ISSN: 1906-117X

วารสาร

มุมมองของครูประจำการด้านการออกแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดความรู้เนื้อหา ผสานวิธีสอนและเทคโนโลยี

In-service Teacher Perspective on Instructional Design Based on the Technological Pedagogical Content Knowledge Approach
ขอบเขต: หลักสูตรการสอน

นันท์นภัส นิยมทรัพย์

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

จินตนา ศิริธัญญารัตน์

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

บุญสม ทับสาย

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

กชพร รัตนศิริ

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

จินดาหรา โก้เครือ

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ฐิติพันธุ์ บัวเจริญ

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ธัญญารัตน์ นาทะชัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

นฤมล โก้เครือ

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยี (TPACK) ของครูประจำการ และ 2) ศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาครูในการออกแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด TPACK ของครูประจำการ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มครูจำนวน 70 คน ที่เข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการที่จัดโดยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสนใจพัฒนาการเรียนการสอนตามแนวคิด TPACK เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบจำกัด (concentration sampling) เครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมินการรับรู้ความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด TPACK แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 และคำถามปลายเปิด 2 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้ความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด TPACK ของครูประจำการโดยรวมและรายด้านทั้งด้านเนื้อหาผสานวิธีสอน (PCK) ด้านเนื้อหาผสานเทคโนโลยี (TCK) ด้านเทคโนโลยีผสานวิธีสอน (TPK) และด้านความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยี (TPCK) อยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกตามกลุ่มประสบการณ์สอนพบว่าครูที่มีประสบการณ์สอนไม่เกิน 1 ปี รับรู้ความสามารถโดยรวมของตนเองในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มอื่นนอกนั้นอยู่ในระดับมาก 2) ปัญหาในการออกแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด TPACK คือ บริบทโรงเรียนและนักเรียนที่มีข้อจำกัดของอุปกรณ์เทคโนโลยีและระบบอินเทอร์เน็ต ครูยังขาดประสบการณ์ในการใช้ TPACK ในชั้นเรียน และการเลือกเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับบริบท ส่วนแนวทางการพัฒนาครูควรมุ่งเน้นความรู้วิธีสอนผสานเทคโนโลยี (TPK) เป็นหลัก

Abstract

This research aimed to study: 1) perception of abilities on instructional design based on the Technological Pedagogical Content Knowledge approach (TPACK) of in-service teachers; and 2) problems and guidelines for teacher development in instructional design based on TPACK. Data were collected from 70 in-service teachers who were interested in TPACK approach and attended an academic seminar organized by the Faculty of Education, Nakhon Pathom Rajabhat University on May 26, 2023, using concentration sampling. The research instruments employed were: 1) a perception of abilities evaluation form, 5 scales of rating scale, 30 items with reliability of 0.97; and 2) two opened questions. The findings were as follows: 1) Perception of abilities on instructional design based on TPACK of in-service teacher as a whole and each aspect namely PCK TCK TPK and TPCK was at a high level: however, groups when the sampled teachers were classified by teaching experience, it was found that teachers with less than one year of experience as a whole showed the highest level as the other groups at a high level. 2) Problems regarding instructional design based on the TPACK included insufficiency of school and student contexts in technology devices and internet systems, lackness of teacher experience in using TPACK in the classroom; and technology selection to suit the context; as for the teacher development guidelines focused on technological pedagogical knowledge (TPK).

คำสำคัญ

การออกแบบการเรียนการสอน, มุมมองของครู, ทีแพ็ค, ความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยี

