ISSN: 1906-117X

วารสาร

การศึกษากับซอฟต์พาวเวอร์

Education and Soft Power
ขอบเขต: การบริหารการศึกษา

พนัส จันทร์ศรีทอง

มหาวิทยาลัยเกริก

บทคัดย่อ

การพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย จำเป็นต้องวางแผน และกำหนดวิธีปฏิบัติเพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถดำเนินการได้ตรงตามความต้องการ และใช้เป็นเครื่องมือนำทางในการพัฒนาการศึกษาในหน่วยงานของตนเองได้อย่างมีคุณภาพต่อไปในอนาคต เป้าหมายสำคัญที่ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษาในทุกระดับ โดยได้มีการกำหนดเป้าหมายด้านผู้เรียน เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มี คุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ทักษะ 3R ได้แก่ การอ่านออก การเขียนได้ และการคิดเลขเป็น และ 8C ได้แก่ ทักษะการสร้างสรรค์ ทักษะทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทักษะทางด้านความสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรม ทักษะทางด้านการสื่อสาร ทักษะในการสร้างความร่วมมือ ทักษะในการเผชิญวิกฤตและการแก้ปัญหา ทักษะการเรียนรู้อย่างไม่หยุดนิ่ง และ ทักษะวิชาชีพเชิงลึก ซึ่งเป้าหมายของการจัดการศึกษา คือ ประชากรทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานอย่างทั่วถึง ผู้เรียนทุกคนทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานอย่างเท่าเทียม การขยาย เผยแพร่ วัฒนธรรม ค่านิยม การศึกษาเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญที่สุดระดับโลก การปรับตัวให้ทันต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้เกิดประโยชน์แก่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยิ่ง เกิดเป็นรูปแบบบุคคลที่ต้องเป็นผู้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้เท่าทันโลก สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต และเป็นบุคคลแห่งศตวรรษที่ 21 หรือศตวรรษหน้าต่อไป

Abstract

Thailand's Educational Development is necessary for planning and formulating practices so the practitioners can take actions to meet their needs and use them as a guiding tool for the education quality development in their departments in the future. The key goals that used to guide the education development in all levels have been set for the learner goal. Features and learning skills in the 21st century using 3R skills including reading, writing, and arithmetic and 8C include Creativity Skill, Computers Technology Skill, Cross-cultural Relationship Skill, Communication Skill, Collaboration Skill, Critical Thinking Skill, Continuous Learning Skill, and Career in Deep Skill. The goal of educational management is people to equitable participation in quality and standard education. All learners in all target groups receive a quality education with equal standards. Expanding, disseminating, culture, values, education is one of the most important globally tools. Adapting to rapidly changing events brings great benefits to human resource development. To be a person who always develop himself to keep up with the world can learn for life and be the person of the 21st century or the next century.

คำสำคัญ

ซอฟต์พาวเวอร์, การพัฒนาการศึกษา, ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

Keywords

soft power, educational development, 21st century skills

เอกสารอ้างอิง

ขวัญใจ เตชเสนสกุล. (2562). เวียดนามกับการก้าวขึ้นแท่นฐานการผลิตสำคัญของโลก. การเงินธนาคาร, 447, 155-157.
ชาญศักดิ์ ศรีสวัสดิ์สกุล และคณะ. (2560). โครงการสำรวจสถานะของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบท ประเทศไทย และทางเลือกมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ สังคม และกฎหมาย” เป้าหมายที่ 4.
ชำนาญ จันทร์เรือง. (2564). ซอฟต์พาวเวอร์ คืออะไร. สืบค้น 13 มีนาคม 2565, จาก https://
www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/columnist/968174/
ทักษ์ อุดมรัตน์. (2564). ศึกษาการพัฒนาการศึกษาเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ของโลก: กรณีศึกษาประเทศมาเลเซีย. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal, 27(2), 9-32.
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2560). การพัฒนาการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง. Suthiparithat (Journal of Business and Innovation: SJBI), 31(100), 100-113.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2564). ผู้บริหารสถานศึกษายุค 4.0 กับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC). วารสาร บริหารการศึกษา บัวบัณฑิต, 21(1), 33-40.
วีระศักดิ์ บุญญดิษฐ์, โยธิน ทองเนื้อแข็ง, ชนิศร์ ชูเลื่อน, และรัชช เมธจันทนวล. (2564). การพัฒนาการศึกษาสู่ ศตวรรษ ที่ 21. JOURNAL MAHA CHULA ANIMAHA CHULALONGKORN RAJAVIDYALAYA UNIVERSITY, 3(5), 53-63.
ศศิมา สุขสว่าง. (2562). การคิดเชิงวิเคราะห์ 5 ขั้นตอน. สืบค้น 22 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.sasimasuk.com/15848561/การคิดเชิงวิเคราะห์-5-ขั้นตอนanalytical-thinking/
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแหงชาติ พ.ศ.2560 - 2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟค
Amirbek, A., & Ydyrys, K. (2014). Education and soft power: Analysis as an instrument of foreign policy. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 143, 514-516.
Cowan, G. & Arsenault A. (2008). Moving from Monologue to Dialogue to Collaboration: The Three Layers of Public Diplomacy, The ANNALS of the American Academy of Political and Social Science 2008; 616; 10, s.10-30.
Nye, J. (2005). Soft power and higher education. In Forum for the future of higher education (pp. 11-14). Harvard University.
Nye, J. (2008). Public Diplomasi and Soft Power, The Annals of the American Academy of Political and Social Science, 616 (94), s. 94-103
Nye, J. (2009). Smart Power, New Perspectives Quaterly, Vol. 26, İssue 2, s. 7-9
Tasteatlas. (2022). 10 Best Rated SOUPS in the World. Retrieved 1 August 2022. From https://www.tasteatlas.com/best-rated-soups-in-the-world/