ISSN: 1906-117X

วารสาร

การพัฒนาเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบกว้างขวาง ในการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

THE DEVELOPMENT OF AUGMENTED REALITY INTREGRATED WITH EXTENSIVE READING INSTRUCTION TO ENHANCE ENGLISH READING COMPREHENSION ABILITY FOR MATTHAYOMSUKSA 3
ขอบเขต: เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

ปราณปริยา ชัยสวัสดิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วาปี คงอินทร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบกว้างขวาง เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาพัฒนาการสัมพัทธ์ความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี จำนวน 36 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ได้มาด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกหัด และแบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบกว้างขวางมีประสิทธิภาพ 80.90/80.63 ตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด 2) ความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2หลังเรียนโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบกว้างขวางสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 หลังเรียนโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบกว้างขวางเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับร้อยละ 53.98 ซึ่งอยู่ในระดับสูง

Abstract

The purpose of this research were 1) to examine the effectiveness of augmented reality integrated with extensive reading instruction to enhance English reading comprehension ability for Matthayomsuksa 3 students 2) to compare English reading comprehension ability between before and after learning through augmented reality integrated with extensive reading instruction and 3) to study relative development score of English reading comprehension ability after learning using augmented reality integrated with extensive reading instruction. The sample included 36 students studying in Matthayomsuksa 3 at Surasakmontree school during the first semester of the academic year 2022 selected by classroom unit-based simple random sampling. The research instruments were lesson plans, exercises and English reading comprehension pretest and posttest. Data were analyzed by percentage, MEAN, standard deviation, paired t-test for dependent samples and relative development score. The findings of this research revealed the following. 1) The effective of augmented reality integrated with extensive reading instruction to enhance English reading comprehension ability for Matthayomsuksa 3 students measured 80.90/80.63, which was consistent with the criteria 80/80. 2) English reading comprehension ability after using augmented reality integrated with extensive reading instruction was significantly higher at the .05 level. 3) The samples’ relative development scores after learning through augmented reality integrated with extensive reading instruction measured averagely 53.98% which was at high level

คำสำคัญ

เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม, การสอนอ่านแบบกว้างขวาง, การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ

Keywords

Augmented Reality, Extensive Reading, Reading Comprehension

เอกสารอ้างอิง

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
จิราภรณ์ ปกรณ์. (2561). เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความจริง. http://www.scimath.org/
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการดำเนินงานการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ดิษลดา เพชรเกลี้ยง, ศุภณัฐ พานา และวุฒิชัย บุญพุก. (2565). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, วารสารครุศาสตรสาร, 16 (1), 214-225.
ปณพักตร์ พงษ์พุทธรักษ์, กรองทิพย์ นาควิเชตร, สงวนพงษ์ ชวนชม เเละอลงกต ยะไวทย์ (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนการสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง, วารสารชุมชนวิจัย, 13(1), 214-227.
พรสวรรค์ สีป้อ. (2550). สุดยอดวิธีสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ Herzberg, F. et al. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons.
วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2554). การเรียนรู้ด้วยการสร้างโลกเสมือนผสานโลกจริง. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13(2), 119-127.
สงวนพงศ์ ชวนชม, อำนาจ อยู่คำ และสำเริง บุญเรืองรัตน์. (2562). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการคณะวิชาสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิจัยและการพัฒนาหลักสูตร มศว, 19(2), 107-119.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552) ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการดำเนินงานการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อมฤตา โอมณี และนิสากร จารุมณี. (2558, 10 มิถุนายน). ความพึงพอใจต่อการใช้วิธีการอ่านแบบกว้างขวางผ่านกิจกรรมแบบดั้งเดิมและออนไลน์ในการพัฒนาทัศนคติและนิสัยการอ่านภาษาอังกฤษ. [บทความนำเสนอ] การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 25: เรื่อง “วิจัยไทย เพื่ออนาคต”, สงขลา, ประเทศไทย.
อลงกต ยะไวทย์ และ ณัฐวัฒม์ วงษ์ชวลิตกุล. (2562). การพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยการสร้างสภาวะ
แวดล้อมการเรียนด้วยการทำงานในสภาพจริง. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
Arikunto, S. (1986). Dasar-Dasar Evaluasi Pendidikan. Jakarta: Bumi Aksara.
P. Chen, X. Liu, W. Cheng, and R. Huang. (2017) A review of using Augmented Reality in Education from 2011 to 2016. Innovations in Smart Learning. Singapore: Springer Singapore.
Cheng, K.-H. (2018). Surveying Students’ Conceptions of Learning Science by Augmented Reality and their Scientific Epistemic Beliefs. Eurasia Journal of Mathematics, Science and Technology Education, 14(4), 1147-1159.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis (Vol. 6). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.
Hartati, N., & Yogi, H. P. S. (2019). Item Analysis for a Better Quality Test. English Language in Focus (ELIF), 2(1), 59–70.
Kline, R. B. (2005). Principles and practice of structural equation modeling. (2nd ed). New York, NY: Guilford Press.
Nuttall, C. (1996). Teaching reading skills in a foreign language. (2nd ed.) Oxford: Heinemann.