ISSN: 1906-117X

วารสาร

การถอดบทเรียนสมรรถนะวิชาชีพครู ด้านการบริหารหลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Lesson Learned on Teacher Professional Competencies in Curriculum Administration and Learning Management of the Teachers at the Basic Education Level
ขอบเขต: หลักสูตรการสอน

จุลมณี สุระโยธิน

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

สิรินาถ จงกลกลาง

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ประดับศรี พินธุโท

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่องการศึกษาสมรรถนะวิชาชีพครู ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนสมรรถนะวิชาชีพครู ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การสนทนากลุ่ม มี 4 กลุ่ม คือ 1) ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา และครูประจำการ 2) อาจารย์คณะครุศาสตร์ 3) นักศึกษาวิชาชีพครู และ 4) ครูผู้ช่วย รวมจำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับองค์ความรู้ 2 ประเด็น คือ 1) สมรรถนะวิชาชีพครูด้านการบริหารจัดการหลักสูตรและการเรียนรู้ที่นำไปสู่การปฏิบัติงานและการใช้ชีวิตในโลกวิถีใหม่ ประกอบด้วย (1) ชุดความรู้เกี่ยวกับสมรรถนะวิชาชีพครูที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน (2) ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่สนับสนุนความเป็นครูมืออาชีพ และ (3) คุณลักษณะ ส่วนบุคคล ได้แก่ ทักษะทางสังคม ทักษะการทำงานร่วมกัน การจัดการอารมณ์ และการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต 2) ข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ การกำหนดนโยบายการผลิตบัณฑิตเชิงระบบ เน้นการบริหารจัดการแบบองค์รวม มีการประเมิน กำกับ ติดตาม และปรับปรุงหลักสูตรอย่างครบวงจร ซึ่งผู้เกี่ยวข้องกับการผลิตบัณฑิตต้องร่วมกันวางแผนเพื่อให้กระบวนการสอดคล้องกันทั้งระบบ

Abstract

This research studied about teacher professional competencies in curriculum administration and learning management of the teachers at the basic education level. The purpose of the study was to learn lessons from teacher professional competencies in curriculum administration and learning management in order to find guidelines for developing the teacher professional competencies of the students in the Bachelor of Education Program. In the study, 37 samples for the focus group discussion were in 4 types: 1) school administrators, personnel and in-service teachers; 2) lecturers in the faculty of education; 3) student teachers; and 4) assistant teachers. The data from the focus group discussion were analyzed and concluded in 2 findings of knowledge. The first finding was on the teacher professional competencies in curriculum administration and learning for the new normal work operation and living in 3 aspects: 1) knowledge package on teacher professional competencies in accordance with the current situations; 2) learning skills in the 21st century to support teacher profession; and 3) personal attributes including social skills, collaborative skills, emotional management, and lifelong learners. The second finding was on policy suggestions for determining the policy in systematic graduate production by focusing on the holistic management with a complete cycle of curriculum supervision, follow-up, assessment, and improvement. Accordingly, people relating in the graduate production should collaboratively plan for all the processes to be congruent in the whole system.

คำสำคัญ

การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้, การถอดบทเรียน, สมรรถนะวิชาชีพครู

Keywords

curriculum administration and learning management, lesson learned, teacher professional competencies

เอกสารอ้างอิง

ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2563, 7
พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ. หน้า 10-14.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2564, 27 พฤศจิกายน). คู่มือการ
ประเมินสมรรถนะครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2553.
สืบค้นจาก http://www.tmk.ac.th/teacher/capasity.pdf
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2562). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต พุทธศักราช 2562. นครราชสีมา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครราชสีมา.
จิดาภา เร่งมีศรีสุข, นันทยา คงประพันธ์, ชนิดาภา กระแจะจันทร์, สมพงษ์ เกศานุช,
และ นิสาชล ตรีไพบูลย์. (2563). รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมส่งเสริม
ศักยภาพครูไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิง
พุทธ, 5(11), 288-301.
จุฑารัตน์ สถิรปัญญา. (2564, 5 ธันวาคม). การถอดบทเรียน. สืบค้นจาก
http://hsmi2.psu.ac.th/upload/forum/paper_1516_
5f0ab2d5b40955f0ab2.pdf
ชนิตา รักษ์พลเมือง, สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, รังสรรค์ มณีเล็ก, เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก,
และ สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2560). การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้
และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการใน
อนาคต. วารสารครุศาสตร์, 45(3), 17-33.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (ม.ป.ป.). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อการพัฒนาอาจารย์
ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/AtkI1
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินนารัตน์ และ นักรบ หมี้แสน. (2560). ครุศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพครู.
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค. (2564, 22 ธันวาคม). มองผลสัมฤทธิ์และความเหลื่อมล้ำ
ทางการศึกษาผ่านการประเมินผล PISA ของประเทศไทย. สืบค้นจาก
https://www.pier.or.th/abridged/2020/05/
เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (2560). ระบบและรูปแบบการพัฒนาครูที่
เหมาะสมกับสังคมไทย และความเป็นสากล. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการ
สภาการศึกษา.
_______. (2560). ข้อเสนอเชิงนโยบายและกลไกการขับเคลื่อนการผลิตครู การ
พัฒนาครูและการบริหารงานบุคคลของครู. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
_______. (2561). การพัฒนากลไกขับเคลื่อนระบบการผลิตและพัฒนาครูสมรรถนะ
สูงสำหรับประเทศไทย 4.0. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). ครูผู้ทำลายล้างการสอนแบบเดิม ๆ.
กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2557). การจัดทํายุทธศาสตร์การปฏิรูป
การศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการ
พัฒนาประเทศไทย.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2564, 5 ธันวาคม). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษา
ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2563. สืบค้นจาก
https://shorturl.asia/kxpVj
อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อรองรับการศึกษา
ยุค 4.0. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 35(3), 101-136.
McClelland, D. C. (1973). Testing for Competence Rather Than for
Intelligence. American Psychologist, 28(1), 1-14.
_______. (1998). Identifying Competencies with Behavioral-Event
Interviews. Psychological Science, 9(5). 331-339.
OECD. (2021). PISA 2018 Results. Retrieved from https://www.oecd.org/
UNESCO. (2021). The Sustainable Development Goal 4. Retrieved from
https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000245656