ISSN: 1906-117X

วารสาร

องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการประเมินและตัดสินการประกวดวงดนตรีไทย

Components and Quality Indicators for Assessment and Judging of Thai Music Ensemble Competition
ขอบเขต: ศิลปวัฒนธรรมเพื่อการศึกษา

สุพัตรา วิไลลักษณ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการประเมินและตัดสินการประกวดวงดนตรีไทย โดยมีระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพที่ประยุกต์ใช้วิธีการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย และการวิจัยเชิงทดลอง ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการประเมินและตัดสินการประกวดวงดนตรีไทย ประกอบด้วย (1) องค์ประกอบด้านทักษะดนตรี ประกอบด้วยตัวบ่งชี้คุณภาพ คือ บุคลิกภาพผู้บรรเลงดนตรี และทำนองดนตรี (2) องค์ประกอบด้านทักษะขับร้อง ประกอบด้วยตัวบ่งชี้คุณภาพ คือ บุคลิกภาพผู้ขับร้อง และทำนองร้อง (3) องค์ประกอบด้านทักษะการรวมวง ประกอบด้วยตัวบ่งชี้คุณภาพ คือ จังหวะ และกลวิธีการปรับวง โดยผลการตรวจสอบคุณภาพขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการประเมินและตัดสินการประกวดวงดนตรีไทย พบว่า เครื่องมือวัดและประเมินผลตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการประเมินและตัดสินการประกวดวงดนตรีไทย ซึ่งจัดทำเป็นแบบบันทึกค่าคะแนนตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการประเมินและตัดสินการประกวดวงดนตรีไทย มีผลการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง โดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนจากผลการประเมินตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการประเมินและตัดสินการประกวดวงดนตรีไทยของระหว่างกลุ่มวงดนตรีไทยที่มีทักษะในระดับมาก (ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ) ( = 87.10, S.D. = 3.91) สูงกว่ากลุ่มวงดนตรีไทยที่มีทักษะในระดับน้อยถึงระดับปานกลาง (เข้ารอบการประกวดรอบคัดเลือก แต่ไม่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ) ( =80.88, S.D. = 1.72) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าความสอดคล้องของผู้ประเมิน (คณะกรรมการตัดสินการประกวดวงดนตรีไทย ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2566) เท่ากับ 0.864 - 0.964 อยู่ในระดับสูง มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวัดและประเมินผลฯ เท่ากับ .965 แสดงว่าเครื่องมือมีความน่าเชื่อถือ และสามารถนำเครื่องมือนี้ไปใช้จริง นอกจากนี้ มีผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้องเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาสอดคล้องกันในทุกรายการประเมิน และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The objective of this research is to develop components and quality indicators's assessment and judging of Thai music ensemble competition with a mixed method of research methodology with qualitative research that applied to the Delphi technique's research method and experimental research. The research results showed that components and quality indicators's assessment and judging of Thai music ensemble competition that consist; (1) elements of music skills which contains quality indicators are the musician's personality and melody, (2) elements of vocal skills which contains quality indicators are the singer's personality and lyric, (3) elements of ensemble skills which contains quality indicators are tempo and ensemble adjustment tactics. Quality inspection results of components and quality indicators's assessment and judging of Thai music ensemble competition found that measurement and evaluation tools according to the components and quality indicators's assessment and judging of Thai music ensemble competition by made into score record form according to the components and quality indicators's assessment and judging of Thai music ensemble competition that construct validity analysis results with the average of scores from the evaluation results according to the components and quality indicators's assessment and judging of Thai music ensemble competition between Thai ensemble groups that have highly skilled (through to the finals round) ( = 87.10, S.D. = 3.91) higher more than Thai ensemble groups that have low to moderate skilled level (qualified for the qualifying round but did not qualify for the finals round) ( =80.88, S.D. = 1.72) which statistical significance of 0.05 level. There is Rater Agreement Index (Judges of the Thai music ensemble competition, the royal cup of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn, Year 2023) is 0.864 – 0.964 in high level has reliability of measurement and evaluation tools equals .965 shows that the tool is reliable and can actually use this tool. In addition, the analysis results of the content consistency index were consistent across all assessment items and is appropriate at the highest level.

คำสำคัญ

องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพ, การประเมินและการตัดสิน, การประกวดวงดนตรีไทย

Keywords

Components and Quality Indicators, Assessment and Judging, Thai Music Ensemble Competition

เอกสารอ้างอิง

กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2557). การวัดและการประเมินทักษะการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จันทนา คชประเสริฐ. (2545). เอกสารประกอบการสอนวิชาประวัติดนตรีไทย รหัส 626253. ชลบุรี : คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
จันทนา คชประเสริฐ และกิตติภัณฑ์ ชิตเทพ. (2559). หลักเกณฑ์การตัดสินและการประเมินผลการบรรเลงในการประกวดดนตรีไทย. งานวิจัย คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา.
จันทนา คชประเสริฐ และกิตติภัณฑ์ ชิตเทพ. (2559). หลักเกณฑ์การตัดสินและการประเมินผลการบรรเลงในการประกวดดนตรีไทย. ครุศาสตร์สาร. 12(2), 51 – 72.
โชติกา ภาษีผล. (2558). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือในการวัดและประเมินผลทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โชติกา ภาษีผล, ณัฏญภรณ์ หลาวทอง และ กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2554). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2560). วิธีวิทยาการสอนดนตรี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: พรรณีพริ้นติ้งเซ็นเตอร์.
ณวัฒน์ หลาวทอง. (2555). การศึกษาและพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานการตัดสินการประกวดการบรรเลงวงดนตรีไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(วัฒนธรรมศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประยุทธ ไทยธานี. (2546). การสร้างและพัฒนาแบบสอบความถนัดทางดนตรีไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต(จิตวิทยา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). การประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 9(1), 1-17.
เพชราวดี จงประดับเกียรติ. (2560). การพัฒนาเครื่องมือวัดทักษะพิสัย. เอกสารประกอบการเรียนรายวิชาการพัฒนาเครื่องมือวัดทักษะพิสัย. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
มนตรี ตราโมท และวิเชียร กุลตัณฑ์. (2523). ฟังและเข้าใจเพลงไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยเขษม.
ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ วิชฏาลัมพก์ เหล่าวานิช และสิวะโชติ ศรีสุทธิยากร. (2561). การพัฒนาเครื่องมือประเมินและระบบคุณภาพการตัดสินผลการประกวดบรรเลงรวมวงมโหรี. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 46(4), 300 - 317.
สุพัตรา วิไลลักษณ์. (2556). การจัดการศึกษาดนตรีไทยในอนาคต. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ดุริยางคศิลป์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. (2544). เกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยและเกณฑ์การประเมิน. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). เกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย พุทธศักราช 2553. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
Brian C. Wesdoski. (2012). Understanding and Developing Rubrics for Music Performance Assessment. Music Educators Journal. 98(3), 36-42.
Macmillan, Thomas T. (1971). The Delphi Technique. The Annual Meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development. Ca : Monterey, May 3-5.
Scott, S. J. (2012). Rethinking the roles of Assessment in Music Education. The National Association for Music Education. 98(3), 31-35.