ISSN: 1906-117X

วารสาร

สถานภาพของรายวิชาด้านพหุวัฒนธรรมดนตรีในหลักสูตรดนตรีศึกษาระดับอุดมศึกษา

Statuses of Multicultural Music’s Subjects in Higher Educational Music Education Curriculum
ขอบเขต: ศิลปวัฒนธรรมเพื่อการศึกษา

ธีรวิทย์ กลิ่นจุ้ย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สยา ทันตะเวช

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพของรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับพหุวัฒนธรรมดนตรีในหลักสูตรดนตรีศึกษาระดับอุดมศึกษา การวิจัยในครั้งนี้ดำเนินการด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ตามแนวทางการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยทำการศึกษาเอกสารตัวเล่มหลักสูตรดนตรีศึกษา (มคอ.2) ของสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนทางด้านดนตรีศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิตที่ได้จากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 10 สถาบัน ซึ่งในการวิจัยมุ่งศึกษาใน 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1.จำนวนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับพหุวัฒนธรรมดนตรี ความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรม 2.สถานภาพของรายวิชาดังกล่าวและตัวตนของรายวิชาภายในหลักสูตรดนตรีศึกษาที่สามารถสะท้อนวิธีคิดและการออกแบบหลักสูตร และ 3. ขอบเขตของการจัดการเรียนรู้ของรายวิชาที่สะท้อนภาพรวมลักษณะของการจัดการเรียนรู้ของรายวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับดนตรีและวัฒนธรรม ผลการวิจัยพบว่า 1.ด้านจำนวนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับพหุวัฒนธรรมดนตรี พบว่าสามารถแบ่งได้ 3 กลุ่มวิชาคือ กลุ่มวิชาเชิงทฤษฎีดนตรี 9 วิชา (ร้อยละ 29.03) เชิงปฏิบัติทักษะดนตรี 16 วิชา (ร้อยละ 51.61) และเชิงบูรณาการดนตรีกับศาสตร์อื่น 6 วิชา (ร้อยละ 19.35) ต่อมา 2.ด้านสถานภาพรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับพหุวัฒนธรรมดนตรี ซึ่งแบ่งออกเป็นสถานภาพด้านเนื้อหาการจัดการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับพหุวัฒนธรรมดนตรีในประเทศ 15 รายวิชา (ร้อยละ 48.38) นอกประเทศ 13 รายวิชา (ร้อยละ 41.93) ทั้งในและนอกประเทศ 8 วิชา (ร้อยละ25.80) และในด้านสถานภาพของตัวรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับพหุวัฒนธรรมดนตรีพบว่ามีสถานะเป็นวิชาบังคับ 11 รายวิชา (ร้อยละ 35.48) และเป็นวิชาเลือก 20 รายวิชา (64.51) และในท้ายสุด 3.ด้านขอบเขตของการจัดการเรียนรู้ของรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับพหุวัฒนธรรมดนตรีมีการกล่าวถึงคำสำคัญที่สื่อถึงเนื้อหา วัตถุประสงค์และความเป็นรายวิชาเชิงทฤษฎีดนตรี ปฏิบัติทักษะดนตรี และบูรณาการดนตรีกับศาสตร์อื่นที่ชัดเจนสามารถเข้าใจภาพรวมของรายวิชาได้ แต่อย่างไรก็ตามรายวิชาทางด้านพหุวัฒนธรรมดนตรีเป็นวิชาที่ควบทบทวนในมิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวพันกับการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งมีความจำเป็นในโลกปัจจุบันอย่างยิ่ง

