ISSN: 1906-117X

วารสาร

การบริหารงานวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนประถมศึกษา

Academic administration to strengthen environmentally friendly citizenship for elementary school students.
ขอบเขต: การบริหารการศึกษา

กัญญภัทสิทณี เพชรรัตน์

มหาวิทยาลัยเกริก

กฤษดา ผ่องพิทยา

มหาวิทยาลัยเกริก

พนัส จันทร์ศรีทอง

มหาวิทยาลัยเกริก

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ การบริหารงานวิชาการ เป็นการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ดำเนินการจัดทำหลักสูตร กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร นำหลักสูตรไปใช้ และการวัดและประเมินผลหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน โดยกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การวัดและประเมินผล มีการออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลาย การนำผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาปรับปรุงการเรียนการสอน และการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ ดำเนินการสำรวจ วิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการสื่อและแหล่งเรียนรู้ การจัดทำและจัดหาสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ การใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ตลอดจนการพัฒนาสื่อ แบบเรียน และแหล่งเรียน ดังนั้นการจะพัฒนาพลเมืองของประเทศให้เป็นพลเมืองที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อมนั้นจำเป็นต้องอาศัยการบริหารงานวิชาการภายในโรงเรียน มีการดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อพัฒนาพลเมืองที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพ มีความรู้ มีความสามารถ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเชื่อมโยง มีความเป็นห่วงเป็นใยและเอื้ออาทรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงกระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์และเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของผู้เรียนหรือตัวเยาวชนเอง ซึ่งแนวคิดความเป็นพลเมืองที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมในชุมชน มีทักษะในการบ่งชี้สาเหตุ การป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนและสังคมเมื่อมีโอกาส มีความกังวลถึงผลกระทบที่เกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชน มีพฤติกรรมและการใช้ชีวิตประจำวันที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ มีค่านิยมที่ถูกต้องเหมาะสมในการปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อม

Abstract

Abstract Academic Administration is the management that deals with the development of the curriculum of the educational institution. Conduct a course preparation. Determine the aims of the course. Implement curriculum and measure and evaluate curriculum. Teaching and learning by defining learning objectives, organizing learning activities. Measuring and evaluating learning activities Organizing student development activities Measurement and Evaluation Learning outcomes are designed, measured and evaluated. Use of a variety of measurement and evaluation instruments Using academic achievement to improve teaching and learning, and using materials and learning resources, conducting surveys and analyzing problem conditions. The need for media and learning resources Preparation and provision of teaching materials and learning resources Therefore, to develop a country's citizens into environmentally friendly citizens requires academic administration within the school. There is a group of individuals working to develop quality environmentally friendly citizens. Knowledgeable, capable, capable of critical thinking and linkage. They are concerned about the environment and encourage critical thinking and are linked to the lifestyle of the learner or the youth themselves. The concept of environmentally friendly citizenship consists of: Knowledge and understanding of the community and the environment in the community. Skilled in identifying causes Preventing and solving environmental problems Participate in community and social activities when the opportunity arises. There are concerns about the impact of the community's environmental problems. Have environmentally friendly behaviors and daily life and have the right values to treat the environment.

คำสำคัญ

คำสำคัญ : การบริหารงานวิชาการ, พลเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Keywords

Keywords: academic administration, environmentally friendly citizenship

เอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2559). คู่มือแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แนวทางการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ
วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). การถอดบทเรียนเพื่อการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
European Network for Environmental Citizenship. (2018). New thinking in environmental citizenship. Retrieved 2021, 19 June http://enec-cost.eu/.
Gunningham, N. (2002). Leaders and Laggards: Next Generation Environmental Regulation. Canberra: Greenleaf Publishing.
Hawthorne, M., & Alabaster, T. (1999). Citizen 2000: development of a model of environmental citizenship. Global Environmental Change, 9, 25-43.
Subahan, T, & et al. (2010). Environmental citizenship: What level of knowledge, attitude, skill, and participation the students own?. Procedia Social and Behavioral Sciences, 2(2010), 5715 - 5719.