ISSN: 1906-117X

วารสาร

สภาพ ปัญหาและแนวทางการดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม

SITUATIONS, PROBLEMS AND GUIDELINES FOR THE IMPLEMENTATION OF SUFFICIENCY SCHOOLS UNDER SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE NAKHON PHANOM
ขอบเขต: การบริหารการศึกษา

สุวลักษณ์ สังข์ชัย

มหาวิทยาลัยนครพนม

นาวี อุดร

มหาวิทยาลัยนครพนม

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียน 2) เปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียน โดยจำแนกตามสถานภาพและขนาดสถานศึกษา และ 3) ศึกษาปัญหาและแนวทางการดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 344 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม โดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2) การเปรียบเทียบการดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียน จําแนกตามสถานภาพและขนาดสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ปัญหาด้านการบริหารสถานศึกษา คือ งบประมาณไม่เพียงพอ แนวทางดำเนินงาน คือ สถานศึกษาควรกำหนดนโยบายของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปัญหาด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน คือ วัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมยังขาดแคลน ไม่เพียงพอ แนวทางการดำเนินงาน คือ สถานศึกษาพัฒนาหลักสูตรให้ตรงหลักสูตรแกนกลางฯและตรงกับความต้องการของท้องถิ่น ปัญหาด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน คือ มีกิจกรรมอื่นเข้ามาแทรกในช่วงกิจกรรม แนวทางการดำเนินงาน คือ สถานศึกษาควรสอนแทรกกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในการใช้ชีวิตประจำวัน ปัญหาด้านการพัฒนาบุคลากร คือความแตกต่างของบุคคลด้านความคิดเห็นและนำไปปฏิบัติในกิจกรรมแตกต่างกัน แนวทางการดำเนินงาน คือ สถานศึกษาควรลดภาระงานอื่นๆที่ไม่ใช่งานสอน ส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการอบรมความรู้ใหม่ๆ

Abstract

The objectives of this research were to 1) study the situations of sufficiency school. 2) compare the level of situations of sufficiency school as classified by status and school size. and 3) study problems and guidelines for the implementation of sufficiency school under Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom. The sample group consisted of 344 school’s administrators and teachers. The instruments used in this study were 5-level rating scale questionnaires, the statistics used were percentage, mean, standard deviation. The hypothesis was tested using t-test, one-way analysis of variance (ANOVA) and content s analysis The results of the study revealed that (1) the operating situations of the sufficiency school under Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom overall and in each aspect, the average was at a high level . The highest average was educational institution management and the lowest average Including organizing student development activities . (2) the comparison of situations of sufficiency school classified by status and school size overall and each aspect was not different. (3) the problem of school administration was insufficient budget. The operational guidelines are that educational institutions should set their policies in line with the Sufficiency Economy Philosophy. The problems of curriculum and teaching management are that materials and equipment for organizing teaching and learning activities are insufficient. The operational guidelines are that educational institutions developing curriculum to meet the core curriculum and local needs. The problem of organizing student development activities is that other activities are inserted during the activity. The operational guidelines are that educational institutions should insert teaching activities to develop learners in daily life. the problems of personnel development is the difference of people in terms of opinions and practices in different activities. The operational guidelines are that educational institutions should reduce the burden of other non-teaching workloads. Encourage personnel to receive new knowledge training.

คำสำคัญ

การบริหารสถานศึกษา, สถานศึกษาพอเพียง, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม, สภาพ ปัญหา และแนวทางการดำเนินงาน

Keywords

Education Administration, Sufficiency School, Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom, Situation, Problems and Guidelines

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
________ (2555). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องแนวทางการพัฒนาและประเมินสถานศึกษาพอเพียงเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา. ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555.
ชัยวัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์, เสวียน เจนเขว้า, และ ระติกรณ์ นิยมะจันทร์. (2565). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนกลุ่มกรุงเทพกลาง. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 8(1), 82–98.
ธงชัย ดีมูลพันธ์. (2565). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของ สถานศึกษาในสหวิทยศึกษาวังสีทา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร). สืบค้นจาก http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/
นพรัตน์ คำสุทธี. (2562). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี). สืบค้นจาก http:/tdc.thailis.or.th/tdc
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พัทธนันท์ เมตตา. (2564). การพัฒนาแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. (วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) สืบค้นจาก http:/tdc.thailis.or.th/tdc
พิรัญญา พันธุศิริ และ จิรวัฒน์ วรุณโรจน์. (2564). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 8(3), 287-298.
พิชญาดา สิงหเลิศ. (2560). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนในสหวิทยาเขตระยอง 2 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา). สืบค้นจาก http:/tdc.thailis.or.th/tdc
ลวัณรัตน์ ชัยกิจธนาภรณ์. (2559). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. (วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี). สืบค้นจาก http:/tdc.thailis.or.th/tdc
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. (2565). แผนปฏิบัติการ ปี พ.ศ.2565. นครพนม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อารีมาน สะมะแอ. (2564). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนแกนนำสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3. (สารนิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่). สืบค้นจาก http:/tdc.thailis.or.th/tdc