ISSN: 1906-117X

วารสาร

ทักษะการเขียนสำหรับผู้นำทางการศึกษาในยุคความปกติถัดไป

Writing Skill for Educational Leaders in the Next Normal Era
ขอบเขต: ภาษาและการสื่อสารเพื่อการศึกษา

ฤดี กมลสวัสดิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วัชรพล วิบูลยศริน

มหาวิทยาลัยมหิดล

ศิโรจน์ ผลพันธิน

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

บทคัดย่อ

การเขียนเป็นทักษะการสื่อสารที่มีความสำคัญในการสร้างความเข้าใจที่ตรงกันสำหรับผู้นำและเพื่อนร่วมงานเนื่องจากผู้นำที่ดีจะต้องมีความมั่นใจว่างานเขียนที่สื่อสารกับผู้อื่นต้องมีความถูกต้อง ชัดเจน เข้าใจง่าย และตรงประเด็น การเป็นผู้นำทางวิชาการในอนาคตนั้นทักษะการเขียนถือว่าเป็นทักษะสำคัญประการหนึ่งเพราะไม่ว่าจะเป็นครูสาขาวิชาใดก็ตาม การพูด การเขียน การอ่าน และการฟังที่ถูกต้อง เข้าใจง่าย เข้าใจความหมายที่ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ มีความเป็นกลางและไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง นั้นนับว่ามีความจำเป็นต่อการสื่อสารเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากโรคระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอนจากในชั้นเรียนปกติเป็นการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรมต่าง ๆ ตลอดจนการค้นคว้าเพิ่มเติมผ่านสื่ออิเลิร์นนิง การจัดการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านบทเรียน อิเลิร์นนิงคอร์สแวร์ยังคงเป็นเครื่องมือที่มีความเหมาะสมกับยุคความปกติถัดไปเนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง เนื่องจากมีการวางแผนการสอนและจัดกิจกรรมที่เป็นระบบ เน้นกระบวนการคิดโดยเฉพาะการพัฒนาการเขียนของผู้เรียนด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่นในด้านของเวลา สถานที่ ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถออกแบบกิจกรรมต่าง ๆ ให้มีความใกล้เคียงกับชีวิตการทำงานที่บัณฑิตครูจะได้นำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและองค์กรต่อไป

Abstract

Writing is an important communication skill to build mutual understanding for leaders and colleagues because good leaders have to hold confidence that their written messages to others are accurate, clear, easy to understand, and precise. Academic leaders in the future need to acquire the writing skill which is one of important communication skills. In any field of expertise in teaching, accurate, simple, clear, neutral, and compatible speaking, writing, reading, and listening skills are vital in communication. Moreover, the coronavirus disease 2019 (COVID-19) outbreak has drastically resulted in the change of teaching methods from normal classrooms to online teaching via various programs as well as further research through e-learning media. Therefore, organizing online learning through an e-learning courseware remains the ideal tool for the next normal era as it promotes self-learning as there are systematic teaching plans and activities which emphasis on the thinking process, especially the continuous development of the learners' writing. It is also a learning source with flexibility of time and place. In addition, activities can be designed to be similar to working scheme that graduate teachers will be able to implement the knowledge for their own benefits and their education organizations.

คำสำคัญ

ผู้นำทางการศึกษา, ทักษะการเขียน

Keywords

Educational leader, Writing skills

เอกสารอ้างอิง

1. กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
2. กฤติยา เรวัติ. (2544). ข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้ทักษะภาษาไทยของนิสิตและทัศนะของนิสิตที่มีต่อการฝึกทักษะภาษาไทย. วารสารศึกษาศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 16(2), 39-43.
3. จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2555). อีเลิร์นนิงคอสแวร์ แนวคิดสู่การปฏิบัติสำหรับการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงในทุกระดับ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4. โชษิตา มณีใส. (2555). การใช้ภาษาไทยเพื่อประสิทธิผล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
5. ไพศาล วรคำ และปิยะธิดา ปัญญา. (2560). การพัฒนาทักษะการเขียนบทความวิจัยสำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (รายงานวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
6. วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่น.
7. สมศิริ จึงสถิตกูล. (2565). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ CIRC ร่วมกับสื่อบทเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้เนื้อหาท้องถิ่น. วารสารครุทรรศน์, 2(1),
29-41.
8. สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. (ม.ป.ป.). คู่มือการใช้งานระบบE-learning ด้วย Moodle 3.2 สำหรับอาจารย์ผู้สอน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
9. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). รายงาน เรียนออนไลน์ยุคโควิด-19 : วิกฤตหรือโอกาสการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
10. สุนิษา เกาะอ้อม. (2562). การพัฒนาความสามารถการเขียนเรียงความภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แผนผังความคิด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
11. โสภาค เจริญสุข. (2557). การพัฒนารูปแบบการออกแบบ อีเลิร์นนิง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิจารณญาณสำหรับนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
12. Bennet, C.M. (2019, 28 May). Business Writing Tips for Managers and Leaders. Retrieved from https://management30.com/blog/business-writing-tips-for-managers-and-leaders/
13. CBN. (2020, 31 January). Six Writing Tips for Effective Leadership. Retrieved from https://www1.cbn.com/leadership/six-writing-tips-for-effective-leadership
14. Cole, B.M. (2018, 28 May). The Top 10 Skills You Require To Be A Highly Effective Leader. Retrieved from https://www.forbes.com/sites/biancamillercole/ 2018/12/21/the-top-10-skills-you-require-to-be-a-highly-effective-leader/?sh=41bc8deb5c45
15. Hernandez, B. (2019, 8 August). 4 Strategies to Become a Better Leader Through Writing. Retrieved from https://thriveglobal.com/stories/4-strategies-to-become-a-better-leader-through-writing/
16. Macfadyen, S. (2019, 28 May) . Want to be a great leader? First be a great writer. Retrieved from https://www.scribendi.com/academy/ articles/great_leader_ great_writer.en.html
17. Mukherjee, B. (2019, 28 May). Top 10 Leadership Skills Every Professional Must Acquire. Retrieved from https://www.stoodnt.com/blog/top-leadership-skills-every-professional-must-acquire/
18. Waldman, K. (2016, 28 May). 6 Ways Leaders Can Improve Their Writing. Retrieved from https://www.govloop.com/community/blog/6-ways-leaders-can-improve-writing/