ISSN: 1906-117X

วารสาร

การศึกษาความพึงพอใจต่อการให้บริการของกองอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

STUDY OF SATISFACTION WITH THE SERVICES OF BUILDINGS FACILITIES AND ENVIRONMENT AT BANSOMDEJCHAOPRAYA RAJBHAT UNIVERSITY
ขอบเขต: สังคมศาสตร์เพื่อการศึกษา

นิวัฒน์ เจริญศิริ

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

การจิวัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพการให้บริการของกองอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และ 2) ศึกษาแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการของกองอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษาและหน่วยงานภายนอกที่มาใช้บริการในด้านต่าง ๆ ของกองอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ประจำปีการศึกษา 2565 ได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพการให้บริการของกองอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก เมื่อพิจารณาความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกด้านจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาน้อยที่สุดจากทั้งหมด 5 ด้าน ดังนี้ 1) คุณภาพการให้บริการทั่วไป ผู้ขอใช้บริการได้รับการให้บริการอยู่ในระดับพึงพอใจมากอยู่ในอันดับที่ 1 2) รักษาความปลอดภัย, จราจร, และยานพาหนะ ผู้ขอใช้บริการได้รับการให้บริการอยู่ในระดับพึงพอใจมากอยู่ในอันดับที่ 2 3) งานวิศวกรรมและอนุรักษ์พลังงาน ผู้ขอใช้บริการได้รับการให้บริการอยู่ในระดับพึงพอใจมาก อยู่ในอันดับที่ 3 4) งานอาคารสถานที่ ผู้ขอใช้บริการได้รับการให้บริการอยู่ในระดับพึงพอใจมากอยู่ในอันดับที่ 4 และ 5) งานสถาปัตยกรรม ผู้ขอใช้บริการได้รับการให้บริการอยู่ในระดับพึงพอใจมากอยู่ในอันดับที่ 5 นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์ความแตกต่างในการได้รับบริการของผู้ขอใช้บริการในกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งไม่มีความแตกต่างที่มีนัยสำคัญ เพราะผลการวิจัยพบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติในทุกด้าน นอกจากนี้ นำเสนอแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาในด้านงานสถาปัตยกรรมอย่างเร่งด่วน เนื่องจากมีความล่าช้าในการถอดแบบประมาณราคาก่อสร้างที่อาจส่งผลกระทบในการใช้จ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามผลการเบิกจ่ายงบประมาณแผ่นดิน ผู้วิจัยขอเสนอให้กองอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ดำเนินการแก้ไขปัญหาและป้องกันการถูกยึดคืนงบประมาณในด้านงานสถาปัตยกรรมอย่างเร่งด่วน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและเพิ่มความพึงพอใจของผู้ใช้บริการทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย

Abstract

The purpose of this study is to 1) assess the quality of services provided by the Department of Buildings, Facilities, and Environment at Bansomdejchaopraya Rajabhat University, and 2) investigate improvement strategies for service delivery in the same department. The research is survey-based, targeting a sample group of 400 participants, including teachers, staff, students, and external organizations using various services provided by the department in different areas. The data collection methods include questionnaires, and statistical analysis involves measures such as percentages, means, standard deviations, t-tests, and one-way analysis of variance (ANOVA), along with the LSD method for pairwise comparisons. The research findings indicate that overall satisfaction with the quality of services provided by the department is high. The aspects of service satisfaction, ranked from highest to lowest, are as follows: 1) General Service quality, 2) Safety, traffic, and transportation services, 3) Engineering and energy conservation services, 4) Building and facility services, and 5) Architectural services. Additionally, the study analyzes differences in service satisfaction among different user groups, finding no statistically significant differences in any dimension. Furthermore, urgent recommendations for improving architectural work are proposed due to delays in design and construction estimates, which could impact budget allocation and result in budget overrun. The researchers suggest that the Department of Buildings, Facilities, and Environment, under the Office of the President at Bansomdejchaopraya Rajabhat University, take immediate action to address and prevent budget reclaim issues in the architectural domain. This is aimed at enhancing the efficiency of service delivery and increasing satisfaction among both internal and external service users within the university.

คำสำคัญ

การให้บริการ, แนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการ, ผู้รับบริการ

Keywords

Service Delivery, Guidelines for Service Improvement and Development, Service Recipients

เอกสารอ้างอิง

จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์. (2543). ประสิทธิภาพในระบบสุขภาพ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
ธณภร จินตพละ. (2554). การศึกษาคุณภาพการให้บริการของสำนักงานบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย
ราชภัฏนครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ธเนศ เทพพิทักษ์. (2546). ความคาดหวังและการรับรู้ในการวางแผนกลยุทธ์หรือการปฏิรูป. กรุงเทพฯ: กราฟฟิคฟอร์แมท.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั่งที่ 9. กรุงเทพฯ. สุวีริยาสาส์น.
ภรภัค แช่มช้อย. (2557). คุณภาพการให้บริการของกองอาคารสถานที่ สำนักงานอธิการบดี
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมิต สัชชุกร. (2543). การต้อนรับและบริการที่เป็นเลิศ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สายธาร.
สำนักนโยบายและแผน กรุงเทพมหานคร. (2538). ความพึงพอใจของประชาชนต่อระบบและกระบวนการให้บริการของกรุงเทพมหานคร: ศึกษากรณีสำนักงานเขต. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สมนึก ภัททิยธนี. (2553). การวัดผลการศึกษา. มหาสารคาม : ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อาคม สวัสดิ์มงคล. (2548). คุณภาพการให้บริการ: กรณีศึกษาสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
Getzels, J.W. & Cuba, E. G. (1954). Role, role conflict, and effectiveness: An empirical study.
Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis, 2nd Ed., New York: Harper and Row.