแก่น. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาอังกฤษ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
เอกพจน์ สิงห์คำ. (2560). การศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางในการพัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.
Creswell, J. W. (2011). Educational Research: Planning, Conducting, and Evaluating Quantitative and
Qualitative Research. New Jersey: Pearson Education International.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.
Iftimie, N.-M. (2015). Developing English Communication Skills in a Different Cultural Context: Matches and Mismatches. Revista Romaneasca pentru Educatie Multidimensionala, 7(1), 169-180.
Panida Karachedee. (2017). Needs for English Communication Skills of Thai Employees in a Multinational Company. Master Degree of Human Resource Development, Department of International Graduate Studies in Human Resource Development, Faculty of Education Burapha University.
Marc J. Riemer. (2016). English and Communication Skill, published in University of Sydney, Australia.