ISSN: 1906-117X

วารสาร

การถอดบทเรียนโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Lessons Learned from Educational Quality Development and Local Development Projects with Higher Education Institutions as Mentors in The Lower Central Higher Education Network : The Case Study of Bansomdejchaopraya Rajabhat University
ขอบเขต: การวัดและประเมินผลการศึกษา

วิเชียร อินทรสมพันธ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ธิดารัตน์ ตันนิรัตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ฑิตยา สิทธิโสภาสกุล

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2559-2564 ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องโครงการฯ และยินยอมให้ข้อมูล แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ผู้จัดโครงการและผู้เข้าร่วมโครงการ รวมจำนวน 54 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบให้ข้อมูลโครงการฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือการวิเคราะห์เอกสารและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผลวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อโครงการฯ มีจำนวน 4 ปัจจัย ได้แก่ 1.ปัจจัยด้านแหล่งผู้ให้ทุนโครงการ คือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งเสนอข้อเสนอโครงการฯ หากได้รับการพิจารณาจึงได้รับเงินสนับสนุนจัดทำโครงการ แต่หากในปีนั้นๆ ไม่มีการให้ทุน หรือข้อเสนอโครงการไม่ได้รับการอนุมัติจะไม่สามารถจัดทำโครงการได้ 2. ปัจจัยความเชี่ยวชาญของสถาบันอุดมศึกษา เนื่องจากสถาบันอุดมศึกษาต้องกำหนดรูปแบบกิจกรรมการพัฒนาให้สอดคล้องตามความต้องการของโรงเรียน และตามความเชี่ยวชาญของสถาบันอุดมศึกษา 3. ปัจจัยความร่วมมือของโรงเรียน โดยโรงเรียนส่งบุคลากรเข้าร่วมโครงการ 4. ปัจจัยด้านอุปสรรคของผู้เข้าร่วมโครงการ ครูที่เข้าร่วมโครงการมีภารกิจในการสอนที่โรงเรียน

Abstract

The research objective of this article was to analyze factors affecting the quality of education and local development projects with higher education institutions as a mentor : the case study of Bansomdejchaopraya Rajabhat University during academic year 2016-2021. Key informants were stakeholders who involved the project and agreed to provide the data which was divided into two parts: the project organizer and the project participants, totaling 54 people. The research tools were the project information form. Statistics for analyzing data was document analysis and content analysis. The results showed that The analysis results of 4 factors affecting the project were as follows: 1. The project funding factor; as they offered by the Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. Each institution of higher education proposes a proposal for the project. If it was considered, then the project proposal would receive project funding. But if no funding offering or the project proposal was not approved, the project could not be prepared. 2. The expertise in higher education institutions factor. As the higher education institution had to determine the form of development activities in accordance with the needs of schools and expertise of higher education institutions. 3. The school participation factor; as the schools sent personnel to participate the project. 4. The project participants’ obstacle factor. Participating teachers had the mission of teaching at school. , , local development, mentors, Bansomdejchaopraya Rajabhat University

คำสำคัญ

การถอดบทเรียน, คุณภาพการศึกษา, การพัฒนาท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, พี่เลี้ยง

Keywords

lesson learned, education quality, local development, Bansomdejchaopraya Rajabhat University, mentors

เอกสารอ้างอิง

คณะครุศาสตร์. (2560). รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
________. (2561). รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ปีงบประมาณ 2560. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
________. (2562). รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ปีงบประมาณ 2561. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
________. (2563). รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
________. (2564). รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ปีงบประมาณ 2563. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
________. (2565). รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ปีงบประมาณ 2564. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
ธิดารัตน์ ตันนิรัตร์. (2562). พฤติกรรมเกี่ยวกับการสร้างสื่อการเรียนการสอนหรือผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาครู. ครุศาสตร์สาร, 13(2), 183-196.
________. (2565). การประเมินความต้องการจําเป็นเกี่ยวกับการสร้างสื่อการเรียนรู้และการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรของนักศึกษาครู. ครุศาสตร์สาร, 16(1), 236-247.
นโยบายและยุทธศาสตร์, สำนัก. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. แผนพัฒนาการศึกษาของ กระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2550). ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียน การสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน), สำนักงาน. (2561). รายงานสรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2559). กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).
________. (2565). รายงานสรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563). กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).
Andreasen, J. K., Bjørndal, C. R., & Kovač, V. B. (2019). Being a teacher and teacher educator: The antecedents of teacher educator identity among mentor teachers. Teaching and Teacher Education, 85, 281-291.
Aykan, A., & Yıldırım, B. (2022). The Integration of a lesson study model into distance STEM education during the covid-19 pandemic: Teachers’ views and practice. Technology, Knowledge and Learning, 27(2), 609-637.
Betlem, E., Clary, D., & Jones, M. (2019). Mentoring the Mentor: Professional development through a school-university partnership. Asia-Pacific Journal of Teacher Education, 47(4), 327-346.
Edu, T., Negricea, C., Zaharia, R., & Zaharia, R. M. (2022). Factors influencing student transition to online education in the COVID 19 pandemic lockdown: Evidence from Romania. Economic Research-Ekonomska Istraživanja, 35(1), 3291-3304.
Maphalala, M. C. (2017). Understanding the role of mentor teachers during teaching practice session. International Journal of Educational Sciences, 5(2), 123-130.
Rasmitadila, R., Humaira, M. A., Rachmadtullah, R., Sesrita, A., Laeli, S., Muhdiyati, I., & Firmansyah, W. (2021). Teacher Perceptions of University Mentoring Programs Planning for Inclusive Elementary Schools: A Case Study in Indonesia. International Journal of Special Education (IJSE), 36(2), 53-65.
Susanna, V. (2022). Information and Communication Technologies in Education. Eurasian Journal of Learning and Academic Teaching, 6, 89-93.
Tannirat, T., Songkram, N., Dulyakorn, V., & Upapong, S. (2022). The Implementation of Computational Thinking Books and Materials Set for Lower Primary School Students. Specialusis Ugdymas, 2(43), 3062-3067.
Wang, L. H., Chen, B., Hwang, G. J., Guan, J. Q., & Wang, Y. Q. (2022). Effects of digital game-based STEM education on students’ learning achievement: a meta-analysis. International Journal of STEM Education, 9(1), 1-13.