ISSN: 1906-117X

วารสาร

การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเทคนิคการจำตัวอักษรชื่อแรก STAR เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ ทศนิยมไม่เกิน 3 ตำแหน่ง

The development of mathematics problem-solving skills using a Flipped Classroom with (STAR) strategy steps on addition and subtraction of 3-digit decimal numbers
ขอบเขต: คณิตศาสตร์เพื่อการศึกษา

เสาวภา ฐานะกอง

มหาวิทยาลัยพะเยา

วสันต์ สรรพสุข

มหาวิทยาลัยพะเยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเทคนิคการจำตัวอักษรชื่อแรก (STAR) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ ทศนิยมไม่เกิน 3 ตำแหน่ง 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเทคนิคการจำตัวอักษรชื่อแรก (STAR) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ ทศนิยมไม่เกิน 3 ตำแหน่ง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 32 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเทคนิคการจำตัวอักษรชื่อแรก (STAR) จำนวน 12 แผน 2) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบอัตนัย จำนวน 8 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินความถูกต้องเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเทคนิคการจำตัวอักษรชื่อแรก (STAR) เรื่อง โจทย์ปัญหาทศนิยมบวก ลบ ไม่เกิน 3 ตำแหน่ง พบว่า แผนการจัดการเรียนรู้มีความถูกต้องเหมาะสม ดังนี้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 , แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 , 2 , 5 , 7 , 8 , 9 , 10 , 11 และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 12 อยู่ในระดับคุณภาพมาก 2) ผลการทดสอบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเทคนิคการจำตัวอักษรชื่อแรก (STAR) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ ทศนิยมไม่เกิน 3 ตำแหน่ง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The objectives of this research were 1) to develop and validate the effectiveness of lesson plans using a Flipped Classroom with the STAR strategy on addition and subtraction of 3-digit decimal numbers, and 2) to compare the mathematics problem-solving skills after using a Flipped Classroom with the STAR strategy steps on addition and subtraction of 3-digit decimal numbers for grade fourth students. The population was grade fourth students at Anuban Hua Fai School. The sample group was 32 grade fourth students in the second semester, the academic year of 2021. The research instruments were 1) twelve lesson plans using a Flipped Classroom with the STAR strategy and 2) the mathematics problem-solving skills test, including 8 subjective test items. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and one sample T-test. The results were as follows: 1) The assessment of lesson plans using a Flipped Classroom with STAR strategy on addition and subtraction of 3-digit decimal numbers reached the overall criteria of accuracy and appropriateness; the third plan, the fourth plan, and the sixth plan were rated at the highest level. The other plans were rated at a high level. 2) The post-test results of mathematics problem-solving skills after using a flipped classroom with the STAR strategy on addition and subtraction of 3-digit decimal numbers were higher than the pre-test at the statistically significant level of 0.5

คำสำคัญ

ห้องเรียนกลับด้าน, เทคนิคการจำตัวอักษรชื่อแรก STAR, ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

Keywords

Flipped classroom, STAR strategy, Mathematics problem-solving skills

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ. กระทรวงศึกษาธิการ.
กฤตนุ วิเศษประสิทธิ์ และ ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด
บูรณาการแนวคิดห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อการรู้ เรื่อง คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 12(2), 1 – 17.
กรวรรณ สืบสม และ นพรัตน์ หมีพลัด. (2560). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับ
ด้าน (Flipped classroom) ด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียผ่าน Google Classroom. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 6(3), 118-127.
จันทิมา แก่นชา และ ทรงภพ ขุนมธุรส. (2565). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับ
ด้าน (Flipped Classroom) ร่วมกับเทคนิค SQ4R เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Journal of Modern Learning Development, 7(4), 128 - 142
พิชญ์สินี เพชรดี, รุ่งระวี ด่อนสิงหะ และ สุภาณี เส็งศรี. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา
คณิตศาสตร์เรื่อง ทศนิยม โดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.วารสารวิจัยและนวัตกรรมสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 5(1), 203 – 219.

ศิลากาญจน์ รุ่งเรือง, วีระศักดิ์ ชมภูคำ และ พิชญ์สินี ชมภูคำ. (2559). การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์
ปัญหาประยุกต์ทางคณิตศาสตร์และทักษะการทำงานร่วมกันโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตวิจัย, 7(2), 107 - 121
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์.พิมพ์
ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ส เจริญการพิมพ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : การ
จัดการเรียนรู้รูปแบบกระบวนการแก้ปัญหา สืบค้นจาก http:/pound1983.tiles.wordpress.com/2012/061UTQ-2135.pdr.
สิริพร ทิพย์คง. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)
เอมฤดี สิงหะกุมพล, ไพศาล หวังพานิช, และสงวนพงศ์ ชวนชม. (2563). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้
แบบร่วมมือร่วมกับกลวิธี (STAR) รายวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์,7(1),73 - 82
Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in
Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.
Maccini, P, and Hughes, C. A. (2000). Effects of a Problem Solving Strategy on the
Introductory Algebra Performance of Secondary Students with Learning Disabilities. Learning disabilities research & practice. 15(1). 10 - 21.
Polya G. (1957). How to Solve It. A New Aspect of Mathematical Method. Garden. New
York. Doubleday.