ISSN: 1906-117X

วารสาร

การพัฒนาความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC ร่วมกับเทคนิค KWDL ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

The development of mathematics problem–solving skills and critical thinking skills by using the DAPIC problem-solving process with KWDL techniques for Grade ninth students
ขอบเขต: หลักสูตรการสอน

พนิชฎา สุวรรณแปง

มหาวิทยาลัยพะเยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC ร่วมกับเทคนิค KWDL 2) เปรียบเทียบความสามารถการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC ร่วมกับเทคนิค KWDL กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนยางฮอมวิทยาคม 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รายวิชาพื้นฐาน โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.67 - 1.00 2) แบบทดสอบวัดความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว มีค่าความยากง่าย (p) 0.34 - 0.60 ค่าอำนาจจำแนก (r) 0.58 -0.89 และค่าความเชื่อมั่น 0.88 และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีวิจารณญาณคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว มีค่าความยากง่าย (p) ตั้งแต่ 0.43 - 0.73 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.41 - 0.78 และค่าความเชื่อมั่น 0.83 โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้การทดสอบที (t-test for dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC ร่วมกับเทคนิค KWDL หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีกระบวนการของความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ การทำความเข้าใจโจทย์ปัญหา ("x" ̅ = 10.25, S.D. = 1.46) 2. ความสามารถการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC ร่วมกับเทคนิค KWDL หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมี องค์ประกอบของความสามารถการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ การรวบรวมข้อมูล ("x" ̅ = 2.13, S.D. = 0.79)

Abstract

The objectives of the research were 1) to compare the mathematics problem-solving skills before and after using the DAPIC problem-solving process with KWDL techniques for students, 2) to compare critical thinking skills before and after using DAPIC problem-solving learning with KWDL techniques for students. The target group was 32 students in grade ninth at Yanghom Wittayakhom School. The research instruments were 1) The DAPIC problem-solving process with KWDL techniques for teaching linear inequality with one variable with the IOC between 0.67 - 1.00 2) the mathematics problem-solving skills test about linear inequality with one variable, including 3 subjective test items, with the difficulty between 0.34 - 0.66, the discrimination between 0.58 – 0.89 and the reliability at 0.88. 3) the critical thinking skills test about linear inequality with one variable, 15 items, including 9 objective test items of four multiple choices and 6 subjective test items with the difficulty between 0.43 - 0.73, the discrimination between 0.41 – 0.73, and the reliability at 0.83. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and T-test for dependent. The results were as follows: 1) The mathematics problem-solving skills of grade ninth students after studying the DAPIC problem-solving process with KWDL techniques were higher than before the instruction and were statistically significant at the 0.5 level. Also, the process of mathematics problem-solving skills with the highest level was understanding the problems. ("x" ̅ = 10.25, S.D. = 1.46) 2) Critical thinking skills of grade ninth students after studying the DAPIC problem-solving process with KWDL techniques were higher than before the instruction and were statistically significant at the 0.5 level. In addition, gathering data was an element of critical thinking skills at the highest level. ("x" ̅ = 2.13, S.D. = 0.79)

คำสำคัญ

คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC, เทคนิค KWDL, ความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ

Keywords

Keywords: the DAPIC problem-solving process, KWDL techniques, mathematics problem-solving skills, Critical thinking skills

