ISSN: 1906-117X

วารสาร

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยการแก้ปัญหาด้วยสารสนเทศ เพื่อสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาและยื่นคำขอรับสิทธิบัตร

Development of An Instructional Model by Information Problem Solving for Creative Educational Innovation and Filling Patent Applications
ขอบเขต: หลักสูตรการสอน

ธิดารัตน์ ตันนิรัตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ประเมินความต้องการจำเป็นของการแก้ปัญหาด้วยสารสนเทศ การสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาและการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรของนักศึกษาครู 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา 3) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยการแก้ปัญหาด้วยสารสนเทศ เพื่อสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาและยื่นคำขอรับสิทธิบัตร 4) ทดลองรูปแบบการเรียนการสอนฯ และ 5) ปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนฯ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาครู จำนวน 508 คนและกลุ่มทดลอง รวม 68 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม รูปแบบการเรียนการสอนฯ แบบตรวจสอบรายการ และแบบประเมินนวัตกรรมทางการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาร้อยละ X¯ SD วิเคราะห์ความต้องการจำเป็น วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ค่าที และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ผลประเมินความต้องการจำเป็น พบว่า ลำดับความต้องการจำเป็นมากที่สุด มีค่า PNIModified=0.142 คือ นักศึกษาครูสร้างนวัตกรรมและขอความคุ้มครองสิทธิบัตร (คาดหวัง X¯ =3.88, SD=1.09 ปฏิบัติ X¯ =3.61, SD =1.12) 2) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความสามารถด้านสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา พบว่า องค์ประกอบทุกตัวแปรมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานตั้งแต่ 0.53 - 0.75 โดยตัวแปรที่มากที่สุด คือ ทักษะด้านการประเมิน รองลงมา ตัวแปรทักษะการแก้ปัญหามีความแปรผันร่วมกับตัวแปรความสามารถการสร้างนวัตกรรมการศึกษาร้อยละ 86 3) ผลการทดลองรูปแบบการเรียนการสอนฯ พบว่า การทดลองทั้ง 2 ครั้ง มีคะแนนวัดความรู้พื้นฐานนวัตกรรมทางการศึกษาและสิทธิบัตรไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนำนวัตกรรมทางการศึกษา จำนวน 15 ผลงานไปยื่นคำขอสิทธิบัตร คิดเป็นร้อยละ 37.50 ของจำนวนนวัตกรรมทางการศึกษาทั้งหมด 4) ผลการรับรองรูปแบบการเรียนการสอนฯ พบว่า องค์ประกอบและขั้นตอนการเรียนการสอนฯ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และ 5) รูปแบบการเรียนการสอนฯ มีองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ คือ 1) เนื้อหาการเรียนรู้ 2) กลยุทธ์การเรียนการสอน 3) งบประมาณและเจ้าหน้าที่ด้านทรัพย์สินทางปัญญา 4) คุณลักษณะของผู้เรียน 5) สื่อการเรียนรู้ และ 6) การประเมินผล และกระบวนการ 6 ขั้นตอน คือ 1) รับความรู้ 2) กำหนดปัญหา 3) ค้นหาข้อมูลและวางแผน 4) สร้างนวัตกรรมทางการศึกษา 5) ทดลองใช้และปรับปรุงนวัตกรรมทางการศึกษา และ 6) เตรียมเอกสารยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตร

