ISSN: 1906-117X

วารสาร

ผลการพัฒนาหลักสูตรบ่มเพาะบัณฑิตให้มีทักษะเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Effects on Developing the Curriculum for Incubating Graduates to Possess Skills as a New Generation of Entrepreneurs; Valaya Alongkorn Rajabhat University Under the Royal Patronage
ขอบเขต: หลักสูตรการสอน

เมษา นวลศรี

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

กุลชาติ พันธุวรกุล

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรอบรมโครงการบ่มเพาะบัณฑิตให้มีทักษะเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในรูปแบบออนไลน์ 2) เปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของนักศึกษาระหว่างก่อนและหลังการอบรม และ 3) ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการอบรมโครงการบ่มเพาะบัณฑิตให้มีทักษะเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในรูปแบบออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาปริญญาตรีที่ร่วมโครงการ จำนวน 89 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการ จำนวน 30 ข้อ และ 2) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการอบรม จำนวน 24 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงสรุปอ้างอิง ได้แก่ การทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) หลักสูตรการอบรมโครงการบ่มเพาะบัณฑิตให้มีทักษะเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ประกอบด้วย 6 โมดูล โดยกิจกรรมการอบรมแต่ละโมดูล ประกอบด้วย การอบรมในรูปแบบออนไลน์ ตามความสะดวกของผู้เรียน และการอบรมในรูปแบบออนไลน์ ตามช่วงเวลาที่นัดหมาย รวมถึงการปฏิบัติงานด้วยตนเอง และเน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติ โดยมีชั่วโมงการอบรมรวม 51 ชั่วโมง 2) คะแนนความรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในภาพรวม พบว่า คะแนนหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ภาพรวมนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการอบรมอยู่ในระดับค่อนข้างมาก

Abstract

The purpose of this study were 1) to develop an online curriculum for training graduates to possess skills as a new generation of entrepreneurs, 2) to compare the students’ levels of knowledge on being a new generation of entrepreneurs before and after joining the incubation training program, and 3) to evaluate students' satisfaction on the online training program for incubating graduates to possess skills for being a new generation of entrepreneurs. The sample was consisted of 89 undergraduates. The instrument used for collecting the data included 1) a 30-item test on the knowledge about being entrepreneurships and 2) a 24-item satisfaction assessment questionnaire. The data were analyzed using descriptive statistics: frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test for dependent samples was used for analyzing inferential statistics. The results of the research showed that 1) there were 6 modules in the curriculum for training graduates to possess skills as a new generation of entrepreneurs, each of which was composed of the online training designed upon students’ convenience, scheduled online training, self-practice and learning from practice. The training was conducted in a 51-hour period; 2) the overall post-training scores were higher than the pre-training scores at a significant level of .05; and 3) the students’ overall satisfaction with the training were at quite high levels.

คำสำคัญ

การบ่มเพาะ, ผู้ประกอบการ

Keywords

Entrepreneurs, Incubation

เอกสารอ้างอิง

ชัยวัฒน์ ใบไม้ (2560). สตาร์ทอัพ: นิยามความสำคัญ และแนวทางการทำวิจัย
Startup: Definition, Importance, and Research Guidelines.
วารสารนักบริหาร, 37(2), 10-21.
นวลพรรณ ไชยมา. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ
ผสมผสาน โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาทักษะ
การคิดขั้นสูงสำหรับนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเพชรบูรณ์.
(วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
สืบค้นจาก http://newtdc.thailis.or.th/docview.aspx?
tdcid=244030.
ภควัต เกอะประสิทธิ์ และนิธิพัฒน์ อิ๋วสกุล. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียน
การสอนแบบผสมผสานรายวิชาไฮดรอลิกส์และนิวแมติกส์ประยุกต์
สำหรับนักศึกษาระดับปริญญา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี.
12(1), 164-174.
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2562). สารสนเทศ
ประจำปีการศึกษา 2562. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สำนักงานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2561). ยุทธศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 –
2579). กรุงเทพฯ: ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.).
Bonk, C., Olson, T.,Wisher, R., & Orvis, K. (2005). Blended web
learning: Advantages, disadvantages, issues and
considerations. Retrieved from http://www.uwex.edu/
disted/conference.