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กฤษฎา วรพิน. (2554). ผลของการจัดกิจผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล และการใช้คำถามระดับสูงที่มีต่อความสามารถในการ แก้ปัญหาและความ คงทนในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/.
ชัยยุทธ ธรรมประชา. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ในห้องเรียนแบบกลับด้าน ที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: บริษัท แด เน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปปอเรชั่น.
ดารินทร์ งามสันเทียะ. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแกปญหาและความคิดสร้างสรรคทางคณิต ศาสตร์เรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณโดยใชกระบวนการแก้ปญหาเชิงสร้างสรรคของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (สังคม), 43(3), 15 – 29.
ทิวทัศน์ ชัชวาล. (2562). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทาง คณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา DAPIC ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของบาดแฮม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/.
ทิศนา แขมณี. (2550). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพ ฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นาจนารี นพเก้า. (2561). การพัฒนาชุดการสอนวิชาคณิตศาสตร์ตามแนวทางทฤษฎีพัฒนาการทาง สติปัญญาของเพียเจต์ เรื่อง โจทย์ปัญหาระคน สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา) สืบค้นจาก https://tdc.thailis. or.th/tdc/.
ปฏิภาณ ชาติวิวัฒนาการ. (2563). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิคแบบ STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 10(2), 182 -194.
ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2556). การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ในประมวลสาระชุดวิชาสารัตถะและวิทยวิธีทาง คณิตศาสตร์ Foundations and Methodologies of Mathematics Instruction. เอกสาร ไม่ได้ตีพิมพ์, สาขาวิชาศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
พิศิษฐ์ ตัณฑวณิช. (2538). การเปรียบเทียบผลการทำนายความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา คณิตศาสตร์ของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัด สุรินทร์และศรีสะเกษ เมื่อใช้ความสามารถพื้นฐาน ในการคำนวณและความเข้าใจในด้านการ อ่านเป็นตัวทำนาย ระหว่างการทำนาย โดยโมเดลผลรวมของคะแนน การใช้โมเดลประมาณค่า ความสามารถของผู้สอบตามแนวทฤษฎีการตอบสนองต่อข้อสอบและการจัดกลุ่มผู้สอบตาม ระดับความสามารถ. (รายงานผลการวิจัย). สุรินทร์: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสุรินทร์.
มารุต พัฒผล. (2563). ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มรู้คิด. สืบค้นจาก http://www.curriculumandlearning .com/upload/Books/Cognitive%20Theory_1597201266.pdf
รสกมลรัตน์ ศรีภิรมย์. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และการคิดอย่าง มีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้ รูปแบบ SSCS ร่วมกับ แนวคิด DAPIC. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี - สฤษดิ์วงศ์.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพ การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้งกรุ๊ป.
วรกมล บุญรักษา. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการแบ่งกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ ร่วมกับแนวคิดที่ ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องทฤษฎีบท พีทาโกรัสสำหรับนักเรียนชั้น DAPIC มัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/.
วลัยพร โล่ห์เส็ง. (2559). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และการคิดอย่างมี วิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค KWDL. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(1), (142-152).
สุจิตรา การพิสมัย. (2558). การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(3), (183-190).
สุรีพร อนุศาสนนันท์. (2554). การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน. ชลบุรี: โรงพิมพ์เก็ทกู๊ดครีเอชั่น.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน). (2564). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3 ปการศึกษา 2564. สืบคนจาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่านคณิต- ศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. สืบคนจาก https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa2018-fullreport/.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สิทธิพล อาจอินทร์. (2550). รูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับ ครู วิทยาศาสตร์ประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/.
สุภาพ โสรส. (2555). การเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL และเทคนิค SSCS ตามทฤษฎีการ สร้างความรู้ด้วยตนเอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/.
สมบูรณ์ หมุนแก้ว. (2533). การศึกษาความสามารถทางภาษาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เขตการศึกษา 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/.
สุรชัย วงค์จันเสือ. (2555). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และ ความสามารถใน การคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตาม แนวคิด DAPIC และ GCI ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/.
สุวิทย์ แบ่งทิศ. (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้าง ความสามารถด้านการ คิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/.
สุวิทย์ มูลคำ. (2550). กลยุทธ์การสอนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2562). ความสามารถในการแข่งขันของไทยปี 2019 โดย World Economic Forum. สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/th/Useful- knowledge- sharing/articles/Global-Competitiveness-Index.aspx
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. สืบค้นจาก http://www.lampang.go.th/public60/EducationPlan2.pdf
อรุณี เต็งศรี. (2563). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยใช้เทคนิค KWDL ที่มีผลต่อทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 7(3), (107-117).
อนุชา โสมาบุตร. (2556). ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Theory). สืบค้นจาก https:/teach
erweekly.wordpress.com/2013/09/25/constructivist-theoryI.
Alfaro-Lefevre, R. (1995). Critical thinking in nursing: A practical approach. Philadelphia: W.B. Saunders.
Bono E.D., (1976). Teaching Thinking. London: Temple Smith.
Bono E.D., (2000). Six thinking hats. London: Penguin Books.
Center for Mathematics, Science, and Technology. (1998). IMaST At a Glance: Integrated
mathematics, science, and technology. Ilinois State University.
Dressel, P. L. and Mayhew, L.B. (1957). General Education. Washington. D.C.: American Council on Education.
Meier, S.L., Hovde, R.L., & Meier, R.L. (1996). Problem solving: Teachers’ perceptions, content area, model, and interdisciplinary connection. School Science and Mathematics, 96(5), 230-237.
Ogle, D. M. (1986). K-W-L: A teaching model that develops active reading of expository text. Reading Teacher, 39(February), 564-670.
Paul, W., Richard. (1985). Bloom's Taxonomy and Critical Thinking. Educational Leadership. ,42 (May), 36- 39.
Polya, G. (1957). How to solve it. Princeton. NJ: Princeton University.
Shaw, J. M.,, Chambless, M. S., Chessin, D. A., Price, V. & Beardain, G. (1997). Cooperativeproblem solving: using KWDL as an organizational technique. Teaching ChildrenMathematics, 3(39), 482-486.
Shewhart, W.A. (1980). Economic control of quality of manufactured product. Milwaukee. WI: American Society for Quality Control.