Abstract

The purposes of this research were to: 1) assess the need for information-based problem solving for creation of educational innovations and file patent applications for pre-service teachers 2) Analyze the confirmatory factor of the ability to create innovation in education 3) Create a teaching and learning model by solving problems with information to create educational innovations and file patent applications 4) implement the instructional model and 5) Develop the instructional model. The sample group consisted of 508 pre-service teachers and experimental groups totaling 68 preservice teachers. The research instruments were questionnaires, the instructional model, the item check form, and the educational innovation assessment form. The data was analyzed by %, X¯ , Standard Deviation (SD), Need Assessment, Confirmatory factor analysis (CFA), t-test and content analysis. The research results are as follows. 1) The results of the need assessment demonstrated that the most necessary with the highest PNIModified = 0.142, is the item ‘pre-service teachers create innovations and file for patent protection (Expectation; X¯ =3.88, SD =1.09 and Implementation; X¯ =3.61, SD =1.12) 2) Confirmatory factor analysis of educational innovation creating capability found that all variables had standard factor loading value ranging from 0.53 - 0.75 which were significant at the .01 level. And the variable with the highest factor loading was ‘assessment skills’ followed by the ‘problem-solving skills’ variable. There were 86 percent of the variables associated with the variables in creating educational innovation. 3) The results of the instructional model implementation indicated the scores on educational innovation and filing Thai patents’ basic knowledge after the implementation were statistical significantly higher than before implementation at the .05 level. In addition, from the implementation, preservice teachers successfully filed a patent for their innovations which represented 37.50 percent of the total number of educational innovations. 4) The certification results of the instructional model found that the components and processes of instruction were at the level of the most appropriate and 5) instructional model consists of 6 components: 1) learning content, 2) teaching and learning strategies, 3) budget and intellectual property staff, 4) learner characteristics. 5) instructional materials and 6) Evaluation including a 6-step process: 1) Acquire knowledge 2) Identify problems 3) Search information and plan 4) Create educational innovation 5) Implement and develop educational innovations and 6) Prepare documents for filing for patent registration.

คำสำคัญ

นวัตกรรมทางการศึกษา, สิทธิบัตร, นักศึกษาครู

Keywords

Educational Innovation, Patent, Pre-service teacher

เอกสารอ้างอิง

กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์. (2557). สิทธิบัตร. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2564 จาก https://www.ipthailand.go.th/
ธิดารัตน์ ตันนิรัตร์, เนาวนิตย์ สงครามและใจทิพย์ ณ สงขลา. (2561). การประเมินความต้องการจำเป็นของการพัฒนาผลงานสร้างสรรค์และการยื่นคำขอรับสิทธิบัตร สำหรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(1), 147-164.
ธิดารัตน์ ตันนิรัตร์. (2561). รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการแก้ปัญหาด้วยสารสนเทศร่วมกับการเสริมการเรียนรู้ และกระบวนการ Z TO A เพื่อสร้างผลงานสร้างสรรค์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธิดารัตน์ ตันนิรัตร์. (2562). พฤติกรรมเกี่ยวกับการสร้างสื่อการเรียนการสอนหรือผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาครู. ครุศาสตร์สาร, 13(2), 183-196.
ธิดารัตน์ ตันนิรัตร์. (2565). การประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการสร้างสื่อการเรียนรู้และการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรของนักศึกษาครู. ครุศาสตร์สาร, 16(1), 236-247.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัฐสภา แก่นแก้ว, ณรงค์ สมพงษ์, & ณัฐพล รำไพ. (2563). การพัฒนารูปแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ในระดับปริญญาตรี: การพัฒนารูปแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ในระดับปริญญาตรี. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(2), 189-203.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
ศราวุฒิ สมัญญา และ ธิดารัตน์ ตันนิรัตร์. (2563). การศึกษาทักษะชีวิตและวิชาครูของนักศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. ครุศาสตร์สาร, 14(2), 85-97.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา ฉบับปีการศึกษา 2557. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2562 จาก http://www.qa.su.ac.th
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2564). จำนวนนักศึกษา ปีการศึกษา 2564 จำแนกตาม ประเภทสถาบัน / ชื่อสถาบัน / ชื่อหลักสูตร / ระดับชั้น / ชั้นปี. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2564 จากwww.info.mua.go.th/
อรัญ วานิชกร. (2560). การพัฒนางานวิจัยสร้างสรรค์ศิลปกรรมสู่การจดสิทธิบัตร. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 21(1), 71-83.

