ISSN: 1906-117X

วารสาร

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคนิค TAI โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี

A Study of Mathematics Learning Achievement on Pythagorean Theorem of Mathayomsuksa 2 Students by Using TAI Technique of Suankularb Wittayalai Thonburi School
ขอบเขต: คณิตศาสตร์เพื่อการศึกษา

ภานุวัฒน์ สุวรรณมาโจ

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

สมภพ แซ่ลี้

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

พงศ์รัศมิ์ เฟื่องฟู

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ก่อนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิค TAI (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส หลังเรียนโดยใช้เทคนิค TAI กับเกณฑ์ร้อยละ 60 และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิค TAI กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส โดยใช้เทคนิค TAI จำนวน 10 แผน (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย (p) ตั้งแต่ 0.41 ถึง 0.68 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.41 ถึง 0.71 และความเชื่อมั่น (rtt) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ TAI และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนโดยใช้เทคนิค TAI สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนโดยใช้เทคนิค TAI สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิค TAI เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส อยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this research were (1) to compare a mathematics learning achievement on Pythagorean theorem between before and after learning by using TAI technique (2) to compare a mathematics learning achievement on Pythagorean theorem after learning by using TAI technique to 60%criteria and (3) to study the student satisfaction towards learning by using TAI technique. Research sample of this research was 36 Mathayomsuksa 2 students of Suankularb Wittayalai Thonburi school in 2019 academic year selected by cluster sampling. The research instruments were (1) 10 mathematics lesson plan on Pythagorean theorem by using TAI technique, (2) 20 items of multiple choice mathematics learning achievement test with the difficulty (p) from 0.41 to 0.68, the discrimination (r) from 0.41 to 0.71 and the reliability of all test 0.87 and (3) student satisfaction questionnaire toward learning by using TAI technique. Data were analyzed by percentage, average, standard deviation and hypothesis testing by t-test. The results showed that 1. The mathematics learning achievement on Pythagorean theorem of Mathayomsuksa 2 students after learning by using TAI technique was higher than before, at significant level .05. 2. The mathematics learning achievement on Pythagorean theorem of Mathayomsuksa 2 students after learning by using TAI technique was higher than 60%, at significant level .05. 3. The student satisfaction toward learning by using TAI technique is very high level.

คำสำคัญ

การจัดการเรียนการสอนแบบ TAI, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจของนักเรียน

Keywords

learning by using TAI technique, learning achievement, student satisfaction

เอกสารอ้างอิง

กัญญาภรณ์ สีนินทิน. (2558). การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับเทคนิค KWDL ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
กิติศักดิ์ คำเมฆ, ยุภาดี ปณะราช และปวีณา สาสิงห์. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค TAI ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ธิดารัตน์ โคตรมณี และศิริพร ศรีจันทะ. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหมากแข้ง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มช่วยเหลือเป็นรายบุคคล (TAI) เสริมด้วยกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย).
นิธินันท์ กลั่นคูวัฒน์. (2559). ผลการจัดการเรียนการสอนแบบ TAI ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องการแก้โจทย์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์.
ฟาฏินา วงศ์เลขา. (2552). การเรียนคณิตศาสตร์ : ความจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม. สืบค้นเมื่อ 10
มีนาคม 2562, จาก https://social.obec.go.th/node/22.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562). ค่าสถิติพื้นฐานผลการสอบ O-NET ม.3 ปีการศึกษา 2557 - 2560. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2562, จาก https://www.niets.or.th/th/catalog/view/3865?fbclid=