ISSN: 1906-117X

วารสาร

การส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม

Enhance Learning Management Competency with Using Design Thinking Process for Fostering Creative Innovation Ability
ขอบเขต: หลักสูตรการสอน

กุลกาญจน์ สุวรรณรักษ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการการส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ครู ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียน ซึ่งเป็นนวัตกรรมการสอนอย่างหนึ่งที่สามารถส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการคิดได้ เพราะการคิดเชิงออกแบบเป็นการผสมผสานระหว่างการจัดการเรียนรู้ให้คนเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้แบบสืบสอบหาความรู้ และความคิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมเข้าด้วยกัน ซึ่งนักเรียนจะได้ใช้ทั้งความรู้ ทักษะในการปฏิบัติที่สร้างสรรค์ เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในการค้นหาทำความเข้าใจข้อมูลอย่างลึกซึ้ง สร้าง และสำรวจแนวความคิดอย่างจริงจัง ออกแบบทดสอบ ปรับปรุงผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ โดยการคิดเชิงออกแบบเป็นวิธีการที่ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง และยังเป็นเครื่องมือสำหรับพัฒนาให้นักเรียนได้ปฏิบัติเพื่อสร้างนักออกแบบหรือนวัตกรให้เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้ ช่วยเปิดโอกาสให้นักเรียนสร้างแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการจัดการเรียนรู้ เป็นกระบวนการและกลยุทธ์ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของครูในการคิด วางแผน และดำเนินการเพื่อพัฒนาประสบการณ์ให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการคิด และสะท้อนผลการทำงานจากการปฏิบัติจริงว่าการทำงานที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร จะพัฒนางานให้ดีขึ้นได้อย่างไร นักเรียนสำรวจและทดลองสร้างสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดทบทวนสิ่งต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นทำความเข้าใจปัญหา (Empathize) 2) ขั้นนิยามปัญหา (Define) 3) ขั้นสร้างความคิด (Ideate) 4) ขั้นสร้างต้นแบบ (Prototype) และ5) ขั้นทดสอบ (Test)

Abstract

The article aims to present guidelines for enhance learning management competencies of teacher with design thinking process for fostering creative innovation ability of students. Design thinking combination of human-centered, inquiry-based scaffolding and innovation mindsets where students apply knowledge/skill with creative practices to collaboratively discover empathetic insights, generate and explore radical ideas, and create, test, improve tangible outcomes. Design thinking is human-center methodology that providing the tools for students to think and behave like a designer occur in teaching and learning, providing opportunities of best practices to occur in teaching and learning. The teacher design process and thoughtful and reflective of the work being done, how the work is being done, how the work will improve, explore and experiment, build things to learn and think things through. The design thinking process consists of five steps: 1) Empathize 2) Define 3) Ideate 4) Prototype stage and 5) Test.

คำสำคัญ

การคิดเชิงออกแบบ, สมรรถนะการจัดการเรียนรู้, การสร้างสรรค์นวัตกรรม

Keywords

Design Thinking Process, Learning Management Competency, Creative Innovation

เอกสารอ้างอิง

นภาภรณ์ เจียมทอง และเปรมพล วิบูลย์เจริญสุข. (2566). การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้ความคิดเชิงออกแบบสำหรับนักเรียนประถมศึกษา. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(4), 574-577.
บุญฤดี อุดมผล. (2563). รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะความเป็นครูเชิงพุทธบูรณาการของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา,10(2), 161.
ประทีป คงเจริญ. (2564). ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม: คุณลักษณะสำคัญของพลโลกในยุคเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 5(3),172 .
ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา และชูจิต ตรีรัตนพันธ์. (2560). การคิดเชิงออกแบบ: เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC).
ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ (ฉบับราชบัณฑิตยสถาน). กรุงเทพฯ: สำนักราชบัณฑิตยสภา.
ราณี จีนสุทธิ์. (2564). แนวทางการพัฒนาครูวิถีใหม่ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล. ครุสภาวิทยาจารย์, 2(2), 18.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มูลนิธิ สยามกกัมมาจล.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2557). กระบวนทัศน์การโค้ช เพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2562). การพัฒนาทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม. กรุงเทพ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2553. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2566, จาก http://gpa.tmk.ac.th/teacher/capasity.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สุนันท์ สังข์อ่อง. (2555). หลักสูตรและการสอนสำหรับศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Brown, T. (2009). Change by Design. New York: Harper Collins Publisher.
Buchanan, R. (1992). Wicked Problems in Design Thinking. Design issues, 82(3): 5-21.
Goldschmidt, G., & Rodgers, P. A. (2013). The Design Thinking Approaches of Three Different Groups of Designers Based on Self-reports. Design Studies, 34(4), 454-471.
IDEO.ORG. (2012). Design Kit. Retrieved August 1, 2023, from http://www.designkit.org/methods/14
Kwek, S. H. (2011). Innovation in the classroom: Design thinking for 21st century learning. Retrieved August 1, 2023, from http://www.stanford.edu/group/redlab/cgi-bin/publications_resources.php
Lee, D. (2018). Design thinking in the classroom. CA: Ulysses Press. Partnership for 21st century skills. (2009). Professional Development: A 21st Century Skills Implementation Guide. Tucson: Partnership for 21st century skills Organization.
The Stanford d.school Bootcamp Bootleg. (2010). An Introduction to Design Thinking PROCESS GUIDE. Retrieved August 1, 2023, from https://dschool-old.stanford.edu/sandbox/groups/esignresources/wiki/36873/attachments/74b3d/ModeGuideBOOTCAMP2010L.pdf