ISSN: 1906-117X

วารสาร

การพัฒนาแบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์แบบอินโฟกราฟิกในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด

The Development of an Analytical Thinking Skill Test Using Infographics in the Context of a Multicultural Society: An Application of Generalizability Theory
ขอบเขต: การวัดและประเมินผลการศึกษา

ปริศรา อิสโร

มหาวิทยาลัยทักษิณ

ธนิยา เยาดำ

มหาวิทยาลัยทักษิณ

เมธี ดิสวัสดิ์

มหาวิทยาลัยทักษิณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์แบบอินโฟกราฟิกในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม 2) เพื่อพัฒนาเกณฑ์การตรวจให้คะแนนทักษะการคิดวิเคราะห์แบบอินโฟกราฟิกในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม 3) เพื่อเปรียบเทียบความเชื่อมั่นของแบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์แบบอินโฟกราฟิกในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม ตามทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต 3 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 120 คน ซึ่งได้ตัวอย่างจากการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบวัดทักษะทักษะการคิดวิเคราะห์แบบอินโฟกราฟิกในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม 2) เกณฑ์การตรวจให้คะแนนแบบรูบริคส์ วิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนก สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ สถิติพื้นฐานและสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิง ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์แบบอินโฟกราฟิกในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม ได้ยึดตามแนวคิดของมาร์ซาโนที่กำหนดกรอบการวัดการคิดวิเคราะห์ไว้ 5 ด้าน โดยแบบวัดเป็นแบบสถานการณ์ลักษณะอินโฟกราฟิกที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรมรูปแบบการตอบเป็นการเขียนตอบ จำนวน 15 ข้อ และตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดโดยวิเคราะห์คุณภาพแบบวัดทั้งรายข้อและทั้งฉบับ ได้แก่ ค่าความยากง่าย มีค่าตั้งแต่ 0.38 - 0.79 ค่าอำนาจจำแนก มีค่าตั้งแต่ 0.21 - 0.61 ค่าความเชื่อมั่นในการตรวจให้คะแนนจากผู้ตรวจคนเดียว มีค่าตั้งแต่ 0.70 – 0.93 และค่าความเชื่อมั่นในการตรวจให้คะแนนระหว่างผู้ตรวจ มีค่าตั้งแต่ 0.75 – 0.89 2)เกณฑ์การตรวจให้คะแนนแบบรูบริคส์ มี 4 ระดับ คือ ดีมาก (4 คะแนน) ดี (3 คะแนน) พอใช้ (2คะแนน) และปรับปรุง (1 คะแนน) ค่าดัชนีความสอดคล้องที่คำนวณได้มีค่าตั้งแต่ 0.80-1.00 3)ความแปรปรวนของคะแนนปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอบกับข้อสอบ มีค่ามากที่สุด ส่วนความแปรปรวนของปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอบกับผู้ตรวจ มีค่าน้อยที่สุด การตัดสินใจการสรุปอ้างอิงของแบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์แบบอินโฟกราฟิกในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม พบว่า เมื่อมีผู้ตรวจจำนวน 1 คน ควรใช้แบบวัดที่มีจำนวนข้อสอบ 15 ข้อ และเมื่อมีผู้ตรวจจำนวน 2 คน ควรเลือกใช้แบบวัดที่มีจำนวนข้อสอบ 10 ข้อ ซึ่งจะทำให้มีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.70 ขึ้นไป จึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุด

Abstract

The objectives of the research were; 1) to develop an analytical thinking skill test in the context of a multicultural society, using infographics, 2) to develop scoring criteria for an analytical thinking skill test in the context of a multicultural society, using infographics, and 3) to apply generalizability theory to measure the reliability of an analytical thinking skill test in the context of a multicultural society, using infographics. The sample group consisted of 120 Grade 6 students in academic year 2021, in the secondary educational service area office 3, Songkhla Province. A multi-stage random sampling method was used. The instruments used in the research were; 1) an analytical thinking skill test in the context of a multicultural society, using infographics, and 2) scoring rubrics. The quality of the test was examined regarding content validity, difficulty index, and discriminating power. The statistical analysis employed were descriptive statistics, and G-Coefficient. The research resulted in; 1) the development of a subjective analytical thinking skill test in the context of a multicultural society, using infographics, containing 15 questions, based on the Marzano 5 dimensions of learning. The construct validity, measuring individual questions against the entire test, showed a difficulty index range from 0.30 to 0.79, discriminating power range from 0.21 to 0.61, intra-rater reliability range from 0.70 to 0.89, and inter-rater reliability range from 0.75 to 0.89, 2) the development of scoring rubrics using 4 grading scales; excellent (4 points), good (3 points), fair (2 points), and poor (1 point). The IOC result ranged from 0.80 to 1.00, 3) the discrimination index between the test-takers and the test, was shown to be at the highest level, whilst the discrimination index between the test-takers and rater, was at the lowest level. Applying generalizability theory found that in the case of 1 rater, the test should be designed for 15 questions, whereas in the case of 2 raters, the test should be designed for 10 questions, to get a reliability score of 0.79, or above, which is the most efficient result of an analytical thinking skill test in the context of a multicultural society, using infographics.

