ISSN: 1906-117X

วารสาร

การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรมโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิค SQ4R

Development of English Reading Comprehension Skills of Grade 11 Students at Wat Pradoonaisongtham School through Active Learning Approach Integrated with SQ4R technique
ขอบเขต: ภาษาและการสื่อสารเพื่อการศึกษา

วาปี คงอินทร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผกาวรรณ ปราบมาก

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

การวิจัยก่อนการทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิค SQ4R และ 2) ศึกษาพัฒนาการสัมพัทธ์ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม หลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิค SQ4R กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิค SQ4R และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจเป็นแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกันและการวิเคราะห์คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ สรุปผลการวิจัย ได้ดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่างมีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิค SQ4R สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิค SQ4R เฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับร้อยละ 59.72 ซึ่งอยู่ในระดับสูง

Abstract

The purposes of this pre-experimental research were 1) to compare English reading comprehension skills between before and after learning through active learning approach integrated with SQ4R technique and 2) to examine relative development of English reading comprehension skills of high school students at Wat Pradoonaisongtham School after learning through active learning approach integrated with SQ4R technique. The samples included 30 Matthayomsuksa 5/2 students in the 2nd semester of academic year 2022 from Wat Pradoonaisongtham School obtained by classroom unit-based cluster random sampling. Experimental instrument involved 4 lesson plans based on active learning approach integrated with SQ4R technique and data were collected using pretest and posttest, and were statistically analyzed by percentage, MEAN, standard deviation, paired sample t-test, and relative development scores. The findings revealed the following. 1) The samples’ English reading comprehension skills after learning through active learning approach integrated with SQ4R technique were significantly higher at .05 level. 2) The samples’ relative development scores after learning through active learning approach integrated with SQ4R technique measured averagely 59.72%, which was at high level.

คำสำคัญ

การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, เทคนิค SQ4R

Keywords

English Reading Comprehension, Active Learning Approach, SQ4R Technique

เอกสารอ้างอิง

จีราภรณ์ ขำมณี. (2562). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความและการเขียน
สรุปความด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 4-6 (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). มหาสารคาม. มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/yvWim
ตะวัน รุ่งแสง และ เมษา นวลศรี. (2564). การพัฒนาความความสามารถในการคิด
แก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ
สตอรี่ไลน์ เรื่อง ระบบนิเวศ. Journal of Roi Kaensarn Academi. ปีที่ 6
ฉบับที่ 7. (กรกฎาคม 2564): 47-61.
ประไพ เอกอุ่น. (2542). การศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สถาบันราชภัฏ
สวนสุนันทา.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ.2545. (14 สิงหาคม 2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 2 ตอนที่ 4,
หน้า 13-17.
รัตนภัณฑ์ เลิศคำฟู. (2547). การใช้วิธีการสอนแบบเอสคิวโฟร์อาร์ ในการสอนอ่าน
จับใจความสำคัญสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่/เชียงใหม่. DOI: https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?
Resolve_DOI=10.14457/ CMU.the.2004.466
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 6).
กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุทัศน์ ภูมิภาค. (2562). ภาษาอังกฤษกับสังคมไทยในปัจจุบัน. สืบค้น 20
พฤศจิกายน 2565, จาก https://rb.gy/3jbpyj
สุนทร อุตมหาราช. (2547). “การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านและความสนใจใน
การเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอน
โดยวิธีสอนแบบ SQ4R กับการสอนตามคู่มือครู.” วิทยานิพนธ์ปริญญา
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2545). เทคนิควิจัยด้านการอ่าน. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุพัตรา มูลละออง. (2558). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ
โดยใช้การอ่านกลวิธี แบบร่วมมือและเทคนิคแผนผังกราฟิก สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสระยาย โสมวิทยา อำเภออู่ทอง จังหวัด
สุพรรณบุรี. วารสารวิชาการ, 8(2). สืบค้นจาก https://rb.gy/qgd51b
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ครู
แนวทางการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อดิศยา ปรางทอง. (2560). การพัฒนากิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความ
เข้าใจโดยใช้เทคนิค SQ4R เรื่อง ปัญหาวัยรุ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก. มหาวิทยาลัย
นเรศวร. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/tWoLJ
Arikunto, S. (1986). Dasar-Dasar Evaluasi Pendidikan. Jakarta:
Bumi Aksara.
Brookfield, S.D. (2005). Discussion as the way of teaching: Tools and
techniques for democratic classrooms (2nded). San Francisco:
Jossey-Bass.
Drake, S. M. (2000). Integrated curriculum: A chapter in the Curriculum
Handbook. Alexandria, VA: ASCD.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006).
Multivariate data analysis (Vol. 6). Upper Saddle River, NJ: Pearson
Prentice Hall.
Hartati, N., & Yogi, H. P. S. (2019). Item Analysis for a Better Quality Test.
English Language in Focus (ELIF), 2(1), 59–70.
Kline, R. B. (2005). Principles and practice of structural equation
modeling (2nd ed.). New York, NY: Guilford Press.
Lindlof, T.R., & Taylor, B.C. (2002). Qualitative Communication Research
Methods, 2nd Edition. Thousand Oaks, CA: Sage.
Meyers, C., & Jones, T. B. (1993). Promoting Active Learning: Strategies for
the College Classroom. San Francisco, CA: Jossey-Bass Inc.
Nachmais, C. F. & Nachmais, D. (2008). Research methods in the Social
Sciences: Seventh Edition. New York, NY: Worth Publishers.
Robinson, F. P. (1961). Effective study. New York: Harper & Brothers.