ISSN: 1906-117X

วารสาร

โรงเรียนขนาดเล็ก: ปัญหาหรือโอกาสของการจัดการศึกษา

Small-Sized Schools: Challenges and Opportunities in Educational Management
ขอบเขต: การบริหารการศึกษา

ศุนิสา ทดลา

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพของการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กของประเทศไทยในปัจจุบัน พบว่ากระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีนโยบายและแนวทางในการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก 5 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 การยุบเลิกสถานศึกษาหรือการควบรวมกับโรงเรียนดีใกล้บ้าน รูปแบบที่ 2 การจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้นเรียน รูปแบบที่ 3 การจัดการเรียนรู้โดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รูปแบบที่ 4 การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กที่เป็นเอกเทศ และรูปแบบที่ 5 การจัดการเรียนการสอนแบบโรงเรียนเครือข่ายความร่วมมือ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดนโยบาย แนวทาง มาตรการการดำเนินงาน และพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตลอดจนรูปแบบการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลการปฏิบัติงานในระดับพื้นที่อย่างจริงจังของการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยยึดหลักการกระจายอำนาจ การพิจารณาและการตัดสินใจอยู่ในระดับพื้นที่เป็นสำคัญ และ 2) นำเสนอแนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยมีแนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กให้เหมาะสมตามบริบทของโรงเรียน โดยยึดหลักใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management) และใช้แนวคิดเชิงระบบตามวงจรคุณภาพ PDCA ในการดำเนินงาน ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมการและสร้างความตระหนัก 2) ขั้นดำเนินการ 3) ขั้นติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงาน และ 4) ขั้นนำสู่การปรับปรุงและพัฒนา โดยการบริหารจัดการและการดำเนินงานโรงเรียนขนาดเล็กต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายสถานศึกษา ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย นอกจากนี้ยังพบว่านวัตกรรมทางการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้โรงเรียนขนาดเล็กมีคุณภาพและควรเป็นนวัตกรรมที่โรงเรียนและครูพัฒนาจากความต้องการในการแก้ปัญหาและสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีที่โรงเรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ เด็กมีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนเป็นไปเพื่อการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Abstract

The objectives of this article are 1) to study the current management situation of small-sized schools in Thailand. The study reveals that the Ministry of Education and the Basic Education Commission have policies and guidelines for managing small-sized schools through five approaches: Approach 1 involves the closure or consolidation of schools with nearby quality schools. Approach 2 focuses on multi-grade classroom teaching. Approach 3 emphasizes technology-driven learning management. Approach 4 deals with self-governing small-sized schools. Approach 5 involves collaborative networked school management. These policies, guidelines, operational measures, and educational quality enhancement strategies have been set by the Basic Education Commission to ensure effective local-level management of small-sized schools. The principles of decentralization, local consideration, and decision-making are central, and 2) to propose a guideline for managing small-sized schools appropriately, considering the school context, and applying School-Based Management principles. Using the systemic approach of the PDCA quality cycle in workflow management, comprising four steps: 1) Preparation and awareness-building, 2) Implementation, 3) Monitoring, inspection, and evaluation, and 4) Refinement and development. Effective management and operation of small-sized schools require collaboration from all stakeholders, including communities, parents, school committees, local administrative organizations, school networks, and involved parties. Additionally, educational innovation is crucial for enhancing the quality of small-sized schools. These innovations should be tailored to the specific problems faced by schools and align with their contexts. Such opportunities allow schools to develop themselves and ensure that students have a quality education that aligns with community needs, contributing to sustainable educational development.

คำสำคัญ

โรงเรียนขนาดเล็ก, ปัญหาหรือโอกาส , การจัดการศึกษา

Keywords

Small-Sized Schools, Challenges and Opportunities, Educational Management

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ปีการศึกษา 2562-2565. สืบค้นจาก http://www.ska2.go.th/home/data/report/25630519_140915_5359.pdf
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก. สืบค้นจาก https://drive.google.com/file/d/1YWMkEoFcgW10aja9fai_6ovMPy7S-Auz/view
คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. (2559). รายงานของสภาขับเคลื่อน
การปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เรื่อง การบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก. สืบค้น
จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/
usergroup_disaster/5-10.pdf
Deming, E. W. (1986). Out of the Crisis. Cambridge, MA: Massachusetts Institute of Technology, Centre for advanced study.
OBEC Channel. (3 สิงหาคม 2565). การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนคุณภาพ 4 ภาค โดย ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา [Video file]. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=wEHQsVLdgpA
The 101. Word. (2566). ปักหมุดความเหลื่อมล้ำ แก้โจทย์โรงเรียนขนาดเล็ก. สืบค้นจาก https://www.the101.world/inequality-in-small-school/