คำสำคัญ

การคิดวิเคราะห์, ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด, พหุวัฒนธรรม, อินโฟกราฟิก

Keywords

analytical thinking, generalizability theory, multicultural societies, infographics

เอกสารอ้างอิง

โกวิท ประวาลพฤกษ์. (2527). การประเมินในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในศตวรรษที่ 21. (2551). การเรียนรู้: ขุมทรัพย์ในตน learning:the treasure within. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาแห่งชาติ
จิรัชญา แสงยนต์. (2560). การสร้างแบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามแนวคิดของมาร์ซาโน. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชนิสรา สงวนไว้. (2558). การเปรียบเทียบความเที่ยงของแบบสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของ ผล การวัด. วิทยานิพนธ์. ครุศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไซลัน สาและ. (2548). เกณฑ์การให้คะแนน. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2565, จาก https://ded.edu.kps.ku.ac.th
ดิเรก พรสีมา. (2559). ครูไทย 4.0. มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.matichon.co.th /news/345042.
ทศพล เชี่ยวชาญประพันธ์. (2543). การปฏิรูปการศึกษาในมุมมองของเด็กไทย. กรุงเทพฯ :พิมพลักษณ์.
บุษวรรษ์ แสนปลื้ม. (2556). การใช้วิธีการตรวจคุณลักษณะและสัดส่วนจานวนผู้ตรวจให้คะแนนที่มีผล ต่อความเที่ยงตรงของการวัดความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีทื่3. ดุษฎี นิพนธ์. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เยาวดี วิบูลย์ศรี. (2548). การวัดผลและการสร้างแบบสอบผลสัมฤทธิ์ .(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544). หลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฎพระนคร.
โพยม จันทร์น้อย. (2560). การศึกษา 4.0. ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้น 17 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9600000025195.\
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สุริวิ ยาสาส์น.
วนิดา ภู่เอี่ยม. (2559). การเปรียบเทียบสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงและความแปรปรวนของความ คลาดเคลื่อนระหว่างแบบสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์แบบประเพณีนิยมกับแบบสองระดับ. วิทยานิพนธ์. ครุศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ. (2563). อินโฟกราฟิก(แนวคิดเบื้องต้น): สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2564, จาก https://web.rmutp.ac.th/woravith/?page_id=1991
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2559). สกอ.พัฒนานักศึกษาสู่ ไทยแลนด์ 4.0. อนุสาร อุดมศึกษา. 43 (462) : 11-13
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร : สํานักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). การสำรวจสภาวะทางสังคม วัฒนธรรมและสุขภาพจิต(ความสุข) คน ไทย พ.ศ. 2557. รายงานการสำรวจ. กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติ แห่งชาติ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจสภาวะทางสังคม วัฒนธรรมและสุขภาพจิต พ.ศ. 2561. รายงานการสำรวจ. กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สำนักวิชาการและมาตรฐาน. (2554). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุพัฒน์ สุกมลสันต์. (2540). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการอ้างอิงสรุปเพื่อให้คะแนนการสอบ เรียงความและการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใช้งาน. กรุงเทพฯ : สถาบันภาษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หทัยชนก กูรมะสุวรรณ. (2560). การพัฒนาแบบวัดทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียน มัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์. ครุศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Coffman, W. E. (1971). Essay examinations. Educational measurement, 2, 271-302
Nunnally, J. C. (1987). Psychometric theory (2rd ed.). New York, NY: McGraw-Hill