ISSN: 1906-117X

วารสาร

ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3

The Digital Leadership of School Administrators Affecting Internal Quality Insurance in Banglamung School Cluster1 Under the Office of Chonburi Primary Educational Service Area 3
ขอบเขต: การบริหารการศึกษา

พลธาวิน วัชรทรธำรงค์

โรงเรียนอนุบาลบางละมุง สพป.ขลบุรี เขต 3

ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์

มหาวิทยาลัยบูรพา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 166 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 14 คน และครูผู้สอน 152 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์ดิจิทัล ด้านความสามารถดิจิทัล ด้านการสื่อสารดิจิทัล ด้านวัฒนธรรมดิจิทัล และด้านความรู้ดิจิทัล ตามลำดับ 2. การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา ด้านกำหนดมาตรฐานการศึกษา ด้านการดำเนินงานตามแผนการจัดการศึกษา ด้านการติดตามผลการดำเนินงาน ด้านการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง และด้านประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ตามลำดับ 3. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 มีความสัมพันธ์กันในทางบวกในระดับมาก (rXy=.784) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ด้านที่มีอำนาจพยากรณ์คือ ด้านวิสัยทัศน์ดิจิทัล (X1) ด้านความสามารถดิจิทัล (X3) ด้านความรู้ดิจิทัล (X2) ด้านวัฒนธรรมดิจิทัล (X5) และด้านการสื่อสารดิจิทัล (X4) พยากรณ์ได้ร้อยละ 74 และสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานคือ Z´y = .628X1 +.506X3 +.354X2 + .246X5 +.228X4

Abstract

This research aimed to investigate the digital leadership of school administrators affecting internal school quality Insurance at Banglamung school cluster1 under the office of Chonburi primary educational service area 3. The sample was totally 166 persons, consisted of 14 school administrators and 152 teachers in schools which were obtained by the means of stratified random sampling. The tools used in the research was a set of 5-rating scale questionnaires. The statistics used in the data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson Product Moment Correlation Coefficient and Multiple Regression Analysis. The findings of the research were as follow: 1. The digital leadership of school administrators at Banglamung school cluster1 under the office of Chonburi primary educational service area 3 as a whole was at a high level, ranking from high to low of mean scores, there were digital vision, digital capability, digital communication, digital culture and digital knowledge respectively. 2. The internal school quality Insurance at Banglamung school cluster1 under the office of Chonburi primary educational service area 3 as a whole was at a high level, ranking from high to low of mean scores, there were educational development plans, setting educational standards, implementation of the educational management plan, follow-up on performance, self-assessment report preparation and evaluation and quality assurance of education. 3. The digital leadership of school administrators and the internal school quality Insurance at Banglamung school cluster1 under the office of Chonburi primary educational service area 3 was significantly positive correlation at a high level (rXy=.784) of .05 respectively. 4. The digital leadership of school administrators affected to the internal school quality Insurance at Banglamung school cluster1 under the office of Chonburi primary educational service area 3 which can be accounted for digital vision (X1), digital capability (X3), digital knowledge (X2), digital culture (X5) and digital communication (X4) and could concurrently predicted for 74.00% on the internal school quality Insurance in those schools at a level of .05 respectively. It could be a written equation in standardized score as; Z’y = .628X1 +.506X3 +.354X2 + .246X5 +.228X4

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำดิจิทัล ประกันคุณภาพภายใน กลุ่มโรงเรียน

Keywords

Digital Leadership, internal quality Insurance, School Cluster

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แผนและนโยบายการจัดการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
ณภัทรารัตน์ ศรีเจริญ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(3), 70-76.
ภาณุวัฒน์ เหมนวล พัชนี กุลฑานันท์ และ วินิรณี ทัศนะเทพ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำผู้บริหารสถานศึกษากับการดําเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 (รายงานผลการวิจัย). บุรีรัมย์ : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
รัตนา เหลืองาม. (2562). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดจันทบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี).
เลอศักดิ์ ตามาและสุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบ ประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วารสารรัชตภาคย์, 15(38), 224-240.
ศรัญญา วันลักษณ์ และพัชรา เดชโฮม. (2564). การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์) สำนักงานเขตบางแค กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 15(2), 138-150.
ศิรินทร ดงเรืองศรี. (2561). การดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. (งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภวัช เชาวน์เกษม, วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์ และสุดารัตน์ สารสว่าง. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1.
(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
สุรีรัตน์ รอดพ้น นเรศ ขันธะรี และสุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(35), 37-45.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2550). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.
Eric Sheninger. (2019). International Center for Leadership in Education: Pillars of Digital Leadership in Education. 29 May 2022. Retrieved from https://learned.com/pillars-of-digital-leadersahip.
Kayla R. England and Barbara N.Martin. (2018). Leading in a Digital Age: Digital Leaders’ Impact on the Professional Development Culture in a Secondary School Setting. A Dissertation in Partial of
the Requirements for the Degree of Doctor of Education at the University of Missouri, USA.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.
Mat Rahimi Yusof, Mohd Faiz Mohd Yaakob and Mohd Yusri Ibrahim. (2019). Digital Leadership Among School Leaders in Malaysia. International Journal of Innovative Technology and Exploring Engineering (IJITEE), 8(9); 1481-1485.
N. Hafiza Hamzah, M. Khalid M. Nasir and Jamalullail Abdul Wahab (2021). The Effects of Principals’ Digital Leadership on Teachers’ Digital Teaching during the Covid-19 Pandemic in Malaysia. Journal of Education and e-Learning Research, 8(2); 216- 221.
Nane-Ejeh, S. O., & Chiaha, G. T. U. (2015). Quality assurance indicators for school transformation: a paradigm shift. International Letters of Social and Humanistic Sciences, 42, 72-81. 29 May 2022. Retrieved from https://doi.org/10.18052/www.scipress.com/ ILSHS.42.72