ISSN: 1906-117X

วารสาร

การประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการสร้างสื่อการเรียนรู้และการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรของนักศึกษาครู

The Need Assessment of Creating Instructional Media and Filing a Patent Application by Pre-Service Teachers
ขอบเขต: หลักสูตรการสอน

ธิดารัตน์ ตันนิรัตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการสร้างสื่อการเรียนรู้และการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรของนักศึกษาครู 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้สึกภูมิใจ เมื่อสร้างสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 นักศึกษาครู จาก 8 มหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2560 จำนวน 520 คน และกลุ่มที่ 2 นักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 416 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNIModified) และค่าที ผลการวิจัย 1) นักศึกษาครู ปีการศึกษา 2560 มีความต้องการจำเป็นในการเข้าใจขั้นตอนการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรในลำดับความต้องการมากที่สุด (PNIModified=0.26) รองลงมาคือ นักศึกษาครูมีความต้องการจำเป็นในการเขียนอธิบายสื่อการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น เพื่อร่างคำขอรับสิทธิบัตรได้ (PNIModified=0.25) และนักศึกษาครู ปีการศึกษา 2563 มีความต้องการจำเป็นในการสร้างสื่อการเรียนรู้และขอความคุ้มครองสิทธิบัตรในลำดับความต้องการมากที่สุด (PNIModified=0.20) และนักศึกษาครูมีความต้องการจำเป็นในการเขียนอธิบายสื่อการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น เพื่อร่างคำขอรับสิทธิบัตรได้ในลำดับความต้องการมากที่สุด (PNIModified=0.20) รองลงมาคือ นักศึกษาครูมีความต้องการจำเป็นในการเข้าใจขั้นตอนการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตร (PNIModified=0.16) 2) นักศึกษาครูทั้ง 2 กลุ่มมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้สึกภูมิใจเมื่อสร้างสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purpose of this study was 1) to conduct the need assessment in creating instructional media and filing a patent application by pre-service teachers. 2) To compare the student’s satisfaction of their creating instructional media. Samples gathered from 2 groups which consisted of 520 pre-service teachers from 8 universities in the academic year of 2017 and 416 pre-service teachers from Bansomdejchaopraya Rajabhat University in the academic year of 2020. Questionnaires were used as a research instrument and data were analyzed by mean, standard deviation, PNIModified and t-test. The results of the study showed that 1) in 2017, it was necessary for pre-service teachers to have an understanding of patent registration processes with the highest value (PNIModified =0.26). Pre-service teachers also needed to be able to describe the media that they developed and in filing a patent application (PNIModified =0.25) For the corresponding results in 2020, it showed that it was necessary for pre-service teachers to create an instructional media and to register a patent with the highest value (PNIModified =0.20). and it was also important for pre-service teachers to be able to describe the media that they created in order to file a patent application with the same value listed (PNIModified =0.20) followed by a second need which was essentially needed by pre-service teachers in being able to understand the process of filing patent application (PNIModified =0.16). 2) The both groups of pre-service teachers were proud when they created instruction medias by themselves with no statistically significant differences at level .05.

คำสำคัญ

สื่อการเรียนรู้, ประเมินความต้องการจำเป็น, สิทธิบัตร

Keywords

instructional media, need assessment, patent

เอกสารอ้างอิง

กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์. (2564). ทรัพย์สินทางปัญญา. ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.ipthailand.go.th/th/
กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2550). ลักษณะของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
ธิดารัตน์ ตันนิรัตร์. (2563). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
________. (2562). พฤติกรรมเกี่ยวกับการสร้างสื่อการเรียนการสอนหรือผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาครู.
ครุศาสตร์สาร, 13(2), 183-196.
________. (2564). Ep1-2 โครงการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ด้านการอ่านการเขียนและการคิดวิเคราะห์ฯ.
ค้นเมื่อ 8 ,มกราคม 2565, จาก https://www.youtube.com/watch?v=ZPehWbA06ao&list=
PLPO9FdNcQvXDjXvcY9r2vHXMPngaA6DZA&index=1
ธิดารัตน์ ตันนิรัตร์, เนาวนิตย์ สงครามและใจทิพย์ ณ สงขลา. (2561). การประเมินความต้องการจำเป็นของการพัฒนาผลงานสร้างสรรค์และการยื่นคำขอรับสิทธิบัตร สำหรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(1), 147-164.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). สอนเขียนแผนบูรณาการบนฐานเด็กเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ. (2564). สถิตินักศึกษาปัจจุบัน. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560, จาก http://aar.bsru.ac.th/statistic/
ศราวุฒิ สมัญญา และธิดารัตน์ ตันนิรัตร์. (2563). การวิเคราะห์ทักษะชีวิตและวิชาชีพครูของนักศึกษาครู กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. ครุศาสตร์สาร. 14(2), 85-97.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). สถิติอุดมศึกษา. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560, จาก http://www.mua.go.th › assets ›
________. (2552). รายงานการประชุมสัมมนาปรัชญาการอุดมศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Daud, S., Rahim, R. E. A., & Alimun, R. (2008). Knowledge creation and innovation in classroom. International Journal of Human and Social Sciences, 3(1), 75-79.
Ellis, V., Souto-Manning, M., & Turvey, K. (2019). Innovation in teacher education: towards a critical re-examination. Journal of Education for Teaching, 45(1), 2-14.
JenBen, L. (2021). What affects the arrogant, proud or ashamed pre-service teacher in mathematics? Effects of social comparison, gender and self-concept on self-conscious emotions. Social Psychology of Education, 24(5), 1105-1123.
Mayasari, T., Kadarohman, A., Rusdiana, D., & Kaniawati, I. (2016, February). Exploration of student’s creativity by integrating STEM knowledge into creative products. In AIP conference proceedings (Vol. 1708, No. 1, p. 080005). AIP Publishing LLC.
Miron-Spektor, E., & Beenen, G. (2015). Motivating creativity: The effects of sequential and simultaneous learning and performance achievement goals on product novelty and usefulness. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 127, 53-65.
Tannirat, T. (2020). From Angry Bird Application to STEM Activities in Real Life. International Journal of Advanced Science and Technology. 29(7s), 878-883.
________. (2022). A Guideline for Promoting Instructional Media Creation and Filing Patent for Pre-service Teachers in Thailand. In 34th MILAN International Conference on Literature, Humanities, Education and Social Sciences (pp.8-12). Milan: Pilares d'elegância, lda.
Tannirat, T and Upapong, S. (2022). The Comparison of Creative Educational Innovation Perspectives of Pre-Service Teachers. In 24th PARIS International Conference on Marketing, Education, Social Sciences and Humanities (pp.28-31). Paris: Pilares d'elegância, lda.
Seechaliao, T., & Yurayat, P. (2021). Effects of the Instructional Model Based on Creative Problem-Solving Principles with Social Media to Promote The Creation of Educational Innovation for Pre-Service Teachers. Higher Education Studies, 11(3), 56-69.
Soper, D. S. (2020). A-priori Sample Size Calculator for Structural Equation Models [Software]. Retrieved 2020, from http://www.danielsoper.com/statcalc
Wright, C., & Furneaux, C. (2021). ‘I Am Proud of Myself': Student Satisfaction and Achievement on an Academic English Writing MOOC. International Journal of Computer-Assisted Language Learning and Teaching (IJCALLT), 11(1), 21-37.