ISSN: 1906-117X

วารสาร

การศึกษาภาวะผู้นำแบบ Disruptive Leadership ของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

A Study of Disruptive Leadership of School Administrators in the Eastern Economic Corridor (EEC)
ขอบเขต: การบริหารการศึกษา

พลธาวิน วัชรทรธำรงค์

โรงเรียนอนุบาลบางละมุง สพป.ชลบุรี เขต 3

ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์

มหาวิทยาลัยบูรพา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำแบบ Disruptive Leadership ของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำแบบ Disruptive Leadership ของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน และ 3) ศึกษาแนวทางการศึกษาพัฒนาภาวะผู้นำแบบ Disruptive Leadership ของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 512 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 256 คน และครูวิชาการ จำนวน 256 คน ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Independent samples ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำแบบ Disruptive Leadership ของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยรวม อยู่ในระดับมาก (x ̅= 4.15) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน เรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความเป็นผู้นำดิจิทัล (x ̅= 4.38) ด้านความคิดสร้างสรรค์ (x ̅= 4.34) ด้านการมุ่งเน้นนวัตกรรม (x ̅= 4.20) ด้านการจัดการความเสี่ยง (x ̅= 4.19) ด้านกลยุทธ์ (x ̅= 4.14) ด้านการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง (x ̅= 4.09) ด้านการบูรณาการ (x ̅= 4.07) ด้านเครือข่ายร่วมพัฒนา (x ̅= 4.05) ด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจ (x ̅= 4.03) และอันดับสุดท้าย ได้แก่ ด้านความทุ่มเทในงาน (x ̅= 4.01) ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำแบบ Disruptive Leadership ของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาค ตะวันออก จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบ Disruptive Leadership ของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษ ตะวันออก ได้แก่ การพัฒนาตนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง การปรับตัวและยอมรับการเปลี่ยนแปลงแบบผันผวนการติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาและการบริหารจัดการ การคิดเชิงกลยุทธ์และสร้างสรรค์ การเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ การฝึกทักษะการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ การเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับบุคลากรในการปฏิบัติงาน และการแสวงหาเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทั้งเครือข่ายกลุ่มบุคคล เครือข่าย ICT และสื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น

Abstract

This research aimed to 1) investigate the disruptive leadership of school administrators in the Eastern Economic Corridor (EEC) 2) compare the disruptive leadership as classified by gender, educational background and work experience and 3) study guidelines for Disruptive leadership development of school administrators in the Eastern Economic Corridor (EEC). The 512 samples consisted of 256 school administrators and 256 teachers in schools under the office of Primary Educational Service Areas in the Eastern Economic Corridor (EEC) which were obtained by proportional stratified random sampling. The tools used in the research was a set of 5-rating scale questionnaires. The statistics used in the data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test for independent Samples. The research findings were as follow : The disruptive leadership of school administrators in schools under the office of Primary Educational Service Areas in the Eastern Economic Corridor (EEC) as a whole was at a high level (x ̅= 4.15) ranking from high to low of mean scores; there were digital leader (x ̅= 4.38) creative thinking (x ̅= 4.34) innovation focus (x ̅= 4.20) risk management (x ̅= 4.19) stratergy (x ̅= 4.14) continuous Learning (x ̅= 4.09) integration (x ̅= 4.07) network (x ̅= 4.05) empowerment (x ̅= 4.03) and commitment (x ̅= 4.01) respectively. 2. Comparison of creative leadership of school administrators as classified by gender, educational background and work experience found that the differences were not statistically significant respectively. 3. Guidelines for disruptive leadership development of school administrators in the Eastern Economic Corridor (EEC), there were continuous learning self development, adapting and accepting disruptive changes, Keeping up with technological advances and innovations, educational innovation development and management, strategic and creative thinking, participating in meetings, training, seminars on innovation and new technologies, practicing decision-making skills in different situations, empowering people in operations, seeking collaborative networks to improve the quality of education both personal, ICT networks and social media, etc.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำแบบ Disruptive, ผู้บริหารสถานศึกษา, เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

