ISSN: 1906-117X

วารสาร

การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคกลุ่มสัมพันธ์ที่มีผลต่อทักษะการปฏิบัติท่ารำและทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Learning Management Using Davies’ Instructional Model for Psychomotor Domain Together with Group Working Skills on Thai Classical Dancing Skills and Group Working Skills of Grade 9 Students at Hat Yai Charoen Rat Pittaya School, Songkhla Province
ขอบเขต: หลักสูตรการสอน

วรากร สุพรรณท้าว

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

จุไรศิริ ชูรักษ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำและทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคกลุ่มสัมพันธ์ 2) เปรียบเทียบทักษะการปฏิบัติท่ารำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคกลุ่มสัมพันธ์ เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 3) เปรียบเทียบทักษะทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคกลุ่มสัมพันธ์ เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคกลุ่มสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนหาดใหญ่เจริญราษฎร์พิทยา ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 35 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคกลุ่มสัมพันธ์ 2) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติท่ารำ 3) แบบประเมินทักษะการทำงานกลุ่ม 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์ วิเคราะข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ร่วมกับเทคนิคกลุ่มสัมพันธ์ มีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ทักษะการปฏิบัติท่ารำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ร่วมกับเทคนิคกลุ่มสัมพันธ์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 3) ทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ร่วมกับเทคนิคกลุ่มสัมพันธ์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคกลุ่มสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The objectives of this research were: 1) to create learning management plans to develop Thai classical dance practice skills and group working skills of Grade 9 students by using Davies’ instructional model for psychomotor domain together with group working skills, 2) to compare Thai classical dance practice skills using Davies’ instructional model for psychomotor domain together with group working skills of Grade 9 students compared to the 80% criteria, 3) to compare group working skills using Davies’ instructional model for psychomotor domain together with group working skills of Grade 9 students compared to the 80% criteria, 4) to study the satisfaction of Grade 3 students towards learning using Davies’ instructional model for psychomotor domain together with group working skills. The samples were 35 students in Grade 9/2 at Hat Yai Charoenrat Pittaya School in the second semester of the academic year 2021 obtained by cluster sampling. The tools used in the research consisted of: 1) the lesson plans using Davies’ instructional model for psychomotor domain together with group working skills 2) a Thai classical dance practice skills assessment 3) group working skills assessment 4) a satisfaction questionnaire for learning management using Davies’ instructional model for psychomotor domain together with group working skills. Data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation and single sample t - test. The results showed that: 1) the lesson plans using Davies’ instructional model for psychomotor domain together with group working skills had the appropriateness at the highest level. 2) The results of Thai classical dance practice skills of Grade 9 students after using learning management using Davies’ instructional model for psychomotor domain together with group working skills was higher than the 80 percent criteria with statistical significance at the .01 level. 3) The results of group working skills of Grade 9 students after using learning management using Davies’ instructional model for psychomotor domain together with group working skills was higher than the 80 percent criteria with statistical significance at the .01 level. 4) The satisfaction with learning management using Davies’ instructional model for psychomotor domain together with group working skills of students in Grade 9 was at the highest level.

คำสำคัญ

การจัดการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์, รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์, เทคนิคกลุ่มสัมพันธ์, ทักษะการ ปฏิบัติทางนาฏศิลป์, ความพึงพอใจ

Keywords

Davies’ instructional model for psychomotor domain, dramatic arts learning management, group working skills, satisfaction, Thai classical dance practice skills

เอกสารอ้างอิง

กรมวิชาการ. (2541). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่ม
เติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและ
พัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่ง
ประเทศไทย.
กายสิทธิ์ ศรีทา. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัตินาฏยศัพท์ โดย
ใช้รูปแบบของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6. ครุศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรและการเรียนการ
สอน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ชนากานต์ อ่อนประทุม. (2563) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติรำวง
มาตรฐาน โดยใช้ รูปแบบของ เดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1:
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการการเรียนการสอน.
มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชไมพร จันทรวิบูลย์. (2564). การจัดการเรียนรู้ระบำกฤดาภินิหารโดยทักษะปฏิบัติ
ของเดวีส์. นาฏศิลป์ศึกษา. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ธัญบุรี.
ชุติกาญจน์ บุตรวิชา. (2564). ผลการใช้ชุดการเรียนรู้สาระดนตรี โดยใช้กระบวนการ
เรียนรู้ แบบกลุ่มสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ครุศาสตร
มหาบัณฑิต หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏ
บุรีรัมย์.
ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้
ที่มี ประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
_______. (2563). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิตยา เกิดกัน. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องรำวงมาตรฐานโดย
ใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน
เทศบาล 3 (เทศบาลวัดนิโครธาราม)กรมส่งเสริมการปกครอง
ส่วนท้องถิ่น เทศบาลเมืองพัทลุง. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. สงขลา:
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. กรุงทพมหานคร: สุวีริยา
สาส์น.
ปาลภัสสร์ ภู่สากล. (2560). ผลการเรียนรู้วิชาดนตรี – นาฏศิลป์ เรื่อง การใช้
ท่าทางนาฏศิลป์ในการรำวงมาตรฐานโดยใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง.
พัชรี จันทกุล. (2563). ผลการใช้ชุดกิจกรรมสาระนาฏศิลป์ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้
แบบกลุ่มสัมพันธ์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ครุศาสตรมหา
บัณฑิต หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏ
บุรีรัมย์.
โรงเรียนหาดใหญ่เจริญราษฎร์พิทยา. (2562). แบบบันทึกผลการพัฒนาคุณภาพผู้
เรียน บันทึกผลการเรียน รายวิชาศิลปศึกษา (ปพ.5). สงขลา : โรงเรียน
หาดใหญ่เจริญราษฎร์พิทยา.
วรรณวิษา วงษ์วิจารณ์. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะ
ปฏิบัติของเดวีส์ รายวิชานาฏศิลป์ ชุดนาฏยาลีลาบ้านแหลม สำหรับ
นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดป่าพฤกษ์. นาฏศิลป์ศึกษา. ปทุมธานี:
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วรายุทธ มะปะทัง. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติ ตามแนวคิด
ของเดวีส์ เรื่องพื้นฐานนาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.
มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิไลรัตน์ แซ่เอี้ยว. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมชุมนุมนาฏศิลป์ เรื่องรำวง
มาตรฐานโดยใช้ทักษะปฏิบัติของ เดวีส์. ครุศาสตรมหาบัณฑิต.
สุราษฎร์ธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สุทธิพงษ์ นนท์ตุลา. หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ. สัมภาษณ์, 22 พฤศจิกายน
2564.
สุรพล วิรุฬรักษ์. (2544). นาฏศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชานาฏศิลป์
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุพงษ์ ยุรชัย. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนช่วย
เพื่อนประกอบแบบฝึกทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เรื่องรํามวย
โบราณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ครุ
ศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรและการเรียนการสอน. มหาสารคาม:
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อินทิรา ดีแป้น. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติการฟ้อนร้อยเอ็ด
เพชรงาม ตามแนวคิดของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ครุ
ศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรและการเรียนการสอน. มหาสารคาม:
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Davies, I.K. (1971). The Management of Learning. London: McGraw - Hill.