วารสาร
องค์ประกอบเชิงยืนยันการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านของนักเรียน ในระดับประถมศึกษา
เพ็ญพร ทองคำสุก
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
สุภาพร ศรีหามี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ฑิตยา สิทธิโสภาสกุล
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ศศิกัญชณา เย็นเอง
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
สุเมธ พัดเอี่ยม
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
นิรันดร์ สุธีนิรันดร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อองค์ประกอบเชิงยืนยันการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านของนักเรียนในระดับประถมศึกษา เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เข้ารับการอบรมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กร่วมกับคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 300 คน ด้วยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติชั้นสูง แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ พบว่า การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านของนักเรียนในระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย ความรู้ความเข้าใจ ทักษะการอ่าน ทัศนคติต่อการอ่าน เทคโนโลยี และนวัตกรรม โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งพิจารณาได้จากค่าไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 278.98; p=0.00000 ที่องศาอิสระเท่ากับ 185 และดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.93 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.95 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า (RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.042
Abstract
The Purpose of this Research was to Analyze the Confirm Factor Analysis of Learning in Reading, Writing and Critical Thinking among Students at the basic Education Level. Case Study: Educational Quality Improvement and Local Development Project of a Mentoring and Coaching of Lower Central Region Higher Education Network.Data were Collected by Questionnaires from the Sample Group in Project of Training to Improve the Quality of Education in Small Schools with the Faculty of Education of Bansomdejchaopraya Rajabhat University, Academic Year 2021, consisted of 300 Persons by Stratisfied Random Method. Analyze data with Advanced Statistical Programs. The Questionnaire had a Confidence Value of .91. The Results of the Confirm Factor Analysis Revealed that the Model was consistent with the Empirical Data consist of Understanding Skills Attitude TEchnology and Innovation. This is Determined by the Chi-square Value of 278.98; p=0.00000 at Degrees of Freedom 185 and the Goodness Fit of Index (GFI) of 0.93, the Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) of 0.95. The Comparative Fit Index (CFI) was 0.99 and Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) was 0.042.
คำสำคัญ
นวัตกรรม, การอ่าน
Keywords
Innovation, Reading
เอกสารอ้างอิง
จรรจา สุวรรณทัต. (2540). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยา. เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาจิตวิทยาทั่วไป หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี : สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). สถิติชวนใช้. กรุงเทพมหานคร: ไอคอนพริ้นติ้ง.
บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2545). การประเมินการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแนวคิดและวิธีการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัทวัฒนาพานิช จำกัด.
วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2561). โครงการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของคณาจารย์ รุ่นที่ 5 ครั้งที่ 2. ระหว่างวันที่ 17 - 19 ธันวาคม 2561 ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ณ โรงแรมกรีนเนอรี่ รีสอร์ท เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. สำนักพิมพ์ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์: กรุงเทพฯ.
วิโฬฏฐ์ วัฒนานิมิตกูล. (2561). โครงการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของคณาจารย์ รุ่นที่ 5 ครั้งที่ 2. ระหว่างวันที่ 17 - 19 ธันวาคม 2561 ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ณ โรงแรมกรีนเนอรี่ รีสอร์ท เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา.
สมบูรณ์ สุริยวงศ์ และคณะ. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
สุปราณี สายช่วย และคณะ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อนิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 โรงเรียนในกลุ่มเครือข่าย การบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบบูรณาการ วังหิน 1 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. ปีที่ 14, ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2563. การศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
Ausbel, D.P. (1968). Education Psyshology : A Cognitive View. New York: Holt, Rinehart and Winston.
Bruner, J. (1983). Child’s Talk. New York: W. W. Norton.
Bruner, J.S. (1969). The Process of Education. New York: Harvard University Press.
Krejcie, Robert V., and Morgan, Daryle W. (1970). “Determining sample size for research activities. Education and Psychological Management 30(3): 108.
Piaget, J. (1963). The Origins of Intelligence in Children. New York: W.W. Norton and Company, Inc.
Vygotsky, L.S. (1978). Mind in Society : The Development of Psychological Processes. Cambridge MA: Harvard University Press.
Vygotsky, L.S. (1987). Instructional Implication, and Applications of Social Stoical Psychology. New York : Cambridge University Press.