ISSN: 1906-117X

วารสาร

การศึกษาความต้องการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

The study of needs for developing the potential of BanSomdejchopraya Rajabhat University students in 21st century learning skills
ขอบเขต: สังคมศาสตร์เพื่อการศึกษา

การะเกด หัตถกิจวิไล

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วิเชียร ทุวิลา

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) เปรียบเทียบความต้องการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ระหว่างคณะ ระหว่างเพศ และ 3) เสนอแนะแนวทางกิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2560 ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan. 1970) จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) และการทดสอบค่าที (t-test independent) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ความต้องการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาที่สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยรวม พบว่า มีความต้องการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาที่สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมาก โดยด้านกลุ่มทักษะชีวิตและอาชีพมีความต้องการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาที่สอดคล้องกับทักษะ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านกลุ่มทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และด้านกลุ่มทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีนวัตกรรม ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาที่สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ระหว่างคณะ พบว่า นักศึกษาทั้ง 4 คณะ มีความต้องการพัฒนาศักยภาพที่สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไม่แตกต่างกัน 3) การเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่ที่สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ระหว่างเพศ พบว่า นักศึกษาเพศชายและนักศึกษาเพศหญิง มีความต้องการพัฒนาศักยภาพที่สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไม่แตกต่างกัน 4) แนวทางพัฒนาศักยภาพนักศึกษาที่สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) โครงสร้างการบริหารงาน (Structure) 2) บุคลากร (Personnel) 3) บทบาทหน้าที่ของบุคลากร (Function) 4) กิจกรรมนันทนาการ (Activity) 5) สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก (Facility) 6) งบประมาณ (Budget) และ 7) ระยะเวลา (Time)

Abstract

This study aimed to 1) study the needs for developing the potential of Bansomdej Chaopraya Rajabhat University students in the 21st century learning skills. 2) to compare the needs of the potential of Bansomdej Chaopraya Rajabhat University students in the 21st century learning skills between faculties and genders, and 3) to suggest the activities’ guidelines for developing the potential of Bansomdej Chaopraya Rajabhat University students in the 21st century learning skills. The simple random sampling and used Krejcie and Morgan Table (Krejcie and Morgan, 1970) were 400 students at Bansomdej Chaopraya Rajabhat University undergraduate studies for the academic year 2017 . Data was collected through the questionnaire. Then, analyzed with descriptive statistics, one-way ANOVA, and t-test independent. The research findings were as followed: 1) The needs for developing the potential of students in the 21st century learning skills as a whole with a high level. In terms of life skills and careers skills, there is the highest of the needs for developing the potential of students in the 21st century learning skills, followed by the learning skills and innovation skills, and information, media, and technology skills, respectively. 2) The comparison of the needs for developing the potential of students in the 21st century learning skills between faculties found that students from all 4 faculties were no different in the needs for developing the potential of students in the 21st century learning skills 3) The comparison of the needs for developing the potential of students in the 21st century learning skills between sex found that males and females were no different in the needs for developing the potential of students in the 21st century learning skills. 4) Seven guidelines for developing the potential of student in the 21st century learning skills were: 1) Structure, 2) Personnel, 3) Function, 4) Activities, 5) Facilities, 6) Budget, and 7) Time.

คำสำคัญ

การพัฒนาศักยภาพนักศึกษา, ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21, กิจกรรมนันทนาการ

Keywords

The needs for developing the potential of students, The 21st century learning skills, Activities

เอกสารอ้างอิง

กรรณิกา พันธ์ศรี, รังสรรค์ โฉมยา และอารยา ปิยะกุล. (2564). เพศสถานะกับพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตัวเอง : การศึกษาข้ามวัฒนธรรม (ไทย ออสเตรเลีย). วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(2), 16-26.
กระทรวงศึกษาธิการ. 2546. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
ขวัญชัย พะยอม. (2550). แนวทางพัฒนาการจัดกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
จตุรวัฒน์ ผนึกรัมย์. (2557). การมีส่วนร่วมในกิจกรรมนักศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ปีการศึกษา 2556. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
จุไรวรรณ ส่งวงษ์จินดา. (2559). ความต้องการในการเข้าร่วมกิจกรรมของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ชัยยงค์ จันทร์ศรี. (2554). การศึกษาความต้องการในการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ (จอมทอง) .
ชุติมา ชุมพงศ์. (2558). โมเดลเชิงสาเหตุและผลของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีแรงจูงใจในการเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่าน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นราธิป ปากหวาน. (2551). ความต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของนักศึกษาภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
เบญจวรรณ บุณยะประพันธ์. (2563). การพัฒนาคู่มือเพื่อสร้างการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษาระดับ
ปริญญาตรี. วารสารศิลปศาสตร์ประยุกต์, 13(1),74-85.
ปรียาพร วงศ์บุตรโรจน์. (2535). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
ผุสดี กว้างวิทยากุล. (2553). ความต้องการรูปแบบการจัดกิจกรรมนักศึกษา ของนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 3
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พิทยา บวรวัฒนา. (2550). ความหมายของการบริหารจัดการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาวดี เหมทานนท์ และอมาวสี อัมพันศิริรัตน์. (2563). ผลของรูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีการสะท้อนคิด
ต่อการตระหนักรู้ในตนเองในนักศึกษาพยาบาล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(7), 275-287.
มนตริน ยิ่งยง. (2554). รายงานการวิจัยเรื่องความต้องการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 ที่จัดโดยวิทยาเชตบางนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (กองงานวิทยาเขตบางนา สำนักงานอธิการบดี). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รุ่งทิวา เนื้อนา. (2560). แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในกิจกรรมนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
วิเชียร ทุวิลา. (2563). รูปแบบการจัดการกิจกรรมนันทนาการสำหรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่ายกรุงเทพมหานครและภาคกลาง. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตการจัดการกีฬาและนันทนาการ). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ศศิธร โรจน์สงคราม. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. (ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปกร
ศุภลักษณ์ ร่วมจิตร. (2556). ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. ภาคนิพนธ์ บธ.ม. (การบริหารธุรกิจ). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
สมบัติ กาญจนกิจ. (2535). นันทนาการชุมชนและโรงเรียน.กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สริญญา แพทย์พิทักษ์. (2553). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลวังกระแจะ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
Martin D., Robert S., & Stefan J. (2020). motivation of higher education faculty: theoretical approaches, empirical evidence, and future directions. International. Journal of Educational Research, 99. https://doi.org/10.1016/j.ijer.2019.101502