ISSN: 1906-117X

วารสาร

การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาท้องถิ่นของเรา ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

The Development of Local Curriculum using by Community-Based Learning for Secondary 1 Education.
ขอบเขต: สังคมศาสตร์เพื่อการศึกษา

พิณทกานต์ นิมมานุทย์

มหาวิทยาลัยศิลปากร

เพ็ญพนอ พ่วงแพ

มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาท้องถิ่นของเรา ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) พัฒนาหลักสูตรรายวิชาท้องถิ่นของเรา ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) ประเมินผลการใช้หลักสูตรรายวิชาท้องถิ่นของเรา ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) ปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาท้องถิ่นของเรา ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเมธีชุณหะวัณวิทยาลัย อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยหลักสูตรรายวิชาท้องถิ่นของเรา ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการใช้หลักสูตรรายวิชาท้องถิ่นของเรา ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน การสนทนากลุ่ม แบบประเมินความสามารถในการทำโครงงาน แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญ และต้องการให้พัฒนาหลักสูตรโดยส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้และปฏิบัติจริงจากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น 2) หลักสูตรประกอบด้วยหลักการ จุดมุ่งหมาย แนวทางการจัดการเรียนรู้ แนวทางการวัดประเมินผล คำอธิบายรายวิชา ผลการเรียนรู้ โครงสร้างรายวิชา และแผนการจัดการเรียนรู้ 3) นักเรียนมีผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการใช้หลักสูตรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถในการทำโครงงานอยู่ในระดับสูง และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้หลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด 4) หลักสูตรมีความสมบูรณ์ องค์ประกอบต่างๆ สอดคล้อง และเหมาะสมที่จะนำใช้ในการจัดการเรียนการสอน

Abstract

This research aims to 1) examine basic information about development of the “Our Land” course, using community-based learning management for first-year junior high school students, 2), develop the “Our Land” course using community-based learning management for first-year junior high school students, 3) evaluate the “Our Land” course after using community-based learning management for first-year junior high school students, 4) improve the “Our Land” course using community-based learning management for first-year junior high school students. The sample group consisted of 13 first-year junior high school students of 1st semester of Academic Year 2021 from Matee Chunhawan Vitayalai School, Bangkontee District, Samut Songkram Province. The tools used in this study consisted of the “Our Land” course after using community-based learning management for first-year junior high school students, survey on the needs related with the “Our Land” course after using community-based learning management for first-year junior high school students, focus group, project assessment form, and survey form for comment on the course. Analysis was done using percentage, average, standard deviation, content analysis and t-test. Result of this research revealed that 1) students and relevant parties saw the importance and the need for course development by encouraging the students to learn and practice in local learning sources, 2) The course, consisting of principle, objective, learning management guideline, assessment guideline, course description, learning achievement, course structure and learning management plan, 3) pre-test and post-test learning achievement of the students had difference with statistical significance of .05, project capability was high, and the students had the highest thought toward the course, 4) the course was complete, with complimenting factors, and suitability for use.

คำสำคัญ

การพัฒนาหลักสูตร, รายวิชาท้องถิ่นของเรา, การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

Keywords

Course Development, Our Local Area Course, Community-based learning management

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงศ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร : หลักการและแนวปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ อลีนเพรส จำกัด.
ชวลิต ชูกําแพง. (2561). การวิจัยหลักสูตรและการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชนภัทธ์ อินทวารี. (2558). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยใช้ชุมชน เป็นฐานการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดโบสถ์ จังหวัดสิงห์บุรี. (ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญยบุรี). สืบค้นจาก http://www.repository.rmutt.ac.th
ชวนพิศ สิริพันธนะ. (2557). การพัฒนาโปรแกรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้คติชนวิทยา ระดับอุดมศึกษา. (ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร). สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/
ทวิช ลักษณ์สง่า. (2556). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมการศึกษาท้องถิ่น สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร). สืบค้นจาก http://www.thapra.lib.su.ac.th
ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์. (2554). ชุมชนศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิธิโรจน์ เกษมีฤทธิ์ขจร. (2560). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้าง อัตลักษณ์สมุทรสาคร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 108-119.
วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2551). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: เอ็ม ไอ ที พริ้นติ้ง.
วิจารณ์ พาณิช. (2557). การสร้างการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นครปฐม: บริษัท ส เจริญ การพิมพ์ จำกัด.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สีวีริยาสาร์น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561–2580. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำราญ ตั้งศรีทอง. (2564). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อสงเสริมแรงบัลดานใจในการเรียนรู้ตามแนวคิด การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, วารสารชมชนวิจัย, 15, 214-227.
Beauchamp, George A. (1981). Curriculum Theory. 4 th ed. Itasca, Illinois : F.E. Peacock Publisher.
Fox, Robert S. (1962). The Sources of Curriculum Development. Theory Into Practie. Vol. No. 1, October.
Saylor, Galen J., Alexander, William M : and Lewis. (1981). Curriculum Planning for schools. New York: Holt, Rinehart & Winston.
Taba, Hilda. (1962). Curriculum development theory and practice. New York: Harcourt, Brace and Word.
Tyler, Ralph W. (1949). Basic principles of curriculum and instruction. Chicago: The University of Chicago.