Keywords

Disruptive Leadership, School Administrator, Eastern Economic Corridor (EEC)

เอกสารอ้างอิง

จารินี สิกุลจ้อย. (2558). ภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อบรรยากาศของโรงเรียน สังกัดสํานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วารสารวิจัยราชภัฎพระนคร. 10 (1), 45-56.
จีระยุทธ พุทธรักษาพิทักษ์. (2564). จินตนาการใหม่กับการพัฒนาภาวะผู้นำในยุคโลกเปลี่ยน. วารสารวิชาการแสงอีสาน
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน. 18(1); 21-33.
จีราภา ประพันธ์พัฒน์. (2560). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความ คิดเห็นของครู สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศษ.ม.(การบริหารการศึกษา). ปทุมธานี :
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
จุฑาทิพย์ ชนะเคน. (2559). การศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญา ศษ.ม.(การบริหารการศึกษา). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ชัชชญา พีระธรณิศร. (2563). ความท้าทายการจัดการศึกษาในยุค Disruptive Change ของผู้บริหารสถานศึกษา.
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 4(2); 126-139.
ธันตกร ไชยมงคล. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงกับความพึงพอใจ ในการปฏิบัติงานของครู กลุ่ม
โรงเรียนบางละมุง 1 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. งานนิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
นุช สัทธาฉัตรมงคล และอรรถพล ธรรมไพบูลย์. (2559). ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน.
วารสารธุรกิจปริทัศน์. 8(1); 167-182.
ทศพล สุวรรณราช. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี.
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7 (3), 160-177.
ปทุมพร เปียถนอม. (2563). ภาวะผู้นำทางการศึกษายุคการแทนที่ด้วยสิ่งใหม่กับทิศทางการศึกษาไทย. วารสาร
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. 10(3) : 115-123.
ปาริฉัตร นวนทอง (2564). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา
พัทลุง เขต 2. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2550). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เลอศักดิ์ ตามา และสุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบ
ประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วารสาร
รัชต์ภาคย์. 15 (38), 224-240.
สมหมาย โอภาษี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน กับความพึงพอใจในการ
ปฏิบัติงานของครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชา การบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำเร็จ นางสีคุณ. (2565). การพัฒนาตัวบ่งชี้ Disruptive Leadership สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร
ดุษฎีบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Carney, M. (2018). Reflections on Leadership in a Disruptive Age. London: Regent’s University London.
Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.
Creswell, J. W. (2011). Educational Research: Planning, Conducting, and Evaluating Quantitative and
Qualitative Research. New Jersey: Pearson Education International.
Hogan, R., & Hogan, J. (2007). Hogan Personality Inventory manual.Tulsa, OK : Hogan Press.
Kao, R. (2018). Disruptive leadership: Apple and the technology of caring deeply—Nine keys to
organizational excellence and global impact. New York: ProductivityPress.
Khan, R. (2018). Disruptive Leaders. The definitive traits of leaders whoare changing The world around us.
Retrieved from http://www.risingkashmir.com/news/disruptiveleaders-326625.htm
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and
Psychological Measurement. 30(3), 607-610.
Mirkay N. & Palma J. Strand. (2019). Disruptive Leadership in Legal Education.
22 RICH. PUB. INT. L. REV. 365 Available at: https://scholarship.richmond.edu/pilr/vol22/iss3/3.
Promsri, C. (2019). The Developing Model of Digital Leadership for a Successful Digital Transformation.
GPH-International Journal of Business Management, 2(08), 01-08. Retrieved from http://gphjournal.org/index.php/bm/article/view/249
Hogan & Hogan (2008). Leadership and the Fate of Organizations. Psychologist 63(2):96-110
Melvin J. M. (2017). Why Disruptive Leadership Works. ttps://www.researchgate.net/publication/318419290. Warren C. (2013), Disruptive Leadership is not a Solo Act. Insigniam Quarterly Winter 2013.
Timmons, R.A. (2021), Exploring Global Disruptive Leadership in Practice: A Multi-Level Pragmatic
Model.  Indiana Institute of Technology ProQuest Dissertations Publishing, 28720149.