ISSN: 1906-117X

วารสาร

แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

Guidelines for Development of Basic Educational Committee’s Participation in Academic Administration of Educational Expansion School under Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office
ขอบเขต: การบริหารการศึกษา

นริสา ชุมทอง

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ชัยอนันต์ มั่นคง

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของคณะ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาสมุทรสาคร และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 175 คน และทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามแบบตอบสนองคู่ และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีการเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น และแบบสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร มีดังนี้ 1) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานควรมีส่วนร่วมในการประชุมทบทวนในการจัดสรรของบประมาณ 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต้องมีส่วนร่วมในการประสานความร่วมมือในการส่งเสริมและระดมทรัพยากรทางการศึกษา 3) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต้องมีส่วนร่วมในประสานงานความร่วมมือและได้รับการตอบรับจากชุมชนทั้งในด้านการศึกษาวิชาการและด้านทักษะวิชาชีพต่างๆ เป็นผู้นำและเป็นตัวแทนของชุมชนในพื้นที่ นอกจากนั้นยังต้องมีบทบาทในการติดต่อประสานงานความร่วมมือระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาในการดำเนินหรือกิจกรรมโครงการต่างๆ

Abstract

The objectives of this research were to study: 1) the present condition and desirable condition of basic educational committee’s participation in academic administration of the educational expansion school under Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office and 2) guidelines for the development of basic educational committee’s participation in academic administration of the educational expansion school under Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office.The samples for the questionnaire included 175 basic educational committee in academic administration of the educational expansion school under Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office for the academic year 2021, obtained by the stratified random sampling. The interviewees were 6 school administrators. The research tools consisted of a questionnaire with dual response format and an interview form. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Priority Need Index, and content analysis for interview data. The study results showed that: 1) the present condition and desirable condition of basic educational committee’s participation in academic administration of the educational expansion school under Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office was, overall, at a high level and 2) guidelines for the development of basic educational committee’s participation in academic administration of the educational expansion school under Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office were as follows: (1) the basic educational committee should participate in a review meeting and give suggestion for budget allocation, (2) the basic educational committee should have cooperation, give opinions and recommendations to promote and assemble educational resources, and (3) the basic educational committee must coordinate with community, receive feedback concerning academic and professional skills from community, serve as leader or representative of local community, and liaise between community and educational institution for academic activities or projects.

คำสำคัญ

โรงเรียนขยายโอกาส, การมีส่วนร่วม, การบริหารงานโรงเรียน, คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Keywords

Educational Opportunity Expansion Schools, participation, school administration, school's basic education committee

เอกสารอ้างอิง

ชะโลม คุ้มวงษ์.(2560).ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี.(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
ณัชชา รอดสม.(2558).ความต้องการม่าวนร่วมของผู้ปกครองเด็กในการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.(การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์).
ธนพจน์ สายพวงเพชรโชติ.(2563,12 ตุลาคม).การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการบริหารงานวิชาการ.สืบค้นจาก:https://e-news.chaiyaphum3.go.th.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจิยทางพฤติกรรมศาสตรและสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
นิตยา แก้วแสนชัย.(2557).การบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4:พหุกรณีศึกษา.(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
บวรลักษณ์ ศักดิ์วิไลพร.(2553).ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2560). ทักษะการบริหารของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีจังหวัดปทุมธานี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
เพ็ญผกา กาญจนโนภาส.(2560).การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.(ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต,มหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์).
มนัญญา ปัดถาวงษ์.(2562).การศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี.(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี).
โรงเรียนวัดบางฝ้าย.(2550).คู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการสถานศึกษา.สมุทรปราการ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1.
ลัดดาวัลย์ สมตน.(2561).ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมกับงานประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
ลินดา ชุมภูศรี. (2557). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).
วิษณุ หยกจินดา.(2557).การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี.(วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยบูรพา).
วีณา เที่ยงธรรม,สุนีย์ ละกาปั่นและอาภาพร เผ่าวัฒนา.(2555).การพัฒนาศักยภาพของชุมชน:แนวคิดและการประยุกต์ใช้.กรุงเทพฯ:บริษัทแดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปเปเรชั่นจำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2547).คู่มือปฏิบัติงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์การศาสนา.
สิทธิชัย อุตทาสา.(2562).การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 14. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
สิทธิชัย อุตทาสา.(2562).การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 14. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
อัมพาพันธ์ ชูเจริญภิญโญ.(2560).ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความเข้าใจของประชาชนกับการมีส่วนร่วมในการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลบางเกลือ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา.(รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์).
อัศวรินทร์ แก่นจันทร์.(2562).การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี).
อุทัย บุญประเสริฐ.(2545).การบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน.กรุงเทพมหานคร:คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.