ISSN: 1906-117X

วารสาร

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับเทคนิค CIRC เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำมาตราตัวสะกด แม่กง แม่กม แม่เกย แม่เกอว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเวียงเชียงรุ้งวิทยา

The Development of Learning Activities Through the Active Learning Strategy and the CIRC Techniques to Enhance Phonics Spelling-Reading Skills of Thai Words for Grade 1 Student at Wiang Chiang Rung Witthaya School
ขอบเขต: หลักสูตรการสอน

นวพร เทพมณี

มหาวิทยาลัยพะเยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับเทคนิค CIRCเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านมาตราตัวสะกดแม่กง แม่กม แม่เกย แม่เกอว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านมาตราตัวสะกดแม่กง แม่กม แม่เกย แม่เกอว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเวียงเชียงรุ้งวิทยา ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับเทคนิค CIRC กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเวียงเชียงรุ้งวิทยา 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้สาระภาษาไทย โดยพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับเทคนิค CIRC เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำมาตราตัวสะกด แม่กง แม่กม แม่เกย แม่เกอว ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ 1)ขั้นนำคือครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ 2)ขั้นปฏิบัติคือขั้นสอน 3)ขั้นสรุปคือขั้นสรุปบทเรียนและประเมินผลการทำงานกลุ่ม จำนวน 4 แผน 2) แบบประเมินทักษะการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สถิติที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และประเภทนันพาราเมตริก Wilcoxon Signed Ranks Test เปรียบเทียบผลการประเมินทักษะการอ่านสะกดคำก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้สาระภาษาไทย โดยพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับเทคนิค CIRC เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำมาตราตัวสะกด แม่กง แม่กม แม่เกย แม่เกอว จากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน ลงความคิดเห็นว่ามีความสอดคล้อง โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC = 1.00 ซึ่งมีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ได้ ซึ่งทุกแผนมีความถูกต้องเหมาะสม อยู่ในระดับมากซึ่งสอดคล้องกับประสิทธิภาพของแบบประเมินชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับเทคนิค CIRC แต่มีประเด็นที่ 4.5 กิจกรรมการเรียนรู้มีความสอดคล้องตามขั้นตอนของการใช้เทคนิค CIRC ที่ต้องได้รับการปรับปรุง เพื่อพัฒนาให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนและทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 2) ผลการประเมินทักษะการอ่าน สะกดคำมาตราตัวสะกด แม่กง แม่กม แม่เกย แม่เกอว มีค่าเฉลี่ยหลังเรียน 70.45 คะแนน สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 43.27 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purposes of this research were to: 1) develop Active Learning and CIRC technique learning management to enhance grade 1 students’ reading skills of Thai word spelling 2) compare the students’ reading skills of Thai word spelling before and after using Active Learning and CIRC technique learning management. The sample were 11 of grade 1 students at Wiang Chiang Rung Witthaya School. The instruments used for gathering data were 1) four lesson plans of Active Learning and CIRC technique learning management to enhance reading skills of Thai word spelling The teaching processes of CIRC technique learning management consists 1) Warm up: teacher explains to the students about the objectives of the lesson. 2) Presentation: teacher presents the lesson's activities. 3) Wrap up: teacher summarizes the lesson and evaluates student's group work. and 2) reading skills evaluation form of Thai word spelling. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, non-parametric Wilcoxon Signed Ranks Test and compare reading skills of Thai word spelling’s results after using Active Learning and CIRC technique learning management. The results of the study revealed that: 1) The assessment results of the lesson plan of Active Learning and CIRC technique learning management from the experts were correct and high appropriate with IOC score of 1.00. However, item 4.5 of learning activity sets’ effectiveness had to be improved and in accord with learning management. 2) The reading skills of Thai word spelling’s result after using Active Learning and CIRC technique learning management showed that the students had the average score of 70.45 higher than the average score of 43.27 before learning at .05 level of significance.

คำสำคัญ

การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning, เทคนิคการสอนแบบ CIRC, แผนการจัดการเรียนรู้, ทักษะการอ่านสะกดคำ

Keywords

Active Learning, CIRC techniques, Lesson plans, Reading skills of Thai word spelling

เอกสารอ้างอิง

กรมวิชาการ. (2540). การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุคตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหลักสูตร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ไขสิริ ปราโมช ณ อยุธยา. (2533). ภาษาไทย 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิราภรณ์ ทองพูล. (2562). พัฒนาสมรรถนะในการอ่านคำควบกล้ำด้วยการจัดการเรียนรู้ Active Learningรูปแบบ GWM ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนขุมคำวิทยา. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ,
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์เปอเรชั่น.
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2547). เทคโนโลยีการศึกษา หลักและแนวปฏิบัติ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
ธิดา ทิพย์สุข. (2552). การพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น,
นนทลี พรธาดาวิทย์. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning (พิมพ์ครั้งที่). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
บันลือ พฤกษะวัน. (2545). แนวพัฒนาการอ่านเร็ว คิดเป็น. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
บูรชัย ศิริมหาสาคร. (2545). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.
พิสมัย กองธรรม. (2552). ผลการเรียนแบบร่วมมือแบบ ซี ไอ อาร์ ซี ผสมผสานกับวิธีซินเนคติกส์ต่อความสามารถในการอ่านจับใจความและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี,
เยาวเรศ ภัคดีจิตร. (2557). เอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการ "วัยส่งเสริมวิชาการสู่คุณภาพการเรียนการสอน " 30 กรกฎาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2564, จาก http//apr.nsru.ac/Act_learn/ myfile/27022015155130_article.docx
วรัญญา เสนสม. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active learning โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง ประโยคเพื่อการสื่อสาร วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา,
วันวิสา ทิแก้ว. (2560). การใช้ชุดการเรียนด้วยสื่อประสม ร่วมกับเทคนิคการร่วมมือในการอ่านและการเขียน (CIRC) เพื่อพัฒนาการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการสอนภาษาไทย, คณะศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย