ISSN: 1906-117X

วารสาร

การประเมินหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

The Evaluation of the Master of Education Program in Buddhist Educational Administration, Faculty of Education at Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Khonkaen Campus
ขอบเขต: การบริหารการศึกษา

จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและเสนอแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ใน 5 ด้าน คือ 1) ด้านบริบทของหลักสูตร 2) ด้านปัจจัยสนับสนุนในหลักสูตร 3) ด้านสิ่งที่เกี่ยวข้องในหลักสูตร 4) ด้านกิจกรรมการเรียนในหลักสูตร และ 5) ด้านผลผลิตระหว่างทางของหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ อาจารย์ผู้สอน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา นิสิตระดับมหาบัณฑิต และผู้บังคับบัญชาของมหาบัณฑิต จำนวน 169 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) แบบสอบถาม (Questionnaire) โดยแยกตามกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ใช้หลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และข้อมูลเชิงพรรณนาหรือข้อมูลแบบคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และข้อมูลจากแบบสอบถาม เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนนี้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. แนวทางการพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น พบว่า ควรมีจัดการเรียนการสอนเพิ่มเติมในรายวิชาที่เป็นประเด็นทางสังคมปัจจุบัน ควรจัดให้นิสิตมีการฝึกทักษะทางวิชาการสู่ชุมชน ควรมีการปรับปรุงห้องเรียนของนิสิตเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการจัดการมากยิ่งขึ้น และควรมีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่องค์ความรู้ที่เป็นศาสตร์ของพุทธบริหารการศึกษา

Abstract

The objectives of this research were to evaluate and present management guidelines of the Master of Education program in Buddhist educational administration, faculty of education at Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Khonkaen Campus in five aspects: 1) course context 2) contributing factors in the course 3) what is involved in the course 4) learning activities in the course and 5) productivity along the way of the course. The samples used in this research including 169 teachers, expert committees, Master's Degree in Buddhist Educational Administration students, master students, and supervisors of master students. The research instruments were structured interviews, questionnaire which were categorized according to the samples involved as course users. Data analysis from this research included information from interviews and descriptive data or quality data which was a content analysis and information from the questionnaire which was a quantitative data. The statistics used in this analysis of the data were percentage, mean and standard deviation. The research findings were revealed as follows: 1. Master of Education Program in Educational Administration Program, Faculty of Education at Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Khonkaen Campus in overall aspect was appropriate at the highest level. When considering each aspect, it was found that all aspects were appropriate at the highest level. 2. The guidelines of Master of Education Curriculum Development, majoring in Buddhist Educational Administration, Faculty of Education was found that there should be additional instruction in the current social issues subjesct. Moreover, there should provide students with academic skills training to the community, students' classrooms should be improved in order to be more effective in managing them, and there should be public relations and dissemination of knowledge that was the science of Buddhist educational administration.

คำสำคัญ

การประเมินหลักสูตร, มหาบัณฑิต, พุทธบริหารการศึกษา

Keywords

Course Evaluation, Master Students, Buddhist Educational Administration

เอกสารอ้างอิง

วิชัย วงศ์ใหญ่. (2527). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการสอนภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุสีริยาสาส์น.
สุนีย์ ภู่พันธ์. (2546). แนวคิดพื้นฐานการสร้างและการพัฒนาหลักสูตร. เชียงใหม่: เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.
ราชกิจจานุเบกษา. (2548). “ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับ อุดมศึกษา พ.ศ. 2548” เล่ม 122 ตอนพิเศษ 39 ง วันที่ 25 พฤษภาคม 2548, 24-26.
Krejcie, R. V.; & Morgan, D. W. (1970). “Determining sample size for research activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
Stufflebeam, D. L.; & Shinkfield, A. J. (1995). Teacher evaluation: Guide to effective practice. Massachusetts, the United States of America: Kluwer Academic.