ISSN: 1906-117X

วารสาร

การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

THE DEVELOPMENT OF SELF-LEARNING MEDIA VIA AUGMENTED REALITY TECHNOLOGY TO ENHANCE GEOGRAPHY CONCEPTS OF JUNIOR HIGH SCHOOL STUDENTS
ขอบเขต: สังคมศาสตร์เพื่อการศึกษา

ดิษลดา เพชรเกลี้ยง

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ศุภณัฐ พานา

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วุฒิชัย บุญพุก

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยี ความเป็นจริงเสริม ที่ส่งเสริมมโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ และ 2) ศึกษาผลการพัฒนามโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ของนักเรียน จากการใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่ได้ประยุกต์ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียว มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 32 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมที่ส่งเสริมมโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ , แผนการจัด การเรียนรู้โดยการนำสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเข้ามามีบทบาทในกิจกรรมการเรียน การสอน และแบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ โดยทำการหาค่าประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ให้เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 และเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม โดยใช้ค่าเฉลี่ย (X ̅) , ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบที t–test independent ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมที่ส่งเสริมมโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ มีค่าประสิทธิภาพ 81.79/80.17 และ 2) ผลการพัฒนามโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์หลังการใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

This research aims to develop and test the efficiency of self-learning media via Augmented Reality technology and study the results of the development of the geography concepts of students by using this learning material. The research had an experimental and a one group pretest posttest design. The sample consisted of 32 secondary students in the second semester of the 2021 academic year and sampled with simple random sampling. The research instruments included the following: (1) self-learning media via Augmented Reality technology; (2) a lesson plan on the learning material; and (3) a geography concepts test. This study developed and tested the efficiency of self-learning media via Augmented Reality technology with an 80/80 efficiency of instructional media design and the development criteria. In addition, the pretest and achievement scores were compared after studying using self-learning media via Augmented Reality technology. The data were analyzed by mean, standard deviation and independent t-test. The results of the research found the following: (1) the efficiency of self-learning media via Augmented Reality technology at 81.79/80.17; and (2) the results of the development of the geography concepts of student’s after using this learning material were higher compared to before using them, and with a statistical significance of .05.

คำสำคัญ

สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง, เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม, มโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์

Keywords

Self-learning media, Augmented reality technology, Geography concepts

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แก้วใจ สุวรรณเวช. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภูมิศาสตร์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 9(2), 2102-2114.
ชนิกานต์ ศรีทองสุข. (2562). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และมโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ทวีปยุโรป ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนร่วมกับอินโฟกราฟิก. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 12(5), 1362-1375.
ชัชชญา พีระธรณิศร์นิช. (2563). ความท้าทายการจัดการศึกษาในยุค Disruptive Change ของผู้บริหารสถานศึกษา. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(2), 126-139.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 5-20.
ณัฐญา นาคะสันต์ และศุภรางค์ เรืองวานิช. (2559). Augmented Reality : เติมชีวิตให้สื่อสิ่งพิมพ์ทางการศึกษา. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 34(2), 34-50.
ทับทิมทอง กอบัวแก้ว. (2563). รูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ด้วยกระบวนการจัดการความรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารครุศาสตร์สาร, 14(1), 80-99.
ธารทิพย์ รัตนวิจารณ์ และชนิดา พงษ์สนิท. (2559). โลกเสมือนจริงที่กลายเป็นโลกสมจริง ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 2(3), 97-114.
นิ่มนวล ทศวัฒน์. (2526). เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนสังคมศึกษา เล่มที่ 3 หน่วยที่ 10-15 ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม : ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2554). การพัฒนาชุดสื่อการเรียนการสอนร่วมกับเทคโนโลยีออกเมนเต็ดเรียลลิตี. พิษณุโลก : คณะศึกษาศาตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. (2559). เนคเนค 3 ทศวรรษพัฒนาไทย งานวิจัยใช้ได้จริง. นนทบุรี : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). การเรียนรู้บูรณาการ : ยุทธศาสตร์ครูปฏิรูป. กรุงเทพฯ : อุษาการพิมพ์.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Aaron, J. et al. (2017). If this place could talk : Using Augmented Reality to make the past visible. National Council for the Social Studies, 81(2), 112-116.
AL-Edwan, Z. S. (2014). Effectiveness of Web Quest Strategy in acquiring geographic concepts among eighth grade students in Jordan. International Journal of Education and Development using Information and Communication Technology (IJEDICT), 10(4), 31-46.
Gumbur, Y. & Avarogullari, M. (2020). The effect of using augmented reality applications on social studies education. Research and Experience Journal, 5(2), 72-87.
Meryem, H. T. et al. (2009). The effects of computer games on primary school students’ achievement and motivation in geography Learning. Computers and Education, 52(1), 68-77.
Nwokoye, C. et al. (2019). GeoNaija : Enhancing the Teaching and Learning of Geography through Mobile Applications, I.J. Education and Management Engineering, 6, 11-24.
Shuailia, Al. K. et al. (2020). The Effectiveness of Using Augmented Reality in Teaching Geography Curriculum on the Achievement and Attitudes of Omani 10th Grade Students. Multidisciplinary Journal for Education, Social and Technological Sciences, 7(2), 20-29.