ISSN: 1906-117X

วารสาร

สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนของครู ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนภาษาจีนในโรงเรียนพื้นที่จังหวัดปทุมธานี

State and Problems of Chinese Instructional Organization of High School Teachers Program in Chinese in Pathum Thani Area School
ขอบเขต: ภาษาและการสื่อสารเพื่อการศึกษา

นพพล จันทร์กระจ่างแจ้ง

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

ยุภาพร นอกเมือง

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

อรรคภณ วชิรวัชร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

บทคัดย่อ

การวิจัยสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนของครูในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแผนการเรียนภาษาจีนในโรงเรียนพื้นที่จังหวัดปทุมธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนของครูในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนภาษาจีนในโรงเรียนพื้นที่จังหวัดปทุมธานี โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลายในโรงเรียนพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ที่เปิดสอนวิชาภาษาจีนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 15 โรงเรียน จากการเก็บข้อมูลวิจัย พบว่า ปัญหาสำคัญของการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนของครูในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนภาษาจีนในโรงเรียนพื้นที่จังหวัดปทุมธานี คือ ด้านสื่อการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.16 อยู่ในเกณฑ์ระดับ น้อย และมีข้อเสนอแนะ พบว่า ส่วนใหญ่มีความต้องการให้มีการพัฒนาแบบเรียนภาษาจีนให้มีเนื้อหาที่สามารถใช้ทำการเรียนการสอนได้จริงและทันสมัย เหมาะสมและตอบสนองกับความต้องการของผู้เรียน

Abstract

Subtitle Research on the condition of high school teachers' Chinese learning management problems, Pathum Thani Area School Chinese Learning Plan, aims to study high school teachers' Chinese Learning Management Plan in Pathum Thani Area School. The sample group used in this study is secondary instructors. Study at the end of Pathum Thani Local School in the second semester of 2020 that introduces Chinese language classes in high school. 15 schools, as a result of collecting research data, found that the key problem of high school teachers' Chinese learning management, plans for Chinese language classes in Pathum Thani area schools, that is, the learning medium field, was 2.16 on average, in a small scale, and made suggestions. It was found that most of them had the need for Chinese language-based development to provide content that could be used, actually and modernly taught, suitable and responsive to learners' needs.

คำสำคัญ

สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ภาษาจีน, แผนการเรียนภาษาจีน, โรงเรียนพื้นที่จังหวัดปทุมธานี

Keywords

State and problems of Chinese instructional organization, Program in Chinese, Pathum Thani Area School

เอกสารอ้างอิง

กรรณิการ์ สงวนนวน. (2546). การศึกษาการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาจีน)
ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ธุมวดี สิริปัญญาฐิติ ศิริเพ็ญ กำแพงแก้ว และ จันทิมา จิรชูสกุล. (2559). ปัญหาการเรียนการสอนภาษาจีนระดับ
มัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนศิลป์ภาษาจีนเขตภาคตะวันออกของไทย. วารสารศิลปะศาสตร์
ปริทัศน์, 11(22), 8 – 19.
ผ่องพรรณ เสาวภาคพฤกษ. (2548). สภาพปัญหาและความต้องการการใช้สื่อการสอนของครูสอนภาษาจีน
ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาเทคโนโลยีการศึกษา). บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ระวีวรรณ สาริการิน. (2529). “ความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาวิธีสอน
ภาษาไทยในวิทยาลัยครู.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชามัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิไลลักษณ์ วณวนานนท์. (2528). “ความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชา
ภาษาไทยธุรกิจในวิทยาลัยอาชีวศึกษา.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชามัธยมศึกษาบัณฑิต
วิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวรรณ เลียงหิรัญถาวร และคณะ. (2556). การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับ
มัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 1(2),
43-59.