ISSN: 1906-117X

วารสาร

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Effect of Learning Activities According to Flipped Classroom Approach on Mathematics Achievement of Matthayom Suksa 3 Students
ขอบเขต: คณิตศาสตร์เพื่อการศึกษา

สำรวย หาญห้าว

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านกับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) จากทั้งหมด 8 ห้องได้กลุ่มตัวอย่าง 2 ห้องละๆ 35 คน โดยห้องที่ 1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ห้องที่ 2 จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน และ แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าที ( t- test ) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน หลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.24)

Abstract

The objectives of this research were to 1) compare the mathematics learning achievement on the graph of a quadratic function before and after participating in flipped classroom activities, 2) compare the mathematics learning achievement on the graph of quadratic functions before and after participating in traditional learning activities, 3) compare the mathematics learning achievement of the group participating in the flipped classroom activities on the graph of quadratic functions with the group participating in the traditional learning activities, and 4) measure the students’ satisfaction with the flipped classroom activities. The sample population consisted of Matthayom Sueksa 3 students at the Demonstration School of Ramkhamhaeng University (Secondary Level) during the first semester of the academic year 2021. The samples were obtained by cluster random sampling from a total of eight classrooms, giving two sample rooms – one for experimental group and the other one for control group, with 35 students each. The experimental group participated in flipped classroom activities and the latter participated in traditional learning activities. The research instruments consisted of (1) flipped classroom lesson plans and traditional lesson plans, (2) an achievement test, and (3) a questionnaire to measure their satisfaction with the flipped classroom activities. Data were analyzed using descriptive statistics (mean scores and standard deviations), as well as inferential statistics (t-test). The results were as follows: 1) Mathematics learning achievement on graphs of quadratic functions of students participating in flipped classroom activities was higher with the statistical significance level of .05 2) Mathematics learning achievement on graphs of quadratic functions of students participating in traditional learning activities was higher with the statistical significance level of .05 3) Mathematics learning achievement on graphs of quadratic functions of students participating in flipped classroom activities was higher than students participating in traditional learning activities with the statistical significance level of .05 4) The students expressed a high level of satisfaction with the flipped classroom activities ( = 4.24)

คำสำคัญ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ , ห้องเรียนกลับด้าน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Keywords

learning activities, flipped classroom, mathematics achievement

เอกสารอ้างอิง

จันทิมา ปัทมธรรมกุล. (2555). ทำความรู้จักFlipped classrom. สืบค้นจาก
http://www2.li.kmutt.ac.th/thai/article/gettingtoknow.html.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 . เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่.
ภมรเมษย์ เลาหวิรุฬห์กุล. (2561). ผลการจัดกิจกรรมการการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ
การเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถ
ในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.วารสาร
สังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,18(2),1-11
ยุภาพร ด้วงโต้ด. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 3. วารสาร Veridian E Journal ฯ สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และ
ศิลปะ, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(2) , 341-357
วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ:
มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้
แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)ตาม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด .
สุกัลยา นิลกระยา. (2557). การพัฒนาสื่อการสอนมัลติมีเดียบนเครือข่ายไร้สาย
m-learning เรื่อง ตรรกศาสตร์ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบห้องเรียน
กลับด้านเพื่อส่งเสริมการนำตนเอง. วิทยานิพนธ์ . กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). ห้องเรียกลับด้าน : ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21 . สืบค้น
จาก http://phd.mbuisc.ac.th/academic/flippedped%
20classroom2.pdf.
สุภาพร สุดบนิด. (2557). เปรียบเทียบความรับผิดชอบต่อการเรียน เจตคติต่อการ
เรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทาง และ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ. (วิทยานิพนธ์กศ.ม. (วิจัยและประเมินผล
การศึกษา)). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
หลุย จำปาเทศ. (2533). จิตวิทยาการจูงใจ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สามัคคีสาส์น.
อรุณี วิริยะจิตรา และคณะ. (2555) .เหลียวหลังแลหน้าการสอนภาษาอังกฤษ.
กรุงเทพฯ: หน้าต่างสู่โลกกว้าง
อุบลวรรณ ปัญนะ. (2557). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับทาง ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทาง
คณิตศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. มหาวิทยาลัยราชภัฎ
เชียงราย,10(2),218-233.
Feledichuk, D. and Wong, A. (2015). The Impact of a Flipped Classroom on
International Student Achievement in an Undergraduate
Economics Course, University of Alberta – Edmonton.
Johnson, G.B. (2013). Student Perception of flipped classroom. Master of
art, Columbia University of British. pp. 214 – 218.
Shelly, M. W. (1975). Responding to social change. Stroudsburg,
PA:Dowden Hutchision & Press.