Badia, A., & Becerril, L. (2015). Collaborative solving of information problems and group learning outcomes in secondary education/Resolución colaborativa de problemas informacionales y resultados de aprendizaje grupal en la educación secundaria. Infancia y Aprendizaje, 38(1), 67-101.
Bedir, H. (2019). Pre-service ELT teachers’ beliefs and perceptions on 21st century learning and innovation skills (4Cs). Journal of Language and Linguistic Studies, 15(1), 231-246.
Birke, P., Rosman, T., Mayer, A.-K., & Walter, B. (2014). A Domain-Specific Test of Procedural Knowledge about Information Searching for Students of Computer Science Information Literacy. Lifelong Learning and Digital Citizenship in the 21st Century (pp. 683-692): Springer.
Brand-Gruwel, S., Wopereis, I., & Walraven, A. (2009). A descriptive model of information problem solving while using internet. Computers & Education, 53(4), 1207-1217. doi:http://dx.doi.org/10.1016/j.compedu.2009.06.004
Caviglia, F., & Delfino, M. (2016). Foundational skills and dispositions for learning: An experience with information problem solving on the web. Technology, Pedagogy and Education, 25(4), 487-512.
Daud, S., Rahim, R. E. A., & Alimun, R. (2008). Knowledge creation and innovation in classroom. International Journal of Human and Social Sciences, 3(1), 75-79.
Henriksen, D., Richardson, C., & Shack, K. (2020). Mindfulness and creativity: Implications for thinking and learning. Thinking skills and creativity, 37, 100689.
Kuiper, E., Volman, M., & Terwel, J. (2009). Developing Web literacy in collaborative inquiry activities. Computers & Education, 52(3), 668-680.
Lázaro-Cantabrana, J., Usart-Rodríguez, M., & Gisbert-Cervera, M. (2019). Assessing teacher digital competence: The construction of an instrument for measuring the knowledge of pre-service teachers. Journal of New Approaches in Educational Research (NAER Journal), 8(1), 73-78.
Michaelsen, L. K., Davidson, N., & Major, C. H. (2014). Team-based learning practices and principles in comparison with cooperative learning and problem-based learning. Journal on Excellence in College Teaching, 25.
Miron-Spektor, E., & Beenen, G. (2015). Motivating creativity: The effects of sequential and simultaneous learning and performance achievement goals on product novelty and usefulness. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 127, 53-65.
Nurkhin, A., & Pramusinto, H. (2020). Problem-Based Learning Strategy: Its Impact on Students' Critical and Creative Thinking Skills. European Journal of Educational Research, 9(3), 1141-1150.
Parissi, M., Komis, V., Lavidas, K., Dumouchel, G., & Karsenti, T. (2019). A pre-post study to assess the impact of an information-problem solving intervention on university students’ perceptions and self-efficacy towards search engines. Revue internationale des technologies en pédagogie universitaire, 16(1), 68-87.
Rodicio, H. G. (2015). Students’ evaluation strategies in a Web research task: Are they sensitive to relevance and reliability? Journal of Computing in Higher Education, 27(2), 134-157. doi:10.1007/s12528-015-9098-1
Ruder, S., Constant, N., Botha, J., Siddhant, A., Firat, O., Fu, J., ... & Johnson, M. (2021). XTREME-R: Towards more challenging and nuanced multilingual evaluation. arXiv preprint arXiv:2104.07412.
Safitri, V. A. D., & Anggara, B. (2019, February). Factors that affect the company innovation. In II. InTradersUluslararası Ticaret Kongresi Kongre Kitabı The Second InTraders International Conference on International Trade Conference Book (Vol. 230).
Stadtler, M., & Bromme, R. (2008). Effects of the metacognitive computer-tool met. a. ware on the web search of laypersons. Computers in Human Behavior, 24(3), 716-737.
Tannirat, T. (2020). From Angry Bird Application to STEM Activities in Real Life. International Journal of Advanced Science and Technology. 29(7s): 878-883.
Tannirat, T. (2022). A Guideline for Promoting Creative Educational Innovation and Filing Patent for Pre-service Teachers in Thailand. Journal of Positive School Psychology, 6(5), 7631-7635.
Tannirat, T., Songkram, N., Dulyakorn, V., & Upapong, S. (2022). The Implementation of Computational Thinking Books and Materials Set for Lower Primary School Students. Specialusis Ugdymas, 2(43), 3062-3067.
Yeh, Y. F., Hsu, Y. S., Chuang, F. T., & Hwang, F. K. (2014). Middle-school students' online information problem solving behaviors on the information retrieval interface. Australasian Journal of Educational Technology, 30(2), 245-260.
Yurayat, P., & Seechaliao, T. (2021). Effectiveness of online positive psychology intervention on psychological well-being among undergraduate students. Journal of Education and Learning, 10(4), 143-155.
Yustina, Y., Syafii, W., & Vebrianto, R. (2020). The Effects of Blended Learning and Project-Based Learning on Pre-Service Biology Teachers’ Creative Thinking through Online Learning in the Covid-19 Pandemic. Jurnal Pendidikan IPA Indonesia, 9(3), 408-420.
Zhou, J., & Troyanskaya, O. G. (2015). Predicting effects of noncoding variants with deep learning–based sequence model. Nature methods, 12(10), 931-934.