ISSN: 1906-117X

วารสาร

ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการพัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

The leadership of Educational Institution Administrators Effective Organizational Development
ขอบเขต: การบริหารการศึกษา

นิวัฒน์ เจริญศิริ

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

จตุพล ยงศร

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการพัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีความเชื่อว่าผู้นำไม่ได้เป็นมาโดยกำเนิด แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดผู้นำในองค์กรขึ้นมาได้ ซึ่งการเป็นผู้นำสามารถสร้างขึ้นได้จากการที่บุคคลนั้นใช้ความรู้และความสามารถผสมผสานบวกกับความเพียรพยายามจนกลายเป็นที่ยอมรับของคนในองค์กรและยกย่องให้บุคคลผู้นั้นเป็นผู้นำ แต่ทั้งนี้ภายในองค์กรจะมีผู้นำเพียงอย่างเดียวก็คงจะเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีสัมพันธภาพในเรื่องของการใช้อิทธิพลที่มีต่อกันและกันระหว่างผู้นำกับผู้ตามหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่มุ่งหมายให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยสะท้อนถึงวัตถุประสงค์ที่มีร่วมกัน ภาวะผู้นำจึงเกี่ยวข้องกับการใช้อิทธิพล (influence) ที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มบุคคล ซึ่งกลุ่มบุคคลเหล่านั้นมีความตั้งใจที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นผู้นำกับผู้บริหารจึงมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้บริหารเป็นตำแหน่งที่กำหนดขึ้นภายในองค์กร มีอำนาจโดยตำแหน่งและได้รับความคาดหวังในตำแหน่งหน้าที่โดยมุ่งเน้นที่การควบคุมและการตัดสินใจ ส่วนผู้นำจะมีคุณลักษณะของภาวะผู้นำไม่ว่าจะอยู่ ในระดับใดก็ตาม ในขณะที่ผู้นำอาจไม่ได้รับมอบอำนาจทางสายงานแต่อาจมีอำนาจโดยวิธีอื่นและมีบทบาทที่กว้างกว่าบทบาทของผู้บริหาร ซึ่งผู้นำจะเน้นที่กระบวนการกลุ่ม การรวบรวมข้อมูลข่าวสาร การให้ข้อมูลย้อนกลับและการใช้อำนาจกับบุคคลอื่น จึงกล่าวได้ว่าภาวะผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญต่อกระบวนการบริหารนั้นเอง เนื่องจากภาวะผู้นำจะชี้ให้เห็นความสำเร็จของหน่วยงาน การบริหารองค์กรจะดำเนินไปด้วยดีและบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ได้กำหนดไว้มากน้อยเพียงใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับทักษะและศิลปะในการบริหารงานของผู้นำ ดังนั้นผู้นำจำเป็นต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร รวมถึงความสำเร็จของงานในทุก ๆ ภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่จะนำพาองค์กรก้าวไปข้างหน้า และสามารถสร้างความสามัคคีภายในองค์กรให้มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ร่วมกัน ภาวะผู้นำจึงเปรียบเสมือนอาวุธประจำกายของผู้บริหาร และผู้นำที่เป็นนักบริหารมืออาชีพจึงจะสามารถสร้างอำนาจชักนำและมีอิทธิพลเหนือผู้อื่นได้ และสิ่งที่จะเป็นตัวกำหนดหรือชี้วัดภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา คือ ผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพของงาน

Abstract

The purpose of this paper is to introduce the leadership and effective organizational development of educational institution administrators. Currently, there is a belief that leaders are not innate, but there are many factors that can lead to organizational leaders. Leadership can be created by the fact that a person uses a combination of knowledge and abilities combined with perseverance to become accepted by the person in the organization and praised that person as a leader, however, it is impossible to have only one leader in an organization. Therefore, there needs to be a relationship in the matter of exercising influence each other between leaders and followers or subordinates who aim for change, it reflects a shared purpose. Leadership, therefore, involves the use of influence between groups of individuals, they intend to bring about change. Therefore, there is a difference between leaders and executives. In other words, the executive is a position established within an organization, empowered by position and given expectations in a position of duty with a focus on control and decision-making, leaders have the attributes of leadership regardless of their presence at any given level, while leaders may be empowered by other means and have a broader role than the executive role. Leaders focus on group processes, gathering information, providing reverse information, and exercising power over other people. In other words, leadership is an important factor in the executive process itself. Because leadership will point to the agency's success, how well the organization manages and achieves its stated objectives depends on the skills and art of the leader's administration. Therefore, leaders need to have both science and art, which are important factors for the success of an organization, as well as the success of their work in all sectors. In particular, the leadership of the school administrators will lead the organization forward and can build unity within the organization in solidarity toward the goals set together. Leadership is therefore like a physical weapon of executives and leaders who are professional can build power and influence over others. And what will determine or measure the leadership of school administrators is the achievement and effectiveness of the work.

คำสำคัญ

ผู้บริหารสถานศึกษา, ประสิทธิภาพ, ภาวะผู้นำ, การพัฒนาองค์กร

Keywords

Educational Institution Administrators, Efficiency, Leadership, Organizational Development

เอกสารอ้างอิง

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2552). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร:
ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
นิติพล ภูตะโชติ. (2557). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประยุทธ์ ปยุตโต. (พระธรรมปิฎก, 2540). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา.
พิชญาภา ยืนยาว. (2562). ภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษาและสถานศึกษา. เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2559). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎีการวิจัยและแนวทางสู่การพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิเชียร วิทยอุดม. (2554). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์.
สุทธิชัย ปัญญโรจน์. (2555). ครบเครื่องเรื่องนักบริหาร. กรุงเทพมหานคร: ส.เอเซียเพรส (1989).
สุภัททา ปิณฑะแพทย์. (ม.ป.ป.). ภาวะผู้นำของนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. สืบค้นจาก https://www.supatta.haysamy.com/leader_pro.html.
DuBrin, J. (1998). Leadership research finding: Practice and skills. Boston Houghton: Mifflin Company.
Gibson, J. L., Ivancevich, J. M. & Donnelly, J. H., Jr. (1997). Organizations, Behavior Structure Processes. United States of America: Irwin/McGraw-Hill.
Greenberg, J. & Baron, R. A. (2013). Behavior in Organizational (6th ed.). New Jersey: Prentice – Hall.
Hanson, M. E. (1996). Educational Administration and Organization Behavior (4th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Hersey, P & Blanchard, K.H. (1993). Management of organizational behavior: Utilizing human resources (6th ed.). New Delhi: Prentice Hall of India.
Kotter, J. (1990). A Force of Change: New Leadership Differs from Management. London: Macmillan.
McFarland, D. E. (1979). Management: Foundation & Practices (5th ed.). New York: Macmillan Publishing.
Nethercote, R. (1998). Leadership in Australian University. Colleges and Halls of Residence: A Model for the Future. Unpublished Doctor of Education Thesis, The University of Melbourne, Parkville.
Nelson, D. L. & Quick, J. C.(1997). Organization Behavior (2nd ed.). New York: Harper and Row.
Pursley, R. D., and Snortland, N. (1980). Managing government organizations. North Scituate, MA: Duxbury.
Robbins, S. P. (2000). Organizational behavior (9th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Robert L. Katz (1983). Executive Success Making If in Management. New York: John Wiley
and Sons.
Stogdill, R.M. (1974). Handbook of Leadership: a Survey of the Literature. New York: Free press.
Yukl, G. A. (2010). Leadership in organizations (7th ed.). New Jersey: Prentice - Hall.