ISSN: 1906-117X

วารสาร

คุณลักษณะความเป็นครูที่เสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ในยุคการศึกษา 4.0

Teacher characteristics that enhance learning management in the era of education 4.0
ขอบเขต: หลักสูตรการสอน

สุรางค์ ธรรมโวหาร

มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงของบริบทเศรษฐกิจและสังคมโลกทำให้การจัดการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนและพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถให้ทันกับยุคสมัย ครูผู้สอนที่ทำหน้าที่จัดการเรียนรู้จึงเป็นผู้รับผิดชอบสำคัญในการพัฒนาผู้เรียน ดังนั้นครูจึงต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการพัฒนาผู้เรียนในด้านต่างๆซึ่งคุณลักษณะความเป็นครูที่ดีจึงได้แก่ความรู้ดี สอนหรือจัดการเรียนรู้ดี และความประพฤติดี ซึ่งการจัดการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาได้และในยุคการศึกษา 4.0 ซึ่งมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21และเป็นผู้เรียนรู้ ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม เครื่องมือสำคัญของครูที่ช่วยพัฒนาผู้เรียนคือการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎี constructivism ซึ่งผู้รียนจะสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยมีครูเป็นผู้ช่วยเหลือ และแนะนำโดยมีวิธีการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญได้แก่ การจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างองค์ความรู้(Constructivism) การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา (Problem-based learning) และทฤษฎี Constructionism ซึ่งผู้รียนจะสร้างความรู้ด้วยตนเองจากการสร้างหรือผลิตชิ้นงานโดยมีครูเป็นที่ปรึกษาซึ่งมีวิธีการจัดการเรียนรู้คือการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน (Project-based learning) รวมทั้งแนวคิดในการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM) จะใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ดังได้กล่าวเช่นกัน

Abstract

The change in the global economic and social context causes education management to change and develop learners to be knowledgeable and competent to keep up with the times. Teachers who are responsible for learning management are therefore responsible for the development of learners. Therefore, teachers must have appropriate qualifications to develop learners in various fields. The characteristics of being a good teacher include good knowledge, teach or manage learning well and good conduct. In which learning management is important to help learners develop and in the age of Education 4.0, which focuses on providing learners with the skills necessary for the century 21 and is a learner, an innovation contributor. An important tool for teachers to help develop learners is Constructivism theory in which the learners will build their own knowledge with the help of teachers and recommended by the methods of learning management that are important such as constructivism learning management , problem-based learning management and Constructionism theory in which learners will build their own knowledge from creating or producing pieces of work with a teacher as a consultant whose method of learning management is a project-based learning as well as the concept of STEM Education will also use such learning management methods.

คำสำคัญ

คุณลักษณะความเป็นครู การจัดการเรียนรู้ในยุคการศึกษา 4.0

Keywords

Teacher characteristics, Learning Management in the Era of Education 4.0

เอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง
ณัฐมน พันธุ์ชาตรี. การสร้างเสริมคุณลักษณะความเป็นครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ หลักสูตรปริญญา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร 2559.
ดวงพร ดุษฎี บรรจง เจริญสุข และวันชัย ธรรมสัจการ. คุณลักษณะของครูสอนดีในสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลังสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 27(3): 43-57. 2559.
พระครูวิชัยคุณวัตร ชาญสมบัติ. การพัฒนารูปแบบกิจกรรส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนตาม
พระบรมราโชวาทของพระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว: โรงเรียนพังงูวิทยาคม. วารสารการพัฒนาชุมชน
และคุณภาพชีวิต 4(2): 262-272. 2559.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และคณะ. 2560. ทักษะ 7C ของครู 4.0 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. 2561. การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา .กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย
วิจิตร ศรีสอ้าน. 2560. ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ครูในฝัน” เนื่องในโอกาสสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ครบปีที่ 3. วันที่ 29 มีนาคม 2560. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
วิทวัส ดวงภุมเมศ และวารีรัตน์ แก้วอุไร การจัดการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการเรียนรู้อย่าง
กระตือรือร้น วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูล
สงคราม .11 (2) กรกฎาคม–ธันวาคม 2560 .
วิไลลักษณ์ ลังกา. อนาคตภาพของคุณลักษณะครูไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2560-2569) วารสารวิจัย
ทางการศึกษา คณะศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 11( 1) : สิงหาคม 2559 -มกราคม 2560.
สจีรัตน์ แจ้งสุข และคณะ .2559. รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างทางเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็น
ครูมืออาชีพ ในสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาวิทยาลัย
นครพนม 6(2): 33-42.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2560.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหา.กรุงเทพฯ :
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
________. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560- พ.ศ. 2579. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวาน
กราฟฟิค จำกัด.
________. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ : บริษัท 21 เซนจูรี่จำกัด.
สำนักมาตรฐานวิชาชีพ คุรุสภา. 2560. ความหมายวิชาชีพทางการศึกษา. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:
http://education.dusit.ac.th/QA/articles/doc02.pdf (22 ตุลาคม 2564).
สุพรทิพย์ ธนภัทรโชติวัต. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อส่งเสริม
คุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 17(1): 33-48.
สุรางค์ ธรรมโวหาร . (2562). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นครู
ของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมในยุคการศึกษาไทย 4.0 กรุงเทพฯ : คณะ
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
________. (2563). เอกสารคำสอนรายวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป.
กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
Breiner, J. M., Carla, C. J., Harkness, S. S., & Koehler, C. M. (2012). “What is STEM? A discussion
about conceptions of STEM in education and Shelly Sheats Harkness Partnerships”. School
Science and Mathematics, 112(1) : 3-11.
Fogarty, R. (October 1991). “Ten Ways to Integrate Curriculum”. Educational Leadership. 49(2) :
61 – 65.
IMD World Competitiveness Yearbook. 2017-2021. June. Switzerland.
Northern Illinois University, Faculty Development and Instructional Design Center.
https://www.niu.edu/facdev/_pdf/guide/strategies/problem_based_learning.pdf .
28 May 2021.
Wayne, C. (2012). What is S.T.E.M. and why do I need to know?. [Online] Retrieved 3 February
2020. from http://issuu.com/carleygroup/docs/ stem12online/1