Keywords

instructional design, teacher perspective, TPACK, TPCK

เอกสารอ้างอิง

ดิเรก พรสีมา. (2562). ทำอย่างไรประเทศของเรา จึงจะได้ครูที่ใช้ความรู้ทีพีซี (TPCK) ในการประกอบวิชาชีพ? : มติชนออนไลน์. เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_1528204 วันที่ 23 กรกฎาคม 2566
ต้องตา สมใจเพ็ง, ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์ และเอกภูมิ จันทรขันตี. (2559). การรับรู้ด้านความรู้และความสามารถในการสอนเนื้อหาวิชาเฉพาะโดยใช้เทคโนโลยี (TPACK) ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 31(1), 63-73.
บุญชม ศรีสะอาด. (2561). การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า. การวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2(1), 64-70.
ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ และพรสุข ตันตระรุ่งโรจน์. (2558). ผลของการใช้คำถามประเมินตนเองและการประเมินโดยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถ ของตนเองและความรู้บูรณาการ TPACK ด้านการออกแบบสื่อดิจิทัลของนิสิตครู. วารสารครุศาสตร์, 43(4), 129-145.
พลธาวิน วัชรทรธำรงค์ และศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วารสารครุศาสตร์สาร, 16(2), 219-231.
มะนาแซ มะเดหมะ และณัฐชัย วงศ์ศุภลักษณ์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักการบูรณาการความรู้เทคโนโลยีกับวิธีการสอนและเนื้อหา (TPACK) ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี: การวิเคราะห์ไมมิค. วารสารครุศาสตร์สาร, 16(2), 265-281.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
ลิลลา อดุลยศาสน์. (2561). ผลของการพัฒนาความรู้ในการบูรณาการเทคโนโลยีกับวิธีสอนและเนื้อหาที่สอน (TPACK) ของนักศึกษาครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 13(1), 115-128.
วสุพงษ์ อิวาง. (2566). การศึกษาความรู้เนื้อหาผนวกวิธีการสอนและเทคโนโลยีสำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4. วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 3(1), 138-152.
วันดี เสาหิน. (2544). เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและการกำหนดขนาดตัวอย่าง. สุทธิปริทัศน์, 15(47), 80-87.
ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ. (2559). ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีของครูวิทยาศาสตร์เพื่อการจัดการเรียนรู้บูรณาการบริบทชุมชนท้องถิ่นและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 12(2), 107-139.
______. (2562). ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาในประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 34(1), 51-64.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2558). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
______. (2565). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ชุดนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลทางการศึกษา ฉบับราชบัณฑิตสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2558). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี: การนำเทคโนโลยีสู่ห้องเรียนและโรงเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 17(4), 216–224.
สุรัสวดี ควรหา และสุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การประเมินความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูโรงเรียนสุนันทาวิทยา ตามแนวคิดความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยี. An Online Journal of Education, 14(2), OJED1402001 (13 pages). Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php /OJED/article/view /183266
อรอุมา สิงห์สวัสดิ์, ศิริรัตน์ ศรีสะอาด และนาตยา ปิลันธนานนท์. (2565). TPACK ในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์: TPACK ในฟิสิกส์. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 9(1), 316-326.
Harris, J. B., Mishra, P., & Koehler, M. (2009). Teachers' technological pedagogical content knowledge and learning activity types: Curriculum-based technology integration reframed. Journal of Research on Technology in Education, 41(3), 393-416.
Jalani, G., Hussain, S., Amin, N., & Hussain, D. (2021). Self-Assessment of Prospective Teachers’ Technological Pedagogical and Content Knowledge (TPACK). Journal of Educational Sciences & Research, 8(1), 97–116.
Jiménez Sierra, Á.A., Ortega Iglesias J.M., Cabero-Almenara J. & Palacios-Rodríguez, A. (2023) Development of the teacher’s technological pedagogical content knowledge (TPACK) from the Lesson Study: A systematic review. Frontiers in Education. https://doi.org/10.3389/ feduc.2023.1078913
Kaewsri, T., Sengsri, S. & Kongmanus, K. (2023). A Study of the Results of Self-Assessment in Technological Pedagogical and Content Knowledge (TPACK) of Science Teachers of the Secondary Educational Service Area Office Kamphaeng Phet. Journal of Professional Routine to Research (JPR2R), 10(1), 11-18.
Koehler, M. J. (2012). TPACK Explained. Retrieved from http://tpack.org/, July, 23 2023.
Mishra, P. (2019). Considering Contextual Knowledge: The TPACK Diagram Gets an Upgrade. Journal of Digital Learning in Teacher Education. DOI: https://doi.org/10.1080/21532974. 2019.1588611
Rolando, L. G. R., Salvador, D. F., Vasconcellos, R. F. R. R., & Luz, M. R. M. P. D. (2021). TPACK for Meaningful Learning Survey: “Paths” for Professional Development of Biology Teachers in Brazil. Turkish Online Journal of Educational Technology - TOJET, 20(2), 169–181.
Windianingsih T., Susanti, N. & Alrizal, A. (2023). Analysis of TPACK (Technological Pedagogical and Content Knowledge) variables for middle school teachers through surveys in the Pasar Jambi district. Jurnal Riset Dan Kajian Pendidikan Fisika, 10(1), 1–9. https://doi.org/10.12928/jrkpf.v10i1.198