ISSN: 1906-117X

วารสาร

ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน รายวิชาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป รายวิชา คุณค่าของความสุข

Students' opinions on teaching and learning arrangements General Education Courses The Value of Happiness
ขอบเขต: การบริหารการศึกษา

จิรัฐ ชวนชม

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

บุญญลักษณ์ ตำนานจิตร

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

วรัตต์ อินทสระ

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป รายวิชา คุณค่าของความสุข และ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป รายวิชา คุณค่าของความสุขให้ดีขึ้น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป รายวิชา คุณค่าของความสุข มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวน 222 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม จำนวน 4 ด้าน ประกอบไปด้วย ด้านวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน ด้านคุณลักษณะของผู้สอน ผลการศึกษา พบว่า ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชาหมวดวิชาศึกษาทั่วไปรายวิชาคุณค่าของความสุขในภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายด้าน ด้านคุณลักษณะของผู้สอน เป็นอันดับแรก อันดับรองมา คือด้านวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน มาอันดับสุดท้าย โดยทั้งสี่ด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน สำหรับแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ควรมีการนำผู้เรียนไปทัศนศึกษาหอศิลป์ที่ต่าง ๆ หรืองานแสดง เพื่อเพิ่มประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพิ่มขึ้น การวางโครงสร้างการทำงานกลุ่มและการสลับหมุนเวียนกันทุกครั้ง ต้องมีการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลการรู้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับผู้เรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้มีความเข้าใจผู้เรียนมากขึ้น

Abstract

Research article aims to study students' opinions on the teaching and learning of general education subjects. Courses The value of happiness and to find ways to improve the teaching and learning of general education subjects. Courses The value of happiness is improved. The sample was students enrolled in general education courses. Courses The value of happiness Suan Dusit University 222 people The tool used in the study was a questionnaire. There are 4 aspects: objectives of teaching and learning, organization of teaching activities. Teaching and Learning Assessment Instructor Characteristics The study's findings reveal that students' opinions regarding the management of teaching and learning in general education subjects, specifically those related to the value of happiness, are generally quite favorable. When considering the various aspects, the characteristics of the teachers are of primary, Secondly, the aspect of learning objectives, and lastly, the aspect of assessment and evaluation of teaching and learning, with all four aspects being at a high level. As for the development guidelines for teaching and learning management, it is recommended to implement an integrated, student-centered teaching approach that aligns with the students' needs. It is advisable to take students on field trips to various art museums or exhibitions to enhance their learning experiences. The establishment of group work structures and regular rotation is necessary. Getting to know students individually and having essential information about them is crucial in improving the understanding of the students.

คำสำคัญ

วิชาศึกษาทั่วไป, ความคิดเห็น, การจัดการเรียนการสอน, คุณค่าของความสุข

Keywords

general education, opinion, teaching, the value of happiness

เอกสารอ้างอิง

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พิมพฤทธิ์ เที่ยงภักดิ์. (2561). การประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตร บัณฑิตวิชาชีพครูวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 8(ฉบับพิเศษ), 181-189.
พระมหาอัมราช อมรเสวี. (2561). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนของครูและนักเรียนสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม กรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 5(3), 199-209
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. (2564). หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป. กรุงเทพฯ. ศูนย์บริการสื่อและสิ่งพิมพ์ กราฟฟิคไซท์.
รัศมี ศรีนนท์และคณะ. (2561). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(2), 331 – 343.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2559). สกอ.พัฒนานักศึกษาสู่ Thailand 4.0. อนุสารอุดมศึกษา, 43, 462: 10-13.
อรทัย รุ่งวชิรา เศวตาภรณ์ตั้งวันเจริญ และ กาญจนา เกียรติกานนท. (2564). การจัดการเรียนนรู้ในโลกยุคใหม่เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะคนยุคใหม่. วารสารครุทรรศน์, 1(1), 96-101.
อรนุช ลิมตศิริ. (2560). การศึกษานอกห้องเรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 1643-1658.
วิฆเนศวร ทะกองและคณะ. (2562). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 2(1), 14-31.
Athman,J and Monroe, M.C. (2015). Enhancing Natural Resource Programs with Field Trips. from
http://edis.ifas.ufl.edu/fr135.
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. 2nd Edition, New York, Harper and Row.