ISSN: 1906-117X

วารสาร

การศึกษาผลสัมฤทธิ์และเจตคติที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค TAI กับการเรียนรู้แบบปกติ

A STUDY OF MATHEMATICAL ACHIEVEMENT AND ATTITUDE TOWARD MATHEMATICS LEARNING ON PROBABILITIES OF MATTHAYOMSUKSA 5 STUDENTS USING TEAM ASSISTED INDIVIDUALIZATION AND TRADITIONAL TEACHING METHOD
ขอบเขต: คณิตศาสตร์เพื่อการศึกษา

รัชพล เสิบกลิ่น

โรงเรียนชุมชนบ้านเมืองการุ้งมิตรภาพที่ 52

นันทพร ชื่นสุพันธรัตน์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ปรวีณ์ โชติพิทยสุนนท์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI และรูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI และ (3) ศึกษาเจตคติที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนปัญญาวรคุณ จำนวน 2 ห้องเรียน ทั้งหมด 43 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น และแบบสอบถามเจตคติที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ t-test for Dependent Sample และ t-test for Independent Samples ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI สูงกว่ารูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เจตคติที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI หลังเรียนอยู่ในระดับมาก

Abstract

The purposes of this research were to: (1) compare mathematical achievement on probabilities of matthayomsuksa 5 students which learned by Team Assisted Individualization method (TAI) and traditional teaching method (2) compare pre-post mathematical achievement on probabilities of matthayomsuksa 5 students that learned by Team Assisted Individualization method (TAI) and (3) study attitude toward mathematical learning on probabilities of matthayomsuksa 5 students by using Team Assisted Individualization method (TAI). The subjects of this study were 43 matthayomsuksa 5 students in the first semester of the 2019 academic year at Panyaworakun School, Bangkok, Thailand. They were randomly selected by using cluster random sampling. The instruments used in data collection were TAI and traditional method lesson plans, 20 items of mathematical achievement test and the attitude questionnaire toward mathematical learning on probabilities. The data were statistically analyzed by using mean, t-test for Dependent sample and t-test for Independent samples. The results of the research were as follow: 1. The mathematical achievement on probabilities that learned by Team Assisted Individualization method (TAI) was higher than students that learned by traditional teaching method at .05 level of significance. 2. The post-learning mathematical achievement on probabilities of matthayomsuksa 5 students which learned by Team Assisted Individualization method (TAI) was higher than pre-learning at .05 level of significance. 3. The attitude toward mathematical learning on probabilities was at high level.

คำสำคัญ

เจตคติ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความน่าจะเป็น, รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI

Keywords

Attitude, Mathematical Achievement, Probabilities, Team Assisted Individualization method (TAI)

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
____________. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชลธิชา สาชิน. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบ TAI เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง พหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.
โชติกา ภาษีผล. (2559). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ญาตินันท์ เสนคราม. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วน และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พรสวรรค์ ชาพา. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง เซต ตามแนวคิดแบบย้อนกลับ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2557). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.
มินตา ชนะสิทธิ์. (2558). การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD และเทคนิค TAI ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ลักขณา สริวัฒน์. (2557). จิตวิทยาสำหรับครู. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
วงพักตร์ ภู่พันธ์ศรี และศิรินันท์ ดำรงผล. (2556). จิตวิทยาพัฒนาการประยุกต์ทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ:
สุวีริยาสาส์น.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2561). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2561. เข้าถึงได้จากhttp://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2560). 19 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2556). การออกแบบแบบสอบถามสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: จูน พับลิชชิ่ง.
อัมพร ม้าคนอง. (2557). คณิตศาสตร์สำหรับครูมัธยม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.