ISSN: 1906-117X

วารสาร

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักศึกษาสาขาปฐมวัยชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Cooperative Learning Activities Pertaining to Suffciency Economy to Develop Critical Thinking Skill for Third Year Students of Early Childhood Education Program in Faculty of Education Bansomdejchaopraya Rajabhat University
ขอบเขต: สังคมศาสตร์เพื่อการศึกษา

ญาณิกา สกุลกลจักร

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดวิเคราะห์ของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ชั้นปีที่ 3 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 หมู่เรียน คือหมู่เรียน D1 รวมทั้งสิ้น 23 คน ได้มาจากการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ 3) แบบสำรวจความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แบบแผนการวิจัยที่ใช้เป็นแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังก่อนการทดลอง (one group of pretest-posttest design) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test for Dependent) ผลการวิจัยพบว่า หลังจากนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 1)นักศึกษามีความคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้าน คือ ด้านความสำคัญ ด้านความสัมพันธ์ ด้านหลักการ 2)นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( x ̅=4.32, S.D.=0.52)

Abstract

The purposes of this research were to examine and compare the critical thinking of students in the Early Childhood Education program before and after receiving cooperative learning activities based on the philosophy of sufficiency economy, as well as to investigate student satisfaction with cooperative learning activities based on the philosophy of sufficiency economy. The samples used in this research were the third-year students from the Early Childhood Education Program, Faculty of Education, Bansomdejchaopraya Rajabhat University, in the first semester of the academic year 2022. One study group of students, which was group D1, in total of 23 people, was randomly selected by cluster random sampling. The instruments employed in the research were: 1) a cooperative learning activity plan according to the philosophy of sufficiency economy; 2) an critical thinking test; and 3) a satisfaction survey towards the management of cooperative learning activities based on the sufficiency economy philosophy. The study used a single-group experimental design to collect data before and after the experiment (one pretest-posttest group). The statistics used to analyze the data were mean scores, standard deviations, and a dependent t-test. The research findings revealed that After the students of the Early Childhood Education Program were taught cooperative learning activities based on the philosophy of sufficiency economy, 1) The students showed higher critical thinking at the.01 level in all areas, including importance, relationships, and principles; 2) The students were satisfied with the cooperative learning activities based on the philosophy of sufficiency economy. It was at a high satisfactory level (x ̅= 4.32, S.D. = 0.52).

คำสำคัญ

ความคิดวิเคราะห์, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Keywords

Critical thinking, cooperative learning, philosophy of sufficiency economy

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ. (2545). การสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของเด็กไทยด้าน
ทักษะการคิด. กรุงเทพฯ : การศาสนา.
ขวัญฤดี บุญแก้วสุข. (2555). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา).
จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2542). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารเศรษฐกิจและสังคม,
42 (1),5-6
ณรงค์วัฒน์ มิ่งมิตร. (2553) ประสิทธิผลของสถานศึกษาที่ดำเนินการตามโครงการจัดการเรียนการ
สอนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา).
ทิศนา แขมมณี. (2554). การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด, วารสารครุศาสตร์, 1,15-16
บุษบา แสนล้ำ. (2555). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีสอนแบบอุปนัย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา).
ปานรวี ยงยุทธวิชัย. (2552). นวัตกรรมการศึกษาชุด การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์.
กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมและพัฒนาการอ่านการเขียนแห่งประเทศไทย
พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงอะไร. กรุงเทพฯ : สถาบันไทยพิพัฒน์
วิลาวัลย์ มาคุ้ม. (2553). การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking). วิทยาจารย์. 6(12), 36-37
อัยรดา เรืองฤทธิ์. (2549). การพัฒนาการคิดเชิงวิเคราะห์ของเยาวชน (วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา).