ISSN: 1906-117X

วารสาร

การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดลำปาง โดยใช้รูปแบบการสอนการอ่าน MIA

The Development of English Reading Skill of Primary Students in Lampang Province by Using MIA Teaching Reading Model
ขอบเขต: หลักสูตรการสอน

พงศ์ทวี ทัศวา

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

ธนาพันธุ์ ณ เชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดลำปางหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนอ่านแบบ MIA โดยตั้งสมมติฐานในงานวิจัยว่าผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนอ่านแบบ MIA ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดลำปาง จำนวน 10 โรงเรียน ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนอ่าน MIA จำนวน 6 แผน 2) แบบทดสอบการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดลำปาง จำนวน 10 โรงเรียน มีคะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ผู้วิจัยได้ตั้งไว้

Abstract

The purpose of this research was to develop English reading skill of the primary students in Lampang province after learning by using MIA teaching reading model. The hypothesis of the research is English reading achievement of the learners has to meet the criteria (60 percent) after learning by using MIA teaching reading model. The sample group is the primary students in Lampang province from 10 schools. The study was conducted in the first semester of academic year 2020.The research instruments are 1) 6 MIA lesson plans and 2) English reading comprehension test. The statistics used in data analysis were Percentage, Mean, Standard deviation. The result of the study found that: English reading achievement of the primary students from 10 schools in Lampang is more than 60 percent, which met the research hypothesis set by the researcher.

คำสำคัญ

รูปแบบการสอนอ่านแบบ MIA (Murdoch Integrated Approach), ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ, นักเรียน

Keywords

Murdoch Integrated Approach teaching reading model, English reading skill, Students

เอกสารอ้างอิง

จุฑาภรณ์ ภารพบ. (2564). การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้
ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา.
มหาสารคาม: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคศาสตร์.
นราธิป เอกสินธุ์. (2557). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความ
เข้าใจภาษาอังกฤษ โดยใช้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นสำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวการสอนอ่านของเมอร์ด็อค (MIA).
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
ปิยวรรณ ลอดทอง. (2556). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา.
สืบค้นจาก http://data.bopp-bec.info/emis/ news/
news_view _school.php?ID_New= 1936&school_
ID=1032650393.
พัทธรพี โสดาจันทร์และคณะ. (2555). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษา
อังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้
CIPPA MODEL ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ.
มหาสารคาม: วารสารการบริหารและพัฒนา มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.
พิมพร พยุหะ. (2557). การใช้การอ่านแบบจิ๊กซอว์ เพื่อส่งเสริมความ
สามารถในการอ่าน การเขียนสรุปความภาษาอังกฤษ และทักษะ
ทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. เชียงใหม่: บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตรการสอน. กรงเทพมหานคร: สำนัก
พิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์แห่งมหาวิทยาลัย.
รพีพร สร้อยน้ำ. (2563). ความต้องการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
ในการเรียนภาษาอังกฤษ เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ สำหรับการ
ประกอบอาชีพในประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน. (วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยอุดรธานี).
รสา แก่นสูงเนิน. (2558). การพัฒนาการเรียนการสอน e Learning วิชา
ภาษาอังกฤษ เพื่อการท่องเที่ยวตามแนวการสอนการอ่านแบบ
บูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์ จังหวัดสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
ศราวุฒิ เวียงอินทร์และคณะ. (2560). การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษ
เพื่อความเข้าใจด้วยเนื้อหาตามบริบทท้องถิ่น โดยใช้การเรียนรู้
แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.
มหาสารคาม: เอกสารการ ประชุมวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาครั้ง
ที่ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สนอง อินละคร. (2544). เทคนิควิธีการและนวัตกรรมที่ใช้จัดกิจกรรมการ
เรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง. (ม.ป.พ.)
สุจิตรา สารการ (2558). การเปรียบเทียบวิธีการสอนแบบแลกเปลี่ยน
บทบาทระหว่างผู้สอนกับนักเรียน และวิธีการสอนอ่านแบบ MIA ใน
การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหา
บัณฑิต, มหาวิทยาลัยสารคาม).
สุดารัตน์ ทองเภ้า. (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษา
อังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,
สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษสำหรับผู้พูดภาษาอื่น มหาวิทยาลัย
ราชภัฏอุดรธานี).
สุนีย์ สันหมุด. (2552). “ปัญหาด้านการอ่าน”. สืบค้นวันที่ 28 สิงหาคม
2554. จาก http://www.gotoknow.org/สุพัตรา มูลละออง.
(2558). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดย
ใช้การอ่านกลวิธีแบบร่วมมือและเทคนิคแผนผังกราฟิก สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนสระยายโสมวิทยา อ าเภออู่
ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. นครปฐม: Veridian E-Journal,
Silpakorn University.
อำภา วิฬุวัน. (2558). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความ
เข้าใจด้วยวิธีการสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยสารคาม).
อุชุพร บถพิบูลย์. (2550). ผลของวิธีการสอนแบบ MIA ที่มีต่อความ
สามารถในการสังเกตและพฤติกรรมในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล
จังหวัดปัตตานี. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
ทักษิณ).