ISSN: 1906-117X

วารสาร

การจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาโดยใช้พิพิธภัณฑ์เป็นฐานในศตวรรษที่ 21

The 21st century art education in Museums-based Learning.
ขอบเขต: ศิลปวัฒนธรรมเพื่อการศึกษา

อนิวัฒน์ ทองสีดา

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษา ภายใต้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ในสาระทัศนศิลป์ ให้ผู้เรียนสามารถคิด วิเคราะห์ วิพากษ์ และวิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์ได้ สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งสร้างความเป็นพลเมืองที่มองเห็นคุณค่า เข้าใจ ให้ความสำคัญกับความแตกต่าง และความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรม แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 ยังมีเป้าหมายการจัดการศึกษา เพื่อให้คนไทยคนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 ในขณะเดียวกัน การศึกษาอนาคตของพิพิธภัณฑ์และการศึกษาขององค์กรพันธมิตรพิพิธภัณฑ์อเมริกา (American Alliance of Museum) ยังระบุถึง บทบาทด้านการศึกษาของพิพิธภัณฑ์อย่างชัดเจนว่า จะต้องเป็นไปเพื่อสนับสนุนการพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ความคิดวิจารณญาณ การสังเคราะห์ข้อมูล ศักยภาพในการสร้างนวัตกรรมและการคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Kratz & Merritt, 2011) การจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาโดยใช้พิพิธภัณฑ์เป็นฐาน จึงถือเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม และสอดคล้องกับเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ได้เป็นอย่างดี ผู้เขียนจึงขอนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาโดยใช้พิพิธภัณฑ์เป็นฐาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกรณีศึกษา และแนวทางในการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาที่ส่งเสริมต่อทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาสำหรับผู้เรียนในช่วงวัย ต่าง ๆ ได้ ผ่านการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และกรณีศึกษา วิเคราะห์สาระสำคัญ และนำเสนอในหัวข้อ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 การจัดการเรียนรู้โดยใช้พิพิธภัณฑ์เป็นฐาน กรณีศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้พิพิธภัณฑ์เป็นฐาน และแนวทางการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาโดยใช้พิพิธภัณฑ์เป็นฐาน

Abstract

Art education Under the Basic Education Core Curriculum, B.E. 2551, the learning standards are set. Art learning subject group in the visual arts to enable students to think, analyze, critique, and critique works of visual art. This is in line with the 21st century learner's key skills development approach that aims to create citizenship that sees values, understands, and values differences and cultural diversity. The National Education Plan 2017-2036 also has the goal of providing education for all to receive quality education and lifelong learning, live happily in line with the philosophy of sufficiency economy and changing the world in the 21st century. A study on the future of museums and education of the American Alliance of Museums also clearly identifies the role that museums play in education. It must be to support the development of learners' skills in the 21st century, including critical thinking. Data synthesis the potential for innovation and creativity and the ability to work with others. Art education in Museum-based Learning it is considered an appropriate learning management approach. And it is in line with the important goals of student development in the 21st century as well. Therefore, the author would like to present a case study. And guidelines for the management of art education that promote the skills of learners in the 21st century by applying in art education learning management for learners of various ages through the study of concepts, Theories and case studies, analysis of the essence and presented on the topic Features of 21st Century, Museum-Based Learning, Management Case study of museum-based learning management and approaches to art education in Museums-based Learning.

คำสำคัญ

การจัดการเรียนรู้, พิพิธภัณฑ์เป็นฐาน, ศิลปศึกษาศตวรรษที่ 21

Keywords

Learning Management, Museum-based, Learning 21st Century, Art Education

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ. (2558). แนวทำงกำรจัด
ทักษะกำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะสาขาวิชาชีพ. จาก
http://www.thaischool1.in.th
รัญชนา สายะสิญจน. (2563). บทบาทสภาศิลปะแห่งชาติสิงคโปร์กับแผนการ
ยกระดับความสุขในสังคมด้วยศิลปะ กรณีศึกษา : ละครเวที. (ภาคนิพนธ์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา). คณะ
ศิลปศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และคณะ. (2564). ปรับกระบวนทัศน์ : การจัดการเรียนรู้
โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อสร้างเสริมทักษะสำคัญของผู้เรียนยุค
ประเทศไทย 4.0. วารสารครุศาสตร์สาร, 15(2), 16-30.
ปทุมมา บำเพ็ญทาน. (2560) รูปแบบการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ในการเรียนรู้ศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยของไทยในพิพิธภัณฑ์ศิลปะ
(วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา
ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา). คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
พิเชษฐ ยังตรง และคณะ. (2560). กลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณะที่พึง
ประสงค์ของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในศตวรรษที่ 21.
สุทธิปริทัศน์, 31(100), 1-12.
Puji Astuti E. et al. (2020). Teachers' Perceptions of Museum-
Based Learning and Its Effects on Creativity: A Preliminary
Study. Proceedings of the 4th International Conference on
Arts and Arts Education (ICAAE 2020) (pp. 215-221).
Pringle E. (2018). Teaching and Learning in the Art Museum. from
https://doi.org/10.1093/acrefore /9780190264093.013.399.
Khabour A. (2021). Museum Based Learning. Retrieved from
https://www.academia.edu/49202741/Museum_Based_
Learning.
Min Li F. 2018. Artefactually Speaking: A New Museum-based
Learning Programme at the National Museum of Singapore.
BEST PRACTICE 8: A tool to improve museum education
internationally. International Council of Museums (ICOM).
Radaideh B. (2012). The Contribution of Art Museum to Art
Education. Journal of Social Sciences, 2012, 8 (4), 505-511.