Abstract

This research aims to study about the curriculum's foundational concepts, which are centered on investigate the status of subjects related to multicultural music in higher education music curricula. In this study, I used qualitative research methodology in documentary research method, with a focus on the program specifications documentaries (Thailand Qualifications Framework for Higher Education: TQF. 2) from 10 music education institutes, which were selected by purposive sampling. In these investigations particularly interested in three important topics: 1. Subjects topics in multicultural music and sociocultural diversity 2. The position of multicultural music subjects and their being in the curricula. And 3. The studies’ area of multicultural music subject, that can show the whole issues inside each subject details. As a result, 1. The number of subjects related to multicultural music was found 31 subjects and divided into in 3 types: 9 musical theory subjects (29.03); 16 practical musical skills subjects (51.61); and 6 music integration with other sciences subjects (19.35) 2. The academic status related to music, Multicultural music, which is divided into 15 domestic music multicultural learning content statuses (48.38), 8 subjects (25.80 percent) for non-domestic and 13 related in domestic and non-domestic learning content statuses (41.93). Next, in terms of the status of individuals related to multicultural music subjects, were found to have 11 compulsory subjects (35.48 percent) and 20 optional subjects (64.51) Lastly, 3. The scope of learning management of music multiculturalism-related subjects, keywords that convey the content, purpose, and subjectivity of music theory, practice musical skills, and integrate music are mentioned. With other clear sciences, one can understand the overview of the subject, but multicultural music is a subject that need to review and rethink in various dimensions, related to curriculum development, which is desperately needed in today's world.

คำสำคัญ

พหุวัฒนธรรมดนตรีศึกษา, หลักสูตรอุดมศึกษา , รายวิชาที่เกี่ยวข้องกับพหุวัฒนธรรมดนตรี

Keywords

Multicultural Music Education, Higher Education Curriculum, Multicultural Music Subjects

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). “ประกาศกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย
และนวัตกรรม เรื่อง การกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาสังกัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประจำปี
งบประมาณ2565 เมื่อวันที่ 29 พ.ย.2564”. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2565. จาก https://
www.banmuang.co.th /news /education/260730

คณิเทพ ปิตุภูมินาค. (2550). เนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอนในระบบดนตรีชุมชนศึกษาในพื้นที่จังหวัด
เชียงใหม่. Journal of Fine Arts, Chiang Mai University, 8(2), 265-302.

เคลน บุณยานันต์ และ อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์. (2563). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรี
ศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. Journal of Faculty of Education Pibulsongkram Rajabhat
University, 7(2), 243-258.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). ดนตรีศึกษา หลักการและความสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ .กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย

นันทิดา จันทรางศุ สุรสีห์ ชานกสกุล และ สกาวรุ้ง สายบุญมี. (2563). ทิศทางการสอนดนตรีโลก. Journal of
Education Studies, 142 - 163.

นงเยาว์ เนาวรัตน์. (2561). การศึกษาพหุวัฒนธรรม มุมมองเชิงวิพากษ์และปฏิบัติการในโรงเรียน. เชียงใหม่.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด วนิดาการพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2564. จาก http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1540-file.pdf

ศักดิ์ชัย หิรัญรักษ์ และ นันทิดา จันทรางศุ. (2560). รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาต้นแบบการจัดการเรียนรู้พหุวัฒนธรรมในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระดนตรีสำหรับชั้นประถมศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม.

รัตนะ บัวสนธ์. (2558). การวิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.

Campbell, P. S., & Wade, B. C. (2004). Teaching Music Globally: Experiencing music,
expressing culture. Oxford University Press.

Campbell, P. S., Anderson, W. M. (2010). Multicultural Perspertives In Music Education Vol.3
Third Edition. Maryland: MENC : National Association for Music Education.

Mark, M. L., & Madura, P. (2013). Contemporary music education. Cengage Learning.

Partnership for 21st Century Learning. (2019). Framework for 21st Century Learning Deffinition.
searched date 30th December, 2021. From http:// battelleforkids.org /networks /p21
/frameworks-resources

Thuntawech, S. (2017). The IDEAL THAILAND music institute in higher education in the 21st
century. (Doctoral dissertation). Mahidol University, Nakonprathom.

Thuntawech, S., & Trakarnrung, S. (2017). The ideal characteristics of higher education music
institutes in 21st century Thailand. Malaysian Journal of Music, 6(1), 30-49.