ISSN: 1906-117X

วารสาร

การออกแบบกระบวนการเรียนรู้สำหรับปรับพื้นฐานการอ่าน การพูด และการเขียนภาษาไทย แก่นักเรียนชาติพันธุ์ มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แม่แจ่ม

Learning process design for basic reading writing and speaking of Thai language learning improvement of ethnic students (Grade 7) in Somdejya demonstration community school, College of Creative Agriculture for Society Srinakharinwirot University Maechaem
ขอบเขต: ภาษาและการสื่อสารเพื่อการศึกษา

ลัดดาวัลย์ มาเมือง

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พรสวรรค์ สุวรรณสันติชัย

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ปัทมา กุออ

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สิงหา แซ่ตึ้ง

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ปิยราช สมบัติ

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

จีรเดช จานเก่า

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

มนัส ยิ่งวิทยาคุณ

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อนันต์ สุขสันต์ฤทัย

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

หัสยา จุ้ยสกุล

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

นิฤมล ใจเหล็ก

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการออกแบบกิจกรรมที่ปรับพื้นฐานในการเรียนรู้ทักษะการอ่าน พูด และเขียนภาษาไทย 2) วัดประสิทธิภาพของกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการอ่าน พูด และเขียนภาษาไทยแก่นักเรียนโรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มศว แม่แจ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ด้านการอ่าน การพูด และการเขียนภาษาไทย 2) แบบทดสอบการวัดความรู้พื้นฐานการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) จำนวน 16 แผน ที่พัฒนาทักษะในด้านการอ่าน การพูด และการเขียนภาษาไทย 2) พื้นฐานการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผ่านการจัดกระบวนการการเรียนรู้แล้ว มีผลการประเมินหลังสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกระบวนการการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The objectives of this research involve 1) to study the design of the activities to prepare the fundamental Thai language learning skills in reading, speaking and writing 2) to evaluate the efficiency of the activities to improve the Thai language learning skills in reading, speaking and writing for students at Somdejya demonstration community school, College of Creative Agriculture for Society, Srinakharinwirot University, Meachaem. The population sample consisted of 21 ethnic students (Grade 7) in Somdejyademonstration community school, College of Creative Agriculture for Society, Srinakharinwirot University, Meachaem, in the academic year 2021. The research instruments consisted of 1) Active learning management plans for Thai language skills in reading, speaking and writing 2) The pre-test and post-test for evaluating the fundamental learning of students. Additionally, statistic data were analyzed in terms of percentage, mean, standard deviation and dependent samples t-test. The findings revealed as follows: 1) 16 of the active learning management plans to develop Thai language skills in reading, speaking and writing. 2) The evaluation results of the fundamental learning of students was significantly higher after students participated in the learning management process with the statistical data at level .05.

คำสำคัญ

พื้นฐานการเรียน, นักเรียนชาติพันธุ์, การออกแบบกระบวนการเรียนรู้

Keywords

basic learning, ethnic students, learning process design

เอกสารอ้างอิง

ณัฐยาน์ การุญ. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักภาษาไทยและความสนใจในการเรียน ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ที่สอนโดยบทเรียนสําเร็จรูปกับการสอนตามคู่มือ ครู. (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยศรีนครินทรวิโรฒ,กรุงเทพฯ).
ศรชัย มุ่งไธสง และคณะ. (2560). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยของนักเรียนบน พื้นที่สูงกลุ่มโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จังหวัด เชียงราย. วารสาร สังคมศาสตร์วิชาการปีที่ 10 ฉบับพิเศษ.
สายฝน แสนใจพรม และ สำเนา หมื่นแจ่ม. (2565). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับ การอ่านและการเขียนของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านใหม่พัฒนาสันติและโรงเรียนบ้านแม่ ลางิ้ว. วารสารบัณฑิตวิจัยปี ที่ 13 ฉบับที่ 2.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2511.กรุงเทพฯ: โรง พิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการที่ 1. (2554). การศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการประสานงานของ หน่วยงานด้านเยาวชนในระบบโรงเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
อภิรดี ไชยกาล. (2561). การสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองสำหรับเด็กชาติพันธุ์เขมรถิ่นไทย
อังคณา สายยศ,และคณะ. (2541). การศึกษาและพัฒนาระดับเชาวน์ปัญญาของนักเรียนประถมศึกษาใน อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. ภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อาภาภรณ์ ดิษฐเล็ก. (2556). การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ในแบบเรียนวิชาภาษาไทย ของ นักเรียนชาวจีน : กรณีศึกษานักเรียนวิทยาลัยการท่องเที่ยวและการอาชีพ มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. วิทยาลัยราชพฤกษ์:นนทบุรี.
Brown, W.B., & Moberg, D.J. (1980). Organization theory and management: Approach. New York :John Wiley and Sons.