ISSN: 1906-117X

วารสาร

การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ร่วมกับการใช้สื่อประสมที่มีต่อทักษะการปฏิบัติทางนาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Learning management using Harrow’s Instructional model for psychomotor Domain together with Multimedia towards Dramatic Arts Practical Skills of Grade 1 students
ขอบเขต: หลักสูตรการสอน

รุ้งนภา ชุมประเสริฐ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

จุไรศิริ ชูรักษ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติทางนาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในรายวิชานาฏศิลป์ โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติแฮร์โรว์ร่วมกับการใช้สื่อประสม 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการปฏิบัติทางนาฏศิลป์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติแฮร์โรว์ร่วมกับการใช้สื่อประสมกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติแฮร์โรว์ร่วมกับการใช้สื่อประสม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/4 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 35 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติแฮร์โรว์ร่วมกับการใช้สื่อประสม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด x ̅ = 4.93, S.D. = 0.26 2) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติทางนาฏศิลป์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 และ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ร่วมกับการใช้สื่อประสม มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 วิเคราะข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (Single Samplet - test) ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ร่วมกับการใช้ สื่อประสมมีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.93, S.D. = 0.26) และทุกแผนการจัดการเรียนรู้สามารถนำไปใช้จริง 2) ทักษะการปฏิบัติทางนาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ร่วมกับการใช้สื่อประสม คิดเป็นร้อยละ 94.12 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ร่วมกับการใช้สื่อประสม อยู่ในระดับมาก (x ̅= 2.84, S.D. = 0.24)

Abstract

The objectives of this research were 1) to create a lesson plans to develop practical skills in the dramatic arts of grade 1 students in the dramatic arts course by using Harrow’s instructional model for psychomotor domain together with multimedia. 2) to compare the performance skills of grade 1 students after the application of learning management by using Harrow’s instructional model for psychomotor domain together with multimedia with 80% criteria and 3) to study the satisfaction of grade 1 students with the application of learning management using Harrow’s instructional model for psychomotor domain together with multimedia. The sample group in the research included grade 1/4 students who studied in the second semester of the academic year 2021 obtained by Cluster random sampling. The tools used in the research consisted of: 1) lesson plans using Harrow’s instructional model for psychomotor domain together with multimedia; which had the highest level of suitability x ̅= 4.93, S.D. = 0.26. 2) dramatic arts practical skill assessment form with a Index of Item objective congruence of 1.00 and a reliability value of 0.93 and 3) The satisfaction questionnaire for learning management using Harrow’s instructional model for psychomotor domain together with multimedia with a Index of Item objective congruence of 1.00 and a reliability value of 0.90. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation and T-test (Single Samplet - test). The results showed that: 1) The quality of lesson plans using Harrow’s instructional model for psychomotor domain together with multimedia was at the highest level of suitability (x ̅= 4.93, S.D. = 0.26). Every lesson plans can be implemented. 2) The practical skill scores on dramatic arts skills of grade 1 students after the application of lesson plans by using Harrow’s instructional model for psychomotor domain together with multimedia as a percentage 94.12 were higher than the 80 percent threshold with statistical significance at the .01 level. and 3) The satisfaction of students towards by using Harrow’s instructional model for psychomotor domain together with multimedia of grade 1 students was at a high level (x ̅= 2.84, S.D. = 0.24).

คำสำคัญ

การจัดการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์, ความพึงพอใจ, ทักษะการปฏิบัติทางนาฏศิลป์, รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์, สื่อประสม

Keywords

Dramatic arts learning management, Dramatic arts practical skills, Harrow's practice skills instructional model, Multimedia, Satisfaction

เอกสารอ้างอิง

กาญจนี ฉันสิมา. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์ เรื่อง เซิ้งเก็บสมุนไพรในสะเดาชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านยาง(อาสาพัฒนา 3) ตามแนวคิดของแฮร์โรว์. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนสอน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จันทร์จิรา ชาวบ้านเกาะ. (2554). การพัฒนาชุดสื่อประสมเรื่องระบบย่อยอาหารของสิ่งมีชีวิตกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารการประชุมวิชาการครั้งที่ 8. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน.
จารุณี ลิมปนานนท์. (2539). การใช้ชุดฝึกกิจกรรมนาฏศิลป์ด้วยตนเองสำหรับครูชั้นประถมศึกษาปีที่4. (ปริญญานิพนธ์การประถมศึกษา). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฐพัชร์ มหายศนันท์. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์เพื่อเสริมทักษะ เรื่องฟ้อนซอปั่นฝ้าย โดยวิธีการสอนทักษะปฏิบัติแฮร์โรว์. วารสารวิชาการคณะมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยนครสวรรค์. 7(2),65-75.
ณฐมน ชัยสว่าง. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของแฮร์โรว์สาระนาฏศิลป์เรื่องการประดิษฐ์ท่ารำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรและการสอน). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปนัดดา แสนสิงห์. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ประกอบสื่อประสม เรื่องรำวงมาตรฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต). สาขาหลักสูตรและการเรียนการสอน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
พุฒิญา อาจหาญ. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของแฮร์โรว์เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัติรำวงมาตรฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3. Journal of Modern Learning Development. 5(6), 214-224.
รสสุคนธ์ เพ็ญเนตร. (2561). การพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏยศัพท์และภาษาท่า โดยใช้การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับแนวคิดการสอนปฏิบัติของแฮร์โรว์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต). สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
เรณู โกศินานนท์. (2546). นาฏยศัพท์ : ภาษาท่านาฏศิลป์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
โรงเรียนอนุบาลอนุบาลยะลา. (2563). รายงานประจำปีของสถานศึกษา (SAR). ยะลา: โรงเรียนอนุบาลยะลา.
โรงเรียนอนุบาลอนุบาลยะลา. (2563). รายงานสรุปผลการเรียน. ยะลา: โรงเรียนอนุบาลยะลา.
วีระ ไทยพานิช. (2551). 57 วิธีสอน. กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศิรัญญา เทพชนะ. (2564). การพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ของเด็กปฐมวัยด้วยรูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติ ของแฮร์โรว์ร่วมกับเทคนิคการเสริมแรง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สุมิตร เทพวงษ์. (2547). สารานุกรม ระบำ รำ ฟ้อน. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
อุมารี นาสมตอง. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง การประดิษฐ์ท่ารำประกอบเพลงไทยสากล (รางวัลของครู) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนการกุศลวัดหนองแวง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.