ISSN: 1906-117X

วารสาร

การพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงและการเขียนคำควบกล้ำ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

The Development of Ability in Thai Diphthong Reading and Writing by Explicit Teaching Method for Grade 2 Students.
ขอบเขต: ภาษาและการสื่อสารเพื่อการศึกษา

ศุภิสรา บุตรวัน

มหาวิทยาลัยพะเยา

วสันต์ สรรพสุข

มหาวิทยาลัยพะเยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง คำควบกล้ำ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำโดยใช้รูปแบบการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสบสา (สายใจ ดาลาล์ อนุสรณ์) 3) เปรียบเทียบความ สามารถในการเขียนคำควบกล้ำโดยใช้รูปแบบการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสบสา (สายใจ ดาลาล์ อนุสรณ์) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสบสา (สายใจ ดาลาล์ อนุสรณ์) อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท จำนวน 10 แผน แบบทดสอบความสามารถในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ จำนวน 20 ข้อ และแบบทดสอบความสามารถในการเขียนคำควบกล้ำ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบลำดับที่โดยเครื่องหมายของวิลค็อกซัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินความถูกต้องครบถ้วน และเหมาะสมขององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง คำควบกล้ำ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1, 3, 4, 7, 8 และ 9 อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2, 5, 6 และ 10 อยู่ในระดับคุณภาพมาก 2) ความสามารถในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำโดยใช้รูปแบบการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสามารถในการเขียนคำควบกล้ำรูปแบบการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The objectives of this research were 1) create and examine the efficiency of the lesson plans of Thai Diphthong by using Explicit Teaching Method for grade 2 students with the criterion set. 2) compare grade 2 Students’ ability in Thai diphthong reading after using the Explicit Teaching Method, and 3) compare grade 2 Students’ ability in Thai diphthong writing after using the Explicit Teaching Method. The population consisted of 15 students in grade 2 during the academic year of 2021 at Sobsa (Saijai Dalal Anusorn) School, Chiangkham district, Phayao. The research instruments were 1) ten lesson plans, 2) the reading test including 20 items, and 3) the writing test including 20 items. The data were analyzed by mean, standard deviation, and the Wilcoxon-signed rank test. Were as follows: 1) The assessment of the lesson plans of Thai Diphthong by using the Explicit Teaching Method for grade 2 students was based on the criteria of accuracy and appropriateness and found that the first, third, fourth, seventh, eighth, and ninth plans were rated at the highest level. The other plans were rated at a high level. 2) The comparison grade 2 students’ ability in Thai diphthong reading after learning by Explicit Teaching Method had significantly higher than that before learning at the .05 level. 3) The comparison grade 2 students’ ability in Thai diphthong writing after learning by Explicit Teaching Method had significantly higher than that before learning at the .05 level.

คำสำคัญ

เอ็กซ์พลิซิท, ความสามารถอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ, เขียนคำควบกล้ำ

Keywords

Explicit, Ability Thai diphthong reading, Thai diphthong writing

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ. กระทรวงศึกษาธิการ.
คมขำ แสนกล้า. (2547). การพัฒนาแผนการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc
จุฑามาศ ศรีวิลัย. (2549). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ร ล ว โดยใช้ ภาพประกอบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์บริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc
ใดนี สาและ. (2560). ผลของการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทที่มีต่อทักษะการอ่านภาษาไทยของนักเรียนที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์). สืบค้นจาก https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/
11793
ประสงค์ รายณสุข. (2532) . การศึกษาผลการทดลองใช้แบบฝึกเสริมทักษะการพูดภาษาไทยแก่เด็กชาวเขา (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2557). วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
โรงเรียนบ้านสบสา (สายใจ ดาลาล์ อนุสรณ์). (2563). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) โรงเรียนบ้านสบสา (สายใจ ดาลาล์ อนุสรณ์) ปีการศึกษา 2563. พะเยา: โรงเรียนบ้านสบสา (สายใจ ดาลาล์ อนุสรณ์).
วัชรา เล่าเรียนดี. (2547). เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้สำหรับครูมืออาชีพ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2553). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.
ศิรดา เอียดแก้ว. (2548). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สอนโดยวิธีการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทกับวิธีการสอนแบบปกติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร). สืบค้นจาก http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/8423?attempt=2&
ศิริรัตน์ เกิดแก้ว. (2553). ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านสะกดคำตามมาตราตัวสะกดไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี). สืบค้นจาก http://rdi.rmutsv.ac.th/rmutsvrj/download/
year2-issue1-2553/p55.pdf
สุไร พงษ์ทองเจริญ. (2561). การแทรกซ้อนของภาษาไทยเหนือในการเรียนภาษาไทยกลาง. Language and Linguistics, 4(2), 40-56. สืบค้นจากhttps://so04.tcithaijo.org/index.php/joling/
article/view/136044.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2. (2564).คู่มือการดำเนินการพัฒนาการอ่านเขียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยาเขต 2 ปีการศึกษา 2564. พะเยา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (2562) . จำนวนและร้อยละของผู้เรียนที่อ่านออกเขียนได้ (ระดับประถมศึกษาที่ 1–3). สืบค้นจากhttps://sp.moe.go.th/sp_2563/info/?module=report_
table3_26&edu_year=2563&edu_round=1&reo=all
อรวรรณ มีชำนาญ. (2557). ผลการใช้รูปแบบการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทที่มีต่อความสามารถในการอ่านและเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนซับใหญ่วิทยาคม จังหวัดชัยภูมิ. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc
Atkins, James Grant. (2013). The Effect of Explicit Teaching of Comprehension Strategies on Reading Comprehension in Elementary School. The degree of Doctor of Philosophy under the Executive Committee of the Graduate School of Arts and Sciences, Columbia university. Retrieved from https://academiccommons.
columbia.edu/doi/10.7916/D82N58H4
Barak V. Rosensine. (1986). Synthesis of Research on Explicit Teaching. Educational leadership: journal of the Department of Supervision and Curriculum Development, N.E.A 43(7). Retrieved from https://www.researchgate.net/
publication/234615763_Synthesis_of_Research_on_Explicit_Teaching
Jensen, Jessie Ruth. (2009). Examining the Effects of Explicit Teaching of Context Clues in Content Area Texts. Theses and Dissertations. Retrieved from https://scholarsarchive.byu.edu/etd/1816/
Laura Ferguson. (2006). The effects of Explicit teaching of Morphemic Analysis on Vocabulary learning and Comprehension and its Transfer Effect to Novel Words. Master’s thesis. Wichita: Wichita State University. Retrieved from https://soar.wichita.edu/handle/10057/277