ISSN: 1906-117X

วารสาร

การพัฒนาตัวบ่งชี้การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาด้วยเทคนิคโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

Development of indicators of student’s self-directed learning technique with the confirmatory factor analysis model
ขอบเขต: การวัดและประเมินผลการศึกษา

เพ็ญพร ทองคำสุก

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

การพัฒนาตัวบ่งชี้การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาด้วยเทคนิคโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์1) เพื่อสร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้การเรียนรู้ด้วยตนเอง และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นตัวบ่งชี้การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 380 คน และมีวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามลักษณะคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ชนิด 5 ระดับ โดยหาค่าสถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิง คือ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ซึ่งผลการวิจัย พบว่า 1. การเรียนรู้ด้วยตนเอง มีค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.88 มีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการวัดเท่ากับ 0.22 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเท่ากับ 3.92 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54 มีค่าความเบ้เท่ากับ -0.25 และมีค่าความโด่งเท่ากับ -0.12 2. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวบ่งชี้การเรียนรู้ด้วยตนเองและปัจจัยหลัก 8 องค์ประกอบ มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าอยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 0.58 3. ตัวบ่งชี้การเรียนรู้ด้วยตนเองและปัจจัยหลัก 8 องค์ประกอบ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ตามเงื่อนไข/ระดับการยอมรับ

Abstract

The research on the Development of indicators of student’s self-directed learning technique with the confirmatory factor analysis model. aimed to 1) create and develop student self-directed learning indicators and 2) examine the consistency between the linear structural relationship model of student’s self-directed learning indicators developed by the researcher and the empirical data using the confirmatory factor analysis model. The sample group used in this research was 380 undergraduate students studying at Bansomdejchaopraya Rajabhat University during the first semester of the academic year 2022. A stratified random sampling method was also applied. The research equipment consisted of a questionnaire with 2 parts including the student status information and a questionnaire measuring self-directed learning with a 5-level estimation scale. The collected data were analyzed using descriptive and reference statistics were Pearson correlation coefficient analysis and Confirmatory factor analysis. The research results revealed as follows: 1. The reliability value of self-directed learning was 0.88; the standard error was 0.22; the mean was 3.92; the standard deviation was 0.54; the skewness was -0.25; and the kurtosis was -0.12. 2. The correlation coefficient between the self-directed learning indicators and the 8 main factors was positive with a statistically significant level of 0.01, ranging from 0.20 to 0.58. 3. The self-directed learning indicators and the 8 key factors were consistent with the empirical data according to the condition/acceptance level.

คำสำคัญ

การพัฒนาตัวบ่งชี้, เรียนรู้ด้วยตนเอง, วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

Keywords

Development, Self-directed learning, Confirmatory factor analysis

เอกสารอ้างอิง

Enriquez, Juan. (2001). As the Future Catches You. New York: Tuttle-Mori.
Posner, M. I. (1993, October 29). Seeing the mind. Science, 262, 673 –674.
กมลรัตน์ โยธานันต์. (2562). วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 10, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2562), หน้า 30-43.
ชำนาญ ปาณาวงษ์. (2563). ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ : จากแนวคิดทฤษฎีสู่การปฏิบัติติ. พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร์
ณัฐวรา จันทร์เอี่ยม. (2562). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่ 11, ฉบับที่ 22 (ก.ค.-ธ.ค. 2562), หน้า 45-56.
ณัฐวรา จันทร์เอี่ยม. (2562). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่ 11, ฉบับที่ 22 (ก.ค.-ธ.ค. 2562), หน้า 45-56.
นพมาศ ปลัดกอง, ปิยดา สมบัติวัฒนา, นริสรา พึ่งโพธิ์สภ. (2562). การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของผู้เรียนในระบบการศึกษาทางไกล โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคนั่งร้านเสริมเรียนรู้.ปริญญานิพนธ์ (ปร.ด. (จิตวิทยาประยุกต์)) : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นพมาศ ปลัดกอง, ปิยดา สมบัติวัฒนา., & นริสรา พึ่งโพธิ์สภ. (2562). การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของผู้เรียนในระบบการศึกษาทางไกล โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคนั่งร้านเสริมเรียนรู้.ปริญญานิพนธ์ (ปร.ด. (จิตวิทยาประยุกต์)) : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ยะยา ยุทธิปูน, & มารุต พัฒผล. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความเชื่อมั่นในการสื่อสารภาษาอังกฤษและทักษะชีวิต สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น.ปริญญานิพนธ์ (ปร.ด.(การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร)) : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา. (2562). พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 . กองกฎหมายการศึกษาและวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา. (2562). พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๖๒. เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๕๗ ก.
สินธะวา คามดิษฐ์. (2556). ระเบียบวิธีการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.