ISSN: 1906-117X

วารสาร

การวิเคราะห์ทักษะชีวิตและวิชาชีพครูของนักศึกษาครู กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Analysis of Life Skills and Teacher Profession of Pre-service teacher: Case study Bansomdejchaopraya Rajabhat University
ขอบเขต: สังคมศาสตร์เพื่อการศึกษา

ศราวุฒิ สมัญญา

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ธิดารัตน์ ตันนิรัตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นผลจากการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะชีวิตและวิชาชีพครูของนักศึกษาครู ตัวอย่างคือ นักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 365 คน เครื่องมือการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยของผู้ตอบแบบสอบถามทุกข้อที่เกี่ยวกับทักษะชีวิตและวิชาชีพครู มีค่ามากกว่า 4.00 โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดทางด้านทักษะชีวิต มีค่าเฉลี่ย 4.35 มี 2 ข้อคือ 1) สามารถจัดกิจกรรม/การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะของนักเรียนในการรับผิดชอบต่อ สังคมและการมีส่วนร่วมในฐานะพลเมืองในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.60 และ 2) สามารถปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างในเรื่องความรับผิดชอบโดยถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.61 รองลงมาคือ สามารถให้คำแนะนำนักเรียนในการเข้าใจความรู้สึกของ เห็นอกเห็นใจ ยอมรับ รวมทั้ง หลีกเลี่ยงอคติสำหรับบุคคลที่แตกต่างกันในสังคม ค่าเฉลี่ย 4.34 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.64 โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดของวิชาชีพครู คือ สามารถให้คำแนะนำแก่นักเรียนในการพัฒนาทักษะชีวิตได้อย่างเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 4.25 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.70 รองลงมาคือ จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสอดแทรกทักษะชีวิตในเนื้อหาเป็นการพัฒนาทักษะการบูรณาการเนื้อหาที่ยากแก่นักเรียน มีค่าเฉลี่ย 4.24 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.68

Abstract

This article is the result of survey research. The objective of this study was to study the life and professional skills of teachers of student teachers, namely students, teachers of Faculty of Education, Bansomdejchaopraya Rajabhat University, Semester 1, Academic Year 2020, 365 people.The research tool was questionnaire, statistics used were frequency, mean and standard deviation. The research found that the mean of all questionnaires related to life skills and teaching professions was greater than 4.00, with the highest value of life skills mean 4.35, there were 2 items: 1) Ability to organize activities / learning. Know to promote the skills of students in taking responsibility for Society and civic engagement at the local and national level The standard deviation of 0.60 and 2) is able to act as an example of accountability in the common interest. The standard deviation of 0.61, followed by the mean of 4.34, is the standard deviation of 0.64, whereby. The highest mean of the teaching profession was able to advise students to develop appropriate life skills, with a mean of 4.25, standard deviation of 0.70, followed by integrated teaching and learning, including life skills. It was a difficult development of content integration skills to students with a mean of 4.24 and a standard deviation of 0.68.

คำสำคัญ

ทักษะชีวิต , วิชาชีพครู, นักศึกษาครู

Keywords

Life Skills, Teacher Profession , Pre-service teacher

เอกสารอ้างอิง

ธิดารัตน์ ตันนิรัตร์. (2563). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
_______. (2562). พฤติกรรมเกี่ยวกับการสร้างสื่อการเรียนการสอนหรือผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาครู. ครุศาสตร์สาร, 13(2),183-196.
_______. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการแนวคิดการแก้ปัญหาด้วยสารสนเทศ การเสริมการเรียนรู้ และ Z TO A เพื่อสร้างผลงานสร้างสรรค์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตนิพนธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). สืบค้นจาก https://library.car.chula.ac.th/
ธิดารัตน์ ตันนิรัตร์, เนาวนิตย์ สงครามและใจทิพย์ ณ สงขลา. (2561). การประเมินความต้องการจำเป็นของการพัฒนาผลงานสร้างสรรค์และการยื่นคำขอรับสิทธิบัตร สำหรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(1), 147-164.
บังอร ร้อยกรอง. (2553). การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาในสังคมพหุวัฒนธรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญา ดุษฎีบัณฑิตนิพนธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). สืบค้นจาก https://library.car.chula.ac.th/
ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2553). อย่าเรียนหนังสือคนเดียว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ซีเอ็ดบุ๊ค.
ยุทธนา นรเชฏโฐ และจุฑารัตน์ ทองอินจันทร์. (2561). หลักการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมใน ประเทศไทย. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 7(1), 102-118.
รวยทรัพย์ เดชชัยศรี, ณรงค์ สมพงษ์ และสาโรช โศภีรักข์. (2562). การพัฒนารูปแบบศูนย์ทรัพยากรเรียนรู้ทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สำหรับครูเพื่อสนับสนุนทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์สาร, 13(1), 15-44.
วรพงศ์ เข็มทอง, จิรพันธ์ ศรีสมพันธุ์และกฤช สินธนะกุล. (2562). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิก เรื่องการใช้งานแอปพลิเคชัน บนคลาวด์เพื่อการศึกษายุค 4.0. วารสารครุศาสตร์สาร, 13(1), 211-226.
วัชระ จตุพร. (2561). โรงเรียนทางเลือกกับการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 41(2), 1-17.

National Council for Accreditation of Teacher Education (NCATE). (2002). Professional standards for the accreditation of school, colleges, and department of education. Washington, DC: Author.
Tannirat, T. (2020). From Angry Bird Application to STEM Activities in Real Life. International Journal of Advanced Science and Technology. 29(7